กทม.วอนประชาชนอย่าตื่นม็อบ เผยเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์แล้ว ระบุมีแผนร่วมมือปริมณฑลช่วยส่งอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่สนับสนุน หากเกิดเหตุการณ์รุนแรง ส่วนจะสั่งปิดโรงเรียนในสังกัดหรือไม่ ต้องดูเหตุการณ์ ด้าน สธ.เปิดวอร์รูมเช็กสถานการณ์ ร่วมแบ่งพื้นที่รับผิดชอบกับศูนย์เอราวัณ
วันนี้ (6 ส.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่สวนลุมพินี ว่า ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะ กทม.ได้มีการประเมินสถานการณ์ทุกวัน แต่ก็ไม่ประมาท นอกจากนี้สำนักการแพทย์ (สนพ.) ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ 40 กว่าหน่วยงาน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ร้ายแรง ตนไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำรอยเมื่อปี 2552 แต่หากเกิดเหตุร้ายแรงจริงเกินความสามารถ กทม.จะมีแผนขอความร่วมมือกับจังหวัดปริมณฑล ในการจัดวัสดุอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ทั้งสำนักการแพทย์ และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการขออนุญาตใช้พื้นที่ของกทม.ในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองนั้น ตนได้มอบอำนาจให้ นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ตัดสินใจ ตั้งแต่เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.แล้ว เนื่องจากตนไม่อยากให้ตกเป็นประเด็นทางการเมือง อย่างไรก็ตามไม่ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มใดหรือสีเสื้อใดมาขอใช้พื้นที่ของ กทม.หรือรถสุขา รวมทั้งการบริการของ กทม. กทม.ก็สนับสนุนและปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด ไม่ได้เลือกปฏิบัติ
“ส่วนเรื่องการสั่งปิดสถานโรงเรียนในสังกัด กทม.หรือไม่นั้น ได้มีการติดตามสถานการณ์ภายในคืนนี้ และน่าจะบ่งชี้ว่าสถานการณ์จะเป็นไปอย่างไร ย้ำว่าไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการชุมนุมทางการเมือง โดยมี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยจะติดตามสถานการณ์ตลอดการชุมนุม จนกว่าจะพ้นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่ากรณีฉุกเฉินจะเกิดขึ้นหรือไม่ และจะมีมากน้อยยาวนานเพียงใด ระดับความรุนแรงจะเป็นอย่างไร จะต้องติดตามตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า การทำงานของวอร์รูม สธ.เน้นการติดตามสถานการณ์ และสนับสนุนการทำงาน โดยหลักจะทำงานร่วมกับศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กทม.ซึ่งมีการแบ่งเป็นโซนพื้นที่ แผนเอราวัณ 1 รับผิดชอบการแบ่งพื้นที่เตรียมความพร้อมของรถพยาบาล ให้สะดวกในการรับส่งผู้ป่วย แผนเอราวัณ 2 แบ่งพื้นที่โรงพยาบาลรอบในและรอบนอกในการรับผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลรอบใน ได้แก่ รพ.ในสังกัดกรมการแพทย์ สธ.3 แห่ง ได้แก่ รพ.นพรัตนราชธานี รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี รวมทั้งโรงพยาบาลของ กทม.ส่วนโรงพยาบาลรอบนอกปริมณฑล เช่น รพ.ปทุมธานี รพ.นนทบุรี เป็นต้น หากเกิดเหตุการณ์ก็จะรอการประสานจากศูนย์เอราวัณฯ เพื่อเข้าสนับสนุนการทำงานต่อไป เบื้องต้นสิ่งที่เตรียมพร้อมไว้คือ การซักซ้อมแผน การสำรองเลือด การสำรองห้องผ่าตัด และเตียง แต่คิดว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงอะไร
วันนี้ (6 ส.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่สวนลุมพินี ว่า ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะ กทม.ได้มีการประเมินสถานการณ์ทุกวัน แต่ก็ไม่ประมาท นอกจากนี้สำนักการแพทย์ (สนพ.) ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ 40 กว่าหน่วยงาน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ร้ายแรง ตนไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำรอยเมื่อปี 2552 แต่หากเกิดเหตุร้ายแรงจริงเกินความสามารถ กทม.จะมีแผนขอความร่วมมือกับจังหวัดปริมณฑล ในการจัดวัสดุอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ทั้งสำนักการแพทย์ และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการขออนุญาตใช้พื้นที่ของกทม.ในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองนั้น ตนได้มอบอำนาจให้ นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ตัดสินใจ ตั้งแต่เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.แล้ว เนื่องจากตนไม่อยากให้ตกเป็นประเด็นทางการเมือง อย่างไรก็ตามไม่ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มใดหรือสีเสื้อใดมาขอใช้พื้นที่ของ กทม.หรือรถสุขา รวมทั้งการบริการของ กทม. กทม.ก็สนับสนุนและปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด ไม่ได้เลือกปฏิบัติ
“ส่วนเรื่องการสั่งปิดสถานโรงเรียนในสังกัด กทม.หรือไม่นั้น ได้มีการติดตามสถานการณ์ภายในคืนนี้ และน่าจะบ่งชี้ว่าสถานการณ์จะเป็นไปอย่างไร ย้ำว่าไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
ด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการชุมนุมทางการเมือง โดยมี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยจะติดตามสถานการณ์ตลอดการชุมนุม จนกว่าจะพ้นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่ากรณีฉุกเฉินจะเกิดขึ้นหรือไม่ และจะมีมากน้อยยาวนานเพียงใด ระดับความรุนแรงจะเป็นอย่างไร จะต้องติดตามตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า การทำงานของวอร์รูม สธ.เน้นการติดตามสถานการณ์ และสนับสนุนการทำงาน โดยหลักจะทำงานร่วมกับศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กทม.ซึ่งมีการแบ่งเป็นโซนพื้นที่ แผนเอราวัณ 1 รับผิดชอบการแบ่งพื้นที่เตรียมความพร้อมของรถพยาบาล ให้สะดวกในการรับส่งผู้ป่วย แผนเอราวัณ 2 แบ่งพื้นที่โรงพยาบาลรอบในและรอบนอกในการรับผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลรอบใน ได้แก่ รพ.ในสังกัดกรมการแพทย์ สธ.3 แห่ง ได้แก่ รพ.นพรัตนราชธานี รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี รวมทั้งโรงพยาบาลของ กทม.ส่วนโรงพยาบาลรอบนอกปริมณฑล เช่น รพ.ปทุมธานี รพ.นนทบุรี เป็นต้น หากเกิดเหตุการณ์ก็จะรอการประสานจากศูนย์เอราวัณฯ เพื่อเข้าสนับสนุนการทำงานต่อไป เบื้องต้นสิ่งที่เตรียมพร้อมไว้คือ การซักซ้อมแผน การสำรองเลือด การสำรองห้องผ่าตัด และเตียง แต่คิดว่าไม่น่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงอะไร