ทปอ.เดินหน้าขอแยก สกอ.ตั้งทีมให้ “ภาวิช-วันชัย-มณฑล” รวมข้อดี-ข้อเสียนำเข้าประชุม ทปอ.ครั้งหน้า เผยเรียก ผอ.สทศ.แจงปัญหาโอเน็ต ลั่นยังมั่นใจใน สทศ.100% เตรียมระดมพลังมหา’ลัยขับเคลื่อนโครงการ “บัณฑิตไทยไม่โกง” และสร้างเครือข่ายส่งเสริมค่านิยมรับผิดชอบสังคมขจัดทุจริตคอร์รัปชัน
วันนี้ (17 ก.พ.) ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังประชุม ทปอ.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบทำโครงการสร้างค่านิยม “บัณฑิตไทยไม่โกง” และเครือข่ายความร่วมมือเสริมสร้างค่านิยม ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.ทั้ง 24 แห่งจะร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อยึดมั่นในคุณธรรมให้เกิดในหมูนักศึกษาและบุคลากร ผ่านการจัดกิจกรรมหลากหลาย เช่น การบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานทั่วไปที่เรียนในปี 1 และหลักสูตรการเรียนในสาขาวิชาเฉพาะโดยจะสอดแทรกเรื่องการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งปัจจุบันหลายวิทยาลัยก็ดำเนินการอยู่ แต่เราจะสร้างแรงกระเพื่อมเพื่อให้การทำงานเดินหน้าอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มแต่ปี 2556 เป็นต้น
“มีข้อมูลว่าได้มีการสอบถามความเห็นนักศึกษาว่า หากต้องโกงนิดหน่อยเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการนักศึกษาจะรับได้ไหม ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่ารับได้ เพราะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ ทปอ.ต้องการจะขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ดังนั้น นอกจากส่งเสริมที่ตัวนักศึกษา ยังรวมถึงบุคลากรของมหาวิทยาลัย และขจัดการโกงทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโกงการสอบ โกงเวลาราชการ การไม่ลอกผลงานวิชาการ เป็นต้น” ประธาน ทปอ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ทปอ.ได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ มธ.ร่วมเป็นเครือข่ายหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว และในการประชุมสัมมนาประจำปีของ ทปอ.ในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ จะนำประเด็นเรื่องดังกล่าวไปประชุมวางแผนขับเคลื่อนการทำงานต่อไป
ศ.ดร.สมคิดกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม ทปอ.นี้ได้เชิญ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มาชี้แจงถึงปัญหาการจัดทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมรับทราบว่าปัญหาเกิดที่ตัวบุคคลไม่ใช่องค์กร ดังนั้นจึงยังให้ความมั่นใจกับคะแนน O-Net ที่จะประกาศในครั้งนี้ 100% และรวมถึงการจัดทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) ประจำปี 2556 ที่จะมีขึ้นวันที่ 2-5 มี.ค. 2556 มั่นใจในการดำเนินการจัดสอบของ สทศ.เพราะเป็นหน่วยงานจัดสอบที่ดีที่สุดและคงไม่มีองค์กรอื่นใดมาแทนได้ โดยทาง สทศ.ได้ขอให้ ทปอ.กำชับกับศูนย์สอบทั้ง 19 แห่งด้วยว่าหากเกิดปัญหาให้ปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำอย่าแนะนำเองเด็ดขาด
ทั้งนี้ ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการเรื่องแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยเพราะมองว่าการรวมอยู่นั้นไม่ได้ทำให้การบริหารงานของอุดมศึกษาดีขึ้น ทั้งยังแย่ลงกว่าเดิมเพราะมหาวิทยาลัยติดขัดในการบริหารงาน การเกลี่ยงบประมาณ อีกทั้ง รัฐบาลก็ไม่ได้คัดเลือกคนดีหรือดีที่สุดมาทำหน้าที่ดูแลมหาวิทยาลัย ทั้งที่เราเป็นหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาระดับสูงที่สุด เพราะฉะนั้น การเสนอขอแยกนั้นไม่ได้เพื่อตัวเองแต่เพื่ออนาคตของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนแล้วเราจะต้องแข่งขันกับต่างชาติอีกมากจำเป็นจะต้องมีการบริหารงานที่คล่องตัว อย่างไรก็ตาม เข้าใจดีว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่และทำได้ยาก แต่หากรัฐบาลเห็นว่าดีก็น่าจะดำเนินการ โดยได้มอบหมายให้ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการศธ. รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) และศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.)ไปรวบรวมข้อดีข้อดี ข้อเสียในประเด็นและนำเข้าหารือในการประชุม ทปอ.วันที่ 28 เม.ย. ที่นิด้า
วันนี้ (17 ก.พ.) ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยภายหลังประชุม ทปอ.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบทำโครงการสร้างค่านิยม “บัณฑิตไทยไม่โกง” และเครือข่ายความร่วมมือเสริมสร้างค่านิยม ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมหาวิทยาลัยสมาชิก ทปอ.ทั้ง 24 แห่งจะร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อยึดมั่นในคุณธรรมให้เกิดในหมูนักศึกษาและบุคลากร ผ่านการจัดกิจกรรมหลากหลาย เช่น การบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานทั่วไปที่เรียนในปี 1 และหลักสูตรการเรียนในสาขาวิชาเฉพาะโดยจะสอดแทรกเรื่องการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งปัจจุบันหลายวิทยาลัยก็ดำเนินการอยู่ แต่เราจะสร้างแรงกระเพื่อมเพื่อให้การทำงานเดินหน้าอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มแต่ปี 2556 เป็นต้น
“มีข้อมูลว่าได้มีการสอบถามความเห็นนักศึกษาว่า หากต้องโกงนิดหน่อยเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการนักศึกษาจะรับได้ไหม ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่ารับได้ เพราะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ ทปอ.ต้องการจะขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ดังนั้น นอกจากส่งเสริมที่ตัวนักศึกษา ยังรวมถึงบุคลากรของมหาวิทยาลัย และขจัดการโกงทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโกงการสอบ โกงเวลาราชการ การไม่ลอกผลงานวิชาการ เป็นต้น” ประธาน ทปอ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ทปอ.ได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ มธ.ร่วมเป็นเครือข่ายหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว และในการประชุมสัมมนาประจำปีของ ทปอ.ในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ จะนำประเด็นเรื่องดังกล่าวไปประชุมวางแผนขับเคลื่อนการทำงานต่อไป
ศ.ดร.สมคิดกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม ทปอ.นี้ได้เชิญ รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มาชี้แจงถึงปัญหาการจัดทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมรับทราบว่าปัญหาเกิดที่ตัวบุคคลไม่ใช่องค์กร ดังนั้นจึงยังให้ความมั่นใจกับคะแนน O-Net ที่จะประกาศในครั้งนี้ 100% และรวมถึงการจัดทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) ประจำปี 2556 ที่จะมีขึ้นวันที่ 2-5 มี.ค. 2556 มั่นใจในการดำเนินการจัดสอบของ สทศ.เพราะเป็นหน่วยงานจัดสอบที่ดีที่สุดและคงไม่มีองค์กรอื่นใดมาแทนได้ โดยทาง สทศ.ได้ขอให้ ทปอ.กำชับกับศูนย์สอบทั้ง 19 แห่งด้วยว่าหากเกิดปัญหาให้ปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำอย่าแนะนำเองเด็ดขาด
ทั้งนี้ ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการเรื่องแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยเพราะมองว่าการรวมอยู่นั้นไม่ได้ทำให้การบริหารงานของอุดมศึกษาดีขึ้น ทั้งยังแย่ลงกว่าเดิมเพราะมหาวิทยาลัยติดขัดในการบริหารงาน การเกลี่ยงบประมาณ อีกทั้ง รัฐบาลก็ไม่ได้คัดเลือกคนดีหรือดีที่สุดมาทำหน้าที่ดูแลมหาวิทยาลัย ทั้งที่เราเป็นหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาระดับสูงที่สุด เพราะฉะนั้น การเสนอขอแยกนั้นไม่ได้เพื่อตัวเองแต่เพื่ออนาคตของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนแล้วเราจะต้องแข่งขันกับต่างชาติอีกมากจำเป็นจะต้องมีการบริหารงานที่คล่องตัว อย่างไรก็ตาม เข้าใจดีว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่และทำได้ยาก แต่หากรัฐบาลเห็นว่าดีก็น่าจะดำเนินการ โดยได้มอบหมายให้ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการศธ. รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) และศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.)ไปรวบรวมข้อดีข้อดี ข้อเสียในประเด็นและนำเข้าหารือในการประชุม ทปอ.วันที่ 28 เม.ย. ที่นิด้า