สธ.เตือนหน้าฝนโรคฉี่หนูระบาดหนักขึ้น 3 เท่า ชี้แม่บ้าน พนักงานออฟฟิศ นศ.และเกษตรกร เสี่ยง ย่ำน้ำท่วม หรือหลังทำนา ให้รีบอาบน้ำ แนะสังเกตอาการหากไข้สูง 2 วัน ให้รีบพบแพทย์ หลังพบตายมากเพราะมาพบแพทย์ช้า เร่ง อสม.-สสจ.ให้ความรู้ประชาชน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและมีอันตรายถึงแก่ชีวิต คือ โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู ซึ่งที่ผ่านมาส่วนมากมักพบในกลุ่มเกษตรกรเขตชนบท แต่ขณะนี้ระบาดมาถึงในเมืองและพบในอาชีพอื่นๆ ด้วย เช่น แม่บ้าน รับจ้าง ประมง พนักงานออฟฟิศ นักเรียนนักศึกษา พระ โดยอาจสัมผัสเชื้อจากฉี่หนูที่เข้ามาอาศัยอยู่ตามบ้าน หรือที่ทำงาน โดยสถานการณ์เมื่อปี 2555 สำนักระบาดวิทยารายงานทั่วประเทศ พบป่วยโรคฉี่หนูทั้งหมด 4,130 ราย เสียชีวิต 60 ราย สำหรับปีนี้ตั้งแต่ ม.ค.-5 มิ.ย.ทั่วประเทศพบป่วยทั้งหมด 963 ราย เสียชีวิต 7 ราย พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 550 ราย มากที่สุดที่จังหวัดสุรินทร์ 79 ราย คาดว่าตั้งแต่ มิ.ย.เป็นต้นไปจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น 1-3 เท่าตัว เพราะประชาชนออกไปทำไร่ทำนา รวมทั้งหนูอาจหนีน้ำเข้ามาอยู่ตามบ้าน จึงเพิ่มโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรค ตนจึงให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกัน ลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า เชื้อโรคฉี่หนูเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในไตของหนู โดยจะออกมาพร้อมกับฉี่หนู ติดต่อสู่คนจากการสัมผัส โดยเชื้อจะมีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน สามารถไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผล รวมทั้งไชผ่านผิวหนังที่แช่น้ำอยู่เป็นเวลานานได้ ทั้งนี้ โรคฉี่หนูยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ประชาชนจึงต้องป้องกันดูแลตนเอง เช่น ผู้ทำความสะอาดบ้านควรใส่ถุงมือขณะเช็ดถู กลุ่มเกษตรกรขอให้สวมรองเท้าเพื่อป้องกันของมีคมบาดเท้า หรือสวมรองเท้าบูตยางขณะลุยน้ำย่ำโคลน หลังเสร็จภารกิจในสวนไร่นาให้รีบอาบน้ำทันที ส่วนผู้มีอาชีพดักหนูต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะที่กรงจะมีฉี่หนูปนเปื้อนอยู่มาก ขอให้ใส่ถุงมือป้องกัน และล้างทำความสะอาดกรงด้วยผงซักฟอกและตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ สำหรับกรณีฝนตกหนักในเขตเมือง ให้หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำ โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผล หากย่ำน้ำท่วมให้รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำ สบู่ และเช็ดให้แห้ง รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติด้วย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผอ.สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า หลังติดเชื้อโรคฉี่หนูประมาณ 10 วันจะมีอาการป่วย ได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง มักปวดที่น่อง โคนขา ตาแดง หากมีอาการป่วยไข้สูงเกิน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง โดยโรคนี้มียาปฏิชีวนะรักษาหายขาดในโรงพยาบาลทุกแห่ง หากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไตวาย เลือดออกในปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคนี้ เป็นเพราะชะล่าใจ หลังป่วยมักไปซื้อยากินเอง หรือเปลี่ยนคลินิกรักษาเรื่อยๆ ทำให้เชื้อลุกลาม และไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเมื่อมีอาการหนักแล้ว โอกาสรอดชีวิตจึงน้อยลง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและมีอันตรายถึงแก่ชีวิต คือ โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู ซึ่งที่ผ่านมาส่วนมากมักพบในกลุ่มเกษตรกรเขตชนบท แต่ขณะนี้ระบาดมาถึงในเมืองและพบในอาชีพอื่นๆ ด้วย เช่น แม่บ้าน รับจ้าง ประมง พนักงานออฟฟิศ นักเรียนนักศึกษา พระ โดยอาจสัมผัสเชื้อจากฉี่หนูที่เข้ามาอาศัยอยู่ตามบ้าน หรือที่ทำงาน โดยสถานการณ์เมื่อปี 2555 สำนักระบาดวิทยารายงานทั่วประเทศ พบป่วยโรคฉี่หนูทั้งหมด 4,130 ราย เสียชีวิต 60 ราย สำหรับปีนี้ตั้งแต่ ม.ค.-5 มิ.ย.ทั่วประเทศพบป่วยทั้งหมด 963 ราย เสียชีวิต 7 ราย พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 550 ราย มากที่สุดที่จังหวัดสุรินทร์ 79 ราย คาดว่าตั้งแต่ มิ.ย.เป็นต้นไปจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น 1-3 เท่าตัว เพราะประชาชนออกไปทำไร่ทำนา รวมทั้งหนูอาจหนีน้ำเข้ามาอยู่ตามบ้าน จึงเพิ่มโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรค ตนจึงให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกัน ลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า เชื้อโรคฉี่หนูเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในไตของหนู โดยจะออกมาพร้อมกับฉี่หนู ติดต่อสู่คนจากการสัมผัส โดยเชื้อจะมีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน สามารถไชเข้าทางผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผล รวมทั้งไชผ่านผิวหนังที่แช่น้ำอยู่เป็นเวลานานได้ ทั้งนี้ โรคฉี่หนูยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ประชาชนจึงต้องป้องกันดูแลตนเอง เช่น ผู้ทำความสะอาดบ้านควรใส่ถุงมือขณะเช็ดถู กลุ่มเกษตรกรขอให้สวมรองเท้าเพื่อป้องกันของมีคมบาดเท้า หรือสวมรองเท้าบูตยางขณะลุยน้ำย่ำโคลน หลังเสร็จภารกิจในสวนไร่นาให้รีบอาบน้ำทันที ส่วนผู้มีอาชีพดักหนูต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะที่กรงจะมีฉี่หนูปนเปื้อนอยู่มาก ขอให้ใส่ถุงมือป้องกัน และล้างทำความสะอาดกรงด้วยผงซักฟอกและตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ สำหรับกรณีฝนตกหนักในเขตเมือง ให้หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำ โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผล หากย่ำน้ำท่วมให้รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำ สบู่ และเช็ดให้แห้ง รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติด้วย
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผอ.สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า หลังติดเชื้อโรคฉี่หนูประมาณ 10 วันจะมีอาการป่วย ได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง มักปวดที่น่อง โคนขา ตาแดง หากมีอาการป่วยไข้สูงเกิน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง โดยโรคนี้มียาปฏิชีวนะรักษาหายขาดในโรงพยาบาลทุกแห่ง หากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไตวาย เลือดออกในปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคนี้ เป็นเพราะชะล่าใจ หลังป่วยมักไปซื้อยากินเอง หรือเปลี่ยนคลินิกรักษาเรื่อยๆ ทำให้เชื้อลุกลาม และไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเมื่อมีอาการหนักแล้ว โอกาสรอดชีวิตจึงน้อยลง