เดินหน้าขอตั้ง ก.อุดมศึกษาและการวิจัย ชี้ตลอด 10 ปีใต้ปีก ศธ.เจอปัญหาเพียบ ขาดความคล่องตัว หากไม่แยกต้องทบทวนบทบาท สกอ.ให้มีอิสระมากขึ้น เตรียมศึกษาตัวอย่างประเทศอื่น ทั้งที่ขอแยกและไม่แยก พร้อมเสนอผลประชุมต่อที่ประชุม ทปอ.23 มิ.ย.นี้
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการศึกษาและจัดทำโครงการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย โดยมี ศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นรองประธาน และมีผู้แทนมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 15 คนเป็นกรรมการ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้หารือหลักการ เหตุผล และความจำเป็นในการแยกอุดมศึกษา ออกเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย เนื่องจากตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รวมอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำให้เห็นได้ชัดเจนการบริหารจัดการไม่มีความคล่องตัวในหลายๆ ด้าน ขณะที่กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ใช้ครอบคลุมทุกหน่วยงานทำให้ยากต่อการปฏิบัติ เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐานจะเน้นเตรียมความพร้อมของเด็กในเบื้องต้น ไปในทิศทางแตกต่างจากอุดมศึกษาที่ต้องการความหลากหลายในการพัฒนากำลังคน ดังนั้น อุดมศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องการความอิสระ คล่องตัวในการบริหารจัดการ
ทั้งนี้ ในที่ประชุมไม่ได้พิจารณาเฉพาะจะต้องแยกออกเป็นกระทรวงเท่านั้น แต่ยังพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น ถ้าไม่แยกควรจะต้องกลับมาทบทวนบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่จะทำให้การดำเนินงานอิสระและคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ออกนอกระบบไปแล้ว ก็ยังไม่ได้อิสระตามพระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัยได้อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้จะมีระเบียบของตนเองออกมาแล้ว แต่ในการบริหารงานก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย
“หลังจากนี้คณะทำงานฯจะไปศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานของประเทศที่แยกอุดมศึกษา เช่น ในกลุ่มประเทศยุโรป มาเลเซีย และประเทศที่ไม่แยกอุดมศึกษา อย่างเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แต่เท่าที่สังเกตแม้จะไม่ได้แยกออกมาเป็นกระทรวง แต่ประเทศเหล่านี้ก็ให้อิสระในการบริหารของอุดมศึกษา รวมถึงให้ความสำคัญในการสนับสนุนงบประมาณด้านวิจัย ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งผมจะนำเสนอผลการประชุมในครั้งนี้ต่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในวันที่ 23 มิถุนายน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นจะมีการสรุปผลการประชุมอีก 2 ครั้ง เพื่อเสนอ ทปอ.ก่อนที่จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” รศ.ดร.วันชัย กล่าว
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการศึกษาและจัดทำโครงการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย โดยมี ศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นรองประธาน และมีผู้แทนมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 15 คนเป็นกรรมการ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้หารือหลักการ เหตุผล และความจำเป็นในการแยกอุดมศึกษา ออกเป็นกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัย เนื่องจากตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รวมอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำให้เห็นได้ชัดเจนการบริหารจัดการไม่มีความคล่องตัวในหลายๆ ด้าน ขณะที่กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ใช้ครอบคลุมทุกหน่วยงานทำให้ยากต่อการปฏิบัติ เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐานจะเน้นเตรียมความพร้อมของเด็กในเบื้องต้น ไปในทิศทางแตกต่างจากอุดมศึกษาที่ต้องการความหลากหลายในการพัฒนากำลังคน ดังนั้น อุดมศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องการความอิสระ คล่องตัวในการบริหารจัดการ
ทั้งนี้ ในที่ประชุมไม่ได้พิจารณาเฉพาะจะต้องแยกออกเป็นกระทรวงเท่านั้น แต่ยังพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น ถ้าไม่แยกควรจะต้องกลับมาทบทวนบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่จะทำให้การดำเนินงานอิสระและคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ออกนอกระบบไปแล้ว ก็ยังไม่ได้อิสระตามพระราชบัญญัติของแต่ละมหาวิทยาลัยได้อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้จะมีระเบียบของตนเองออกมาแล้ว แต่ในการบริหารงานก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย
“หลังจากนี้คณะทำงานฯจะไปศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานของประเทศที่แยกอุดมศึกษา เช่น ในกลุ่มประเทศยุโรป มาเลเซีย และประเทศที่ไม่แยกอุดมศึกษา อย่างเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แต่เท่าที่สังเกตแม้จะไม่ได้แยกออกมาเป็นกระทรวง แต่ประเทศเหล่านี้ก็ให้อิสระในการบริหารของอุดมศึกษา รวมถึงให้ความสำคัญในการสนับสนุนงบประมาณด้านวิจัย ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งผมจะนำเสนอผลการประชุมในครั้งนี้ต่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในวันที่ 23 มิถุนายน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นจะมีการสรุปผลการประชุมอีก 2 ครั้ง เพื่อเสนอ ทปอ.ก่อนที่จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” รศ.ดร.วันชัย กล่าว