อธิการ มฟล.ค้านยกเลิกระบบรับตรง ลั่นแม้แต่ ครม.ก็ไม่มีสิทธิตัดสิน ชี้ทุกระบบคัดเลือกมีที่มาที่ไปแนะพิจารณา ฟังเสียงรอบด้านอย่าด่วนสรุปว่ามีปัญหาเพราะมีระบบคัดเลือกมาก ขณะที่ “ภาวิช” เผย ศธ.ยังไม่มีร่างการคัดเลือกใหม่แต่หลักการต้องลดความเหลื่อมล้ำแก่เด็กผู้ปกครองรวย-จน ที่สำคัญต้องไม่ทำลายระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชี้อาจต้องเพิ่มในร่าง พ.ร.บ.การอุดมฯ กำหนดเกณฑ์และรายละเอียดให้ชัด พร้อมวอนมหา’ลัย ยอมรับและมีสำนึกร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
ตามที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา สอดคล้องกับที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอ (กกอ.) ได้เสนอให้มีการปรับระบบการคัดเลือกเนื่องจากพบว่าระบบการคัดเลือกก็ยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการรับตรงที่ทำให้ผู้ปกครอง และนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายในการสอบจำนวนมาก บางคนต้องเสียค่าสมัครสอบเป็นแสน โดยที่ยังไม่รวมค่ากวดวิชา ขณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ได้รับเงินจากการเปิดรับตรงหลายสิบล้านบาท ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าศึกษาต่อนั้น จึงให้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นรอบด้านทั้งนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัยเพื่อนำมาดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดนั้น
นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า ปัญหาการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาขณะนี้คือ มหาวิทยาลัยมีบทบาทโดยตรงในการคัดเลือกบุคคล โดยดำเนินการทั้งระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาผ่านระบบกลางคัดเลือก หรือ แอดมิชชันกลาง, การรับตรงหรือโควต้า,การรับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ซึ่งระบบต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ เสียค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังมีปัญหาการสละสิทธิ์ ปัญหาการทิ้งห้องเรียนไปกวดวิชา ปัญหาเด็กถูกรีไทร์ เป็นต้น ทั้งนี้ รศ.คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กกอ.มีข้อเสนอว่า ควรมีระบบเกณฑ์คะแนนข้อสอบมาตรฐานขั้นต่ำมากกว่าเรียงลำดับคะแนนรวมที่เป็นคะแนนดิบ, ควรมีเครือข่ายแอดมิชชันที่รับใบสมัครร่วมกัน แต่แยกกลุ่มสาขา/คณะ พิจารณาตัดสินแล้วประกาศผลร่วมกัน ควรมีข้อมูลหลายด้านในการพิจาณราใบสมัครนอกเหนือจากคะแนนสอบเพียงอย่างเดียว
“เรื่องคะแนนข้อสอบมาตรฐานนั้น หากเราถือว่าคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นข้อสอบในการคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย ก็ต้องถือว่า O-Net คือข้อสอบมาตรฐาน ซึ่งที่ผ่านมาเราคัดเลือกคนโดยเรียงคะแนนจากมากสุดเรียงลำดับลงมา และรับตามจำนวนรับที่กำหนด ซึ่งพบว่า บางคณะคนเลือกจำนวนน้อยกว่าที่เปิดรับ แม้คะแนนที่ได้จะต่ำ คณะก็รับเข้าหมด ซึ่งต่างจากบางประเทศ ที่กำหนดคะแนนข้อสอบมาตรฐานขั้นต่ำไว้ หากสอบไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ผ่านการคัดเลือก” รองเลขาธิการ กกอ.กล่าว
ด้าน ศ.พิเศษ ภาวิชทองโรจน์ ผู้ช่วย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ขณะนี้ ศธ.ยังไม่มีโครงร่างระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อน พร้อมศึกษาดูระบบการคัดเลือกฯของประเทศอื่นๆ ไปด้วย แต่โดยหลักการของระบบคัดเลือกใหม่นั้นจะต้องมี ได้แก่ ไม่สร้างความเดือดร้อน ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กและผู้ปกครองที่มีฐานะดีและไม่ดีอย่างชัดเจน ที่สำคัญ ระบบคัดเลือกนักศึกษาแบบใหม่ต้องไม่ไปทำลายการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ การเปิดสอบรับตรงของมหาวิทยาลัย/คณะที่ทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในโรงเรียน ทิ้งห้องเรียน และการออกข้อสอบที่ต้องอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะหากออกข้อสอบแบบไม่คำนึงหลักสูตรเลย เด็กก็จะไม่สนใจเรียนตามหลักสูตร
“สังคมยังให้เกียรติเรื่องการคัดเลือกนักศึกษาเป็นสิทธิของมหาวิทยาลัยดำเนินการ แต่มหาวิทยาลัยก็ต้องมองด้วยว่าสิทธินี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการศึกษาหรือไม่ ต้องสำนึกได้ว่าการสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญปัญหานี้เป็นเงาสะท้อนที่เห็นอยู่ ซึ่งหากมหาวิทยาลัยอ้างว่าไม่ให้เปิดสอบรับตรงแล้วจะทำให้รับเด็กที่มีคุณสมบัติไม่ตรงความต้องการ คิดว่าไม่ใช่ข้ออ้างเพราะมหาวิทยาลัยก็ออกแบบระบบคัดเลือกเองหมด แต่เมื่อมีปัญหาก็เป็นหน้าที่ของทุกคนมาช่วยแก้ปัญหา เช่นเดียวกับการผลิตครูของมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีผลต่อระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช กล่าว
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หวังว่าเมื่อมหาวิทยาลัยได้รับทราบปัญหาแล้วจะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่เช่นนั้นอาจต้องใช้กฎหมายมาบังคับโดยเฉพาะในร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ...ที่กำลังดำเนินการนั้น อาจต้องเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยการรับเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา กำหนดมีเงื่อนไขและรายละเอียดอะไรบ้างเพราะขณะนี้ใน ร่าง พ.ร.บ.จะระบุเพียงหลักการเท่านั้น ส่วนที่มีข้อเสนอจากเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษาให้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติประกาศให้มหาวิทยาลัยยกเลิกการเปิดสอบรับตรงนั้น เรื่องดังกล่าวประกาศได้ แต่มหาวิทยาลัยอาจไม่เชื่อ เพราะขณะนี้ไม่มีกฎหมายอะไรไปบังคับเขาได้ แต่จริงๆ เรื่องนี้ไม่ควรไปบังคับ เพราะอยากให้ใช้สำนึกเหมือนในอดีตที่ทำ
ขณะที่ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) กล่าวว่า แนวคิดที่จะให้มีการยกเลิกการคัดเลือกระบบรับตรงว่า คงเป็นไปไม่ได้ ต้องคำนึงข้อเท็จจริง เพราะทุกระบบมีที่มาที่ไป มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ อย่างเช่น จุฬาฯ ม.ธรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ไม่ว่าจะคัดเลือกระบบไหนก็มีนักเรียนอยากจะเข้า ขณะที่มหาวิทยาลัยขนาดกลางและเล็กจะทำอย่างไรหากไม่มีนักเรียนเลือกเข้าเรียน ดังนั้นระบบรับตรงจึงยังจำเป็นสำหรับมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าปัญหาคืออะไร อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่ามหาวิทยาลัยคัดเลือกหลายระบบเพื่อต้องการหารายได้จากการสอบ คงไม่มีมหาวิทยาลัยไหนมีเป้าหมายหารายได้บนความเดือดร้อนของเด็กและผู้ปกครอง
“หากจะปรับระบบการสอบคัดเลือกก็ต้องเป็นหน้าที่ของ ทปอ.ที่จะต้องระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญต้องฟังเสียงจากเด็กผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ใช่ให้ผู้ใหญ่ตัดสินฝ่ายเดียวแม้จะเป็นความปรารถนาดี อีกทั้ง ครม.ก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสิน โดยส่วนตัวยังคิดว่าแนวทางเดิมที่เคยจัดสอบ O-Net ปีละ 2 ครั้งและนำคะแนนครั้งที่ดีที่สุดมายื่น โดยพิจารณา ร่วมกับผลการเรียนเป็นการให้โอกาสเด็กพร้อมกันทั่วประเทศก่อน จากนั้นผู้ที่พลาดก็เข้าระบบรับตรงจากมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่ว่าง แนวทางนี้น่าจะแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง”รศ.ดร.วันชัย กล่าว
ตามที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา สอดคล้องกับที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอ (กกอ.) ได้เสนอให้มีการปรับระบบการคัดเลือกเนื่องจากพบว่าระบบการคัดเลือกก็ยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการรับตรงที่ทำให้ผู้ปกครอง และนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายในการสอบจำนวนมาก บางคนต้องเสียค่าสมัครสอบเป็นแสน โดยที่ยังไม่รวมค่ากวดวิชา ขณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ได้รับเงินจากการเปิดรับตรงหลายสิบล้านบาท ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าศึกษาต่อนั้น จึงให้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นรอบด้านทั้งนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และมหาวิทยาลัยเพื่อนำมาดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดนั้น
นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า ปัญหาการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาขณะนี้คือ มหาวิทยาลัยมีบทบาทโดยตรงในการคัดเลือกบุคคล โดยดำเนินการทั้งระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาผ่านระบบกลางคัดเลือก หรือ แอดมิชชันกลาง, การรับตรงหรือโควต้า,การรับตรงผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ ของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ซึ่งระบบต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ เสียค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังมีปัญหาการสละสิทธิ์ ปัญหาการทิ้งห้องเรียนไปกวดวิชา ปัญหาเด็กถูกรีไทร์ เป็นต้น ทั้งนี้ รศ.คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กกอ.มีข้อเสนอว่า ควรมีระบบเกณฑ์คะแนนข้อสอบมาตรฐานขั้นต่ำมากกว่าเรียงลำดับคะแนนรวมที่เป็นคะแนนดิบ, ควรมีเครือข่ายแอดมิชชันที่รับใบสมัครร่วมกัน แต่แยกกลุ่มสาขา/คณะ พิจารณาตัดสินแล้วประกาศผลร่วมกัน ควรมีข้อมูลหลายด้านในการพิจาณราใบสมัครนอกเหนือจากคะแนนสอบเพียงอย่างเดียว
“เรื่องคะแนนข้อสอบมาตรฐานนั้น หากเราถือว่าคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นข้อสอบในการคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย ก็ต้องถือว่า O-Net คือข้อสอบมาตรฐาน ซึ่งที่ผ่านมาเราคัดเลือกคนโดยเรียงคะแนนจากมากสุดเรียงลำดับลงมา และรับตามจำนวนรับที่กำหนด ซึ่งพบว่า บางคณะคนเลือกจำนวนน้อยกว่าที่เปิดรับ แม้คะแนนที่ได้จะต่ำ คณะก็รับเข้าหมด ซึ่งต่างจากบางประเทศ ที่กำหนดคะแนนข้อสอบมาตรฐานขั้นต่ำไว้ หากสอบไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ผ่านการคัดเลือก” รองเลขาธิการ กกอ.กล่าว
ด้าน ศ.พิเศษ ภาวิชทองโรจน์ ผู้ช่วย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ขณะนี้ ศธ.ยังไม่มีโครงร่างระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อน พร้อมศึกษาดูระบบการคัดเลือกฯของประเทศอื่นๆ ไปด้วย แต่โดยหลักการของระบบคัดเลือกใหม่นั้นจะต้องมี ได้แก่ ไม่สร้างความเดือดร้อน ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กและผู้ปกครองที่มีฐานะดีและไม่ดีอย่างชัดเจน ที่สำคัญ ระบบคัดเลือกนักศึกษาแบบใหม่ต้องไม่ไปทำลายการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ การเปิดสอบรับตรงของมหาวิทยาลัย/คณะที่ทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในโรงเรียน ทิ้งห้องเรียน และการออกข้อสอบที่ต้องอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะหากออกข้อสอบแบบไม่คำนึงหลักสูตรเลย เด็กก็จะไม่สนใจเรียนตามหลักสูตร
“สังคมยังให้เกียรติเรื่องการคัดเลือกนักศึกษาเป็นสิทธิของมหาวิทยาลัยดำเนินการ แต่มหาวิทยาลัยก็ต้องมองด้วยว่าสิทธินี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการศึกษาหรือไม่ ต้องสำนึกได้ว่าการสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญปัญหานี้เป็นเงาสะท้อนที่เห็นอยู่ ซึ่งหากมหาวิทยาลัยอ้างว่าไม่ให้เปิดสอบรับตรงแล้วจะทำให้รับเด็กที่มีคุณสมบัติไม่ตรงความต้องการ คิดว่าไม่ใช่ข้ออ้างเพราะมหาวิทยาลัยก็ออกแบบระบบคัดเลือกเองหมด แต่เมื่อมีปัญหาก็เป็นหน้าที่ของทุกคนมาช่วยแก้ปัญหา เช่นเดียวกับการผลิตครูของมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีผลต่อระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช กล่าว
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ.กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หวังว่าเมื่อมหาวิทยาลัยได้รับทราบปัญหาแล้วจะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่เช่นนั้นอาจต้องใช้กฎหมายมาบังคับโดยเฉพาะในร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ...ที่กำลังดำเนินการนั้น อาจต้องเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยการรับเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา กำหนดมีเงื่อนไขและรายละเอียดอะไรบ้างเพราะขณะนี้ใน ร่าง พ.ร.บ.จะระบุเพียงหลักการเท่านั้น ส่วนที่มีข้อเสนอจากเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษาให้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติประกาศให้มหาวิทยาลัยยกเลิกการเปิดสอบรับตรงนั้น เรื่องดังกล่าวประกาศได้ แต่มหาวิทยาลัยอาจไม่เชื่อ เพราะขณะนี้ไม่มีกฎหมายอะไรไปบังคับเขาได้ แต่จริงๆ เรื่องนี้ไม่ควรไปบังคับ เพราะอยากให้ใช้สำนึกเหมือนในอดีตที่ทำ
ขณะที่ รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) กล่าวว่า แนวคิดที่จะให้มีการยกเลิกการคัดเลือกระบบรับตรงว่า คงเป็นไปไม่ได้ ต้องคำนึงข้อเท็จจริง เพราะทุกระบบมีที่มาที่ไป มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ อย่างเช่น จุฬาฯ ม.ธรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ไม่ว่าจะคัดเลือกระบบไหนก็มีนักเรียนอยากจะเข้า ขณะที่มหาวิทยาลัยขนาดกลางและเล็กจะทำอย่างไรหากไม่มีนักเรียนเลือกเข้าเรียน ดังนั้นระบบรับตรงจึงยังจำเป็นสำหรับมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าปัญหาคืออะไร อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่ามหาวิทยาลัยคัดเลือกหลายระบบเพื่อต้องการหารายได้จากการสอบ คงไม่มีมหาวิทยาลัยไหนมีเป้าหมายหารายได้บนความเดือดร้อนของเด็กและผู้ปกครอง
“หากจะปรับระบบการสอบคัดเลือกก็ต้องเป็นหน้าที่ของ ทปอ.ที่จะต้องระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญต้องฟังเสียงจากเด็กผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ใช่ให้ผู้ใหญ่ตัดสินฝ่ายเดียวแม้จะเป็นความปรารถนาดี อีกทั้ง ครม.ก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสิน โดยส่วนตัวยังคิดว่าแนวทางเดิมที่เคยจัดสอบ O-Net ปีละ 2 ครั้งและนำคะแนนครั้งที่ดีที่สุดมายื่น โดยพิจารณา ร่วมกับผลการเรียนเป็นการให้โอกาสเด็กพร้อมกันทั่วประเทศก่อน จากนั้นผู้ที่พลาดก็เข้าระบบรับตรงจากมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่ว่าง แนวทางนี้น่าจะแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง”รศ.ดร.วันชัย กล่าว