สธ.สั่งสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก น้ำท่วม วันที่ 18-22 ก.ย.นี้ โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมเตือนประชาชนระวังโรคที่อาจมากับน้ำท่วม ทั้งผิวหนัง ตาแดง ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก อุบัติเหตุไฟดูด หรือเล่มน้ำอาจจมเสียชีวิต
วันนี้ (18 ก.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงวันที่ 18-22 ก.ย.นี้ อาจเป็นช่วงฝนตกหนักตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา สธ.ได้เตรียมพร้อมรับมือโดยสั่งการให้สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยเฉพาะจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น สถานที่ตั้งในที่ลุ่มน้ำ และสถานบริการที่ตั้งริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้จัดระบบการป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ขนย้ายเครื่องมือเวชภัณฑ์ที่บริการประชาชนไปไว้ในจุดที่ปลอดภัย และให้จัดระบบสำรองไฟให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาหากเกิดภาวะฉุกเฉินหากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทร.แจ้ง 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังและเน่าเสีย ตนมีความกังวลเนื่องจากจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นปัญหาของโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามกำหนด สธ.ได้ประสานงานกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครบ รวมทั้งคนต่างจังหวัดที่เข้ามาพักอาศัยในพื้นที่ กทม.และยังไม่มีสิทธิการรักษาให้ได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง ประชาชนอาจเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม เช่น โรคผิวหนัง โรคตาแดง ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย รวมทั้งอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไฟดูด พลัดตกน้ำ จมน้ำ บาดแผลจากของมีคม เศษแก้วบาด แผลถลอก แผลถูกตำ แผลฟกช้ำต่างๆ ซึ่งอาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนได้ สำหรับการเตรียมพร้อมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งไม่ควรประมาทว่าจะไม่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติน้ำท่วมมาก่อน ควรติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมอย่างสม่ำเสมอ การเตรียมน้ำสะอาดไว้บริโภคอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผลน้ำตาเกลือรา ยาประจำตัวสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว อุปกรณ์การสื่อสาร เช่น โทรศัพท์พร้อมแบตเตอร์รี่สำรอง ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงขยะ ให้สามารถช่วยตนเองได้อย่างน้อย 5-7 วัน
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ประชาชนชนในพื้นที่น้ำท่วมควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินไปชนหรือเหยียบของมีคมต่างๆ ที่ทำให้เกิดบาดแผลอาจก่อให้เกิดโรคตามมา ถ้าจำเป็นต้องเดินย่ำน้ำควรใส่รองเท้าบูตกันน้ำ ไม่ควรใส่รองเท้าที่อบ หรือเปียกชื้นทั้งวัน หลังเหยียบย่ำน้ำต้องล้างเท้าให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้วเท้าไม่ควรเล่นน้ำ บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง น้ำเชี่ยว เนื่องจากเสี่ยงการเจ็บป่วย และการจมน้ำเสียชีวิต ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ใหญ่ไม่ควรดื่มของมึนเมาอาจเป็นตะคริวจมน้ำได้ และหากจำเป็นต้องทำกิจกรรมทางน้ำ ควรเตรียมอุปกรณ์ชูชีพ เช่น เสื้อชูชีพ ห่วงยาง แกลลอนเปล่า หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการลอยตัวได้ คนที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ไม่ควรอยู่ตามลำพัง
วันนี้ (18 ก.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงวันที่ 18-22 ก.ย.นี้ อาจเป็นช่วงฝนตกหนักตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา สธ.ได้เตรียมพร้อมรับมือโดยสั่งการให้สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยเฉพาะจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น สถานที่ตั้งในที่ลุ่มน้ำ และสถานบริการที่ตั้งริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้จัดระบบการป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ขนย้ายเครื่องมือเวชภัณฑ์ที่บริการประชาชนไปไว้ในจุดที่ปลอดภัย และให้จัดระบบสำรองไฟให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาหากเกิดภาวะฉุกเฉินหากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทร.แจ้ง 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังและเน่าเสีย ตนมีความกังวลเนื่องจากจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นปัญหาของโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามกำหนด สธ.ได้ประสานงานกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครบ รวมทั้งคนต่างจังหวัดที่เข้ามาพักอาศัยในพื้นที่ กทม.และยังไม่มีสิทธิการรักษาให้ได้รับบริการที่เท่าเทียมกัน
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง ประชาชนอาจเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม เช่น โรคผิวหนัง โรคตาแดง ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย รวมทั้งอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไฟดูด พลัดตกน้ำ จมน้ำ บาดแผลจากของมีคม เศษแก้วบาด แผลถลอก แผลถูกตำ แผลฟกช้ำต่างๆ ซึ่งอาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนได้ สำหรับการเตรียมพร้อมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งไม่ควรประมาทว่าจะไม่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติน้ำท่วมมาก่อน ควรติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมอย่างสม่ำเสมอ การเตรียมน้ำสะอาดไว้บริโภคอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผลน้ำตาเกลือรา ยาประจำตัวสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว อุปกรณ์การสื่อสาร เช่น โทรศัพท์พร้อมแบตเตอร์รี่สำรอง ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงขยะ ให้สามารถช่วยตนเองได้อย่างน้อย 5-7 วัน
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ประชาชนชนในพื้นที่น้ำท่วมควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินไปชนหรือเหยียบของมีคมต่างๆ ที่ทำให้เกิดบาดแผลอาจก่อให้เกิดโรคตามมา ถ้าจำเป็นต้องเดินย่ำน้ำควรใส่รองเท้าบูตกันน้ำ ไม่ควรใส่รองเท้าที่อบ หรือเปียกชื้นทั้งวัน หลังเหยียบย่ำน้ำต้องล้างเท้าให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้วเท้าไม่ควรเล่นน้ำ บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง น้ำเชี่ยว เนื่องจากเสี่ยงการเจ็บป่วย และการจมน้ำเสียชีวิต ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ใหญ่ไม่ควรดื่มของมึนเมาอาจเป็นตะคริวจมน้ำได้ และหากจำเป็นต้องทำกิจกรรมทางน้ำ ควรเตรียมอุปกรณ์ชูชีพ เช่น เสื้อชูชีพ ห่วงยาง แกลลอนเปล่า หรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการลอยตัวได้ คนที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ไม่ควรอยู่ตามลำพัง