ศธ.เดินหน้าเพิ่มสัดส่วนเรียนต่อสายอาชีพลดสายสามัญ ชูเป้าใหม่ 51:49 เชื่อมั่นทำได้จริง มัดมือชก สพฐ.ประกาศตัวให้ ร.ร.ในสังกัดร่วมหนุน ตั้งเป้าดึงเด็กที่เคยคิดต่อ ม.ปลายสายสามัญเปลี่ยนใจมาเรียนสายอาชีพกว่า 1 แสนคน “จาตุรนต์” เตรียมคุมเข้มจำนวนนักเรียนต่อห้องของ ร.ร.มัธยม ป้องกัน ร.ร.แห่รับเด็กจนล้นห้อง เพราะหวังเงินรายหัว พร้อมชำแหละโครงการเรียนจบ ม.6 ภายใน 8 เดือน เหตุพบปัญหาเรียนจบ ปวช.มาต่อ ปวส.แต่เรียนไม่รอด ย้ำต้องเน้นคนมีประสบการณ์จริงไม่ใช่จบ ม.3 แล้วมาเรียนเลย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศธ.จัดการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย “รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา” โดยมีนักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรหลักของศธ.และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงเป้าหมายของ ศธ.ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพต่อสายสามัญเป็น 60:40 ภายในปี 2558 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวหากดูตามสถานการณ์ในปัจจุบันถือเป็นเป้าหมายที่อาจจะเลื่อนลอย และเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้หารือว่าควรจะต้องปรับลดสัดส่วนลงเป็น 51:49 ภายในปี 2558 ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าจะเป็นไปได้ โดยปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละประมาณ 9 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้เลือกเรียนต่อสายสามัญในสัดส่วนกว่า 60% ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ และไม่ตรงความต้องการของตลาดแรงงานที่ขณะนี้มีความต้องการกำลังคนในสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ จำนวนมาก แต่กลับไม่มีกำลังคนป้อนเข้าได้เพียงพอ เพราะเด็กส่วนใหญ่เลือกเรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ
ทั้งนี้ หากจะขับเคลื่อนการปรับสัดส่วนผู้เรียนต่อสายอาชีพและสายสามัญให้เป็นไปตามเป้าหมาย 51:49 นั้นทุกฝ่ายเห็นว่า จะต้องเป็นความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพราะที่ผ่านมาพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สนใจแนะแนวการเรียนต่อสายอาชีพให้เด็ก เพราะต้องการดึงเด็กให้เรียนต่อ ม.ปลาย ตรงนี้เป็นเรื่องของการแย่งงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว ซึ่งจัดสรรให้ตามตัวผู้เรียน เพราะฉะนั้น ศธ.จึงต้องการให้สอศ.และ สพฐ.มาทำงานร่วมกัน ที่สำคัญ จะให้ สพฐ.เป็นผู้ขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นหลัก โดยให้ สพฐ.เตรียมประกาศให้ปี 2557 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีพ สั่งการให้โรงเรียนแต่ละแห่งต้องกระตือรือร้นไปจัดให้มีการแนะแนวเรียนต่อสายอาชีพให้แก่นักเรียนของตัวเอง และที่สำคัญต่อไปจะต้องมีการสอนวิชาชีพในโรงเรียนเพิ่มขึ้นขึ้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ในจำนวนนักเรียนจบ ม.3 ปีละ 9 แสนคนนั้น เลือกเรียนต่อสายสามัญ 5 แสนคน สายอาชีพอาชีพ 3 แสนคน เข้าสู่ตลาดแรงงานโดยไม่ได้เรียนต่อ 1 แสนคน เพราะฉะนั้น หากจะปรับสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพให้เป็น 51% เท่ากับจะต้องมีผู้เลือกเรียนสายอาชีพประมาณ 4.6 แสนคน เท่ากับว่าจะต้องหาผู้เรียนมาเพิ่มอีกประมาณ 1.5 แสนคน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่จะดึงดูดมามี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เด็กที่ไม่เรียนต่อปีละ 1 แสนคนให้เปลี่ยนใจเรียนต่อสายอาชีพจำนวน 5 หมื่นคน อีกกลุ่ม คือ ดึงเด็กที่จะเลือกเรียนต่อสายสามัญให้หันมาเรียนสาอาชีพอีกประมาณ 1.2 แสนคน ทั้งนี้ การส่งเสริมจะไม่ใช่วิธีบังคับ แต่จะให้เป็นไปตามความสมัครใจของเด็กและผู้ปกครอง โดยพยายามพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยอาชีพพร้อมรณรงค์เพื่อเปลี่ยนค่านิยมของสังคม โดยเฉพาะการรณรงค์จุดแข็งว่า เรียนอาชีวะแล้วมีงานทำ มีรายได้สูง
“จะต้องมีการเข้มงวดกับการรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมด้วย จำนวนนักเรียนต่อห้องต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ป้องกันไม่ให้โรงเรียนขยายห้องเรียนมากวาดเอาเด็กไปหมด ซึ่งถ้าปล่อยให้ห้องเรียนมีเด็กถึง 50 คนแล้ว ไม่มีทางจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ ขณะเดียวกัน ขอให้ไปดูหลักเกณฑ์การรับนักเรียนของ สพฐ.ว่ามีปัญหาต่อการเพิ่มสัดส่วนเด็กอาชีวะหรือไม่ อาทิ การกำหนดเกรดเฉลี่ยของนักเรียนที่เข้าเรียน ม.4 โรงเรียนเดิมอยู่ที่ 2.00 หากอะไรที่เป็นปัญหาก็ขอให้ปรับให้พอดี นอกจากการหาทางเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพแล้ว จะต้องรักษาคุณภาพของการเรียนสายอาชีพด้วย โดยเฉพาะจะต้องมีการทบทวนรายละเอียดของนโยบายเรียนจบ ม.6 ภายใน 8 เดือน ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพราะโครงการนี้ทำให้นักเรียน ปวช.ที่เรียนไม่ไหวหรือไม่อยากเรียนมาหนีมาเรียนโครงการนี้ของ กศน.แทน และพอกลับเข้าไปเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็เรียนไม่ไหว เพราะจบ ปวช.มาแบบไม่มีคุณภาพ ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการศึกษาอาชีวะ ผมจึงขอให้ กศน.ไปทบทวนรายละเอียดของโครงการนี้ใหม่ โดยเฉพาะเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์เข้าโครงการต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ต้องเอาคนมีประสบการณ์ มีสมรรถนะทางอาชีพมาแล้วมาเรียนต่อ ไม่ใช่จบ ม.3 แล้วก็ดิ่งมาเรียนสั้นๆ กับ กศน.เท่านั้น” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศธ.จัดการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย “รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา” โดยมีนักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรหลักของศธ.และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงเป้าหมายของ ศธ.ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพต่อสายสามัญเป็น 60:40 ภายในปี 2558 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวหากดูตามสถานการณ์ในปัจจุบันถือเป็นเป้าหมายที่อาจจะเลื่อนลอย และเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้หารือว่าควรจะต้องปรับลดสัดส่วนลงเป็น 51:49 ภายในปี 2558 ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าจะเป็นไปได้ โดยปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละประมาณ 9 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้เลือกเรียนต่อสายสามัญในสัดส่วนกว่า 60% ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ และไม่ตรงความต้องการของตลาดแรงงานที่ขณะนี้มีความต้องการกำลังคนในสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ จำนวนมาก แต่กลับไม่มีกำลังคนป้อนเข้าได้เพียงพอ เพราะเด็กส่วนใหญ่เลือกเรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ
ทั้งนี้ หากจะขับเคลื่อนการปรับสัดส่วนผู้เรียนต่อสายอาชีพและสายสามัญให้เป็นไปตามเป้าหมาย 51:49 นั้นทุกฝ่ายเห็นว่า จะต้องเป็นความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพราะที่ผ่านมาพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สนใจแนะแนวการเรียนต่อสายอาชีพให้เด็ก เพราะต้องการดึงเด็กให้เรียนต่อ ม.ปลาย ตรงนี้เป็นเรื่องของการแย่งงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว ซึ่งจัดสรรให้ตามตัวผู้เรียน เพราะฉะนั้น ศธ.จึงต้องการให้สอศ.และ สพฐ.มาทำงานร่วมกัน ที่สำคัญ จะให้ สพฐ.เป็นผู้ขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นหลัก โดยให้ สพฐ.เตรียมประกาศให้ปี 2557 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีพ สั่งการให้โรงเรียนแต่ละแห่งต้องกระตือรือร้นไปจัดให้มีการแนะแนวเรียนต่อสายอาชีพให้แก่นักเรียนของตัวเอง และที่สำคัญต่อไปจะต้องมีการสอนวิชาชีพในโรงเรียนเพิ่มขึ้นขึ้น
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ในจำนวนนักเรียนจบ ม.3 ปีละ 9 แสนคนนั้น เลือกเรียนต่อสายสามัญ 5 แสนคน สายอาชีพอาชีพ 3 แสนคน เข้าสู่ตลาดแรงงานโดยไม่ได้เรียนต่อ 1 แสนคน เพราะฉะนั้น หากจะปรับสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพให้เป็น 51% เท่ากับจะต้องมีผู้เลือกเรียนสายอาชีพประมาณ 4.6 แสนคน เท่ากับว่าจะต้องหาผู้เรียนมาเพิ่มอีกประมาณ 1.5 แสนคน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่จะดึงดูดมามี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เด็กที่ไม่เรียนต่อปีละ 1 แสนคนให้เปลี่ยนใจเรียนต่อสายอาชีพจำนวน 5 หมื่นคน อีกกลุ่ม คือ ดึงเด็กที่จะเลือกเรียนต่อสายสามัญให้หันมาเรียนสาอาชีพอีกประมาณ 1.2 แสนคน ทั้งนี้ การส่งเสริมจะไม่ใช่วิธีบังคับ แต่จะให้เป็นไปตามความสมัครใจของเด็กและผู้ปกครอง โดยพยายามพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยอาชีพพร้อมรณรงค์เพื่อเปลี่ยนค่านิยมของสังคม โดยเฉพาะการรณรงค์จุดแข็งว่า เรียนอาชีวะแล้วมีงานทำ มีรายได้สูง
“จะต้องมีการเข้มงวดกับการรับนักเรียนของโรงเรียนมัธยมด้วย จำนวนนักเรียนต่อห้องต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ป้องกันไม่ให้โรงเรียนขยายห้องเรียนมากวาดเอาเด็กไปหมด ซึ่งถ้าปล่อยให้ห้องเรียนมีเด็กถึง 50 คนแล้ว ไม่มีทางจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ ขณะเดียวกัน ขอให้ไปดูหลักเกณฑ์การรับนักเรียนของ สพฐ.ว่ามีปัญหาต่อการเพิ่มสัดส่วนเด็กอาชีวะหรือไม่ อาทิ การกำหนดเกรดเฉลี่ยของนักเรียนที่เข้าเรียน ม.4 โรงเรียนเดิมอยู่ที่ 2.00 หากอะไรที่เป็นปัญหาก็ขอให้ปรับให้พอดี นอกจากการหาทางเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพแล้ว จะต้องรักษาคุณภาพของการเรียนสายอาชีพด้วย โดยเฉพาะจะต้องมีการทบทวนรายละเอียดของนโยบายเรียนจบ ม.6 ภายใน 8 เดือน ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพราะโครงการนี้ทำให้นักเรียน ปวช.ที่เรียนไม่ไหวหรือไม่อยากเรียนมาหนีมาเรียนโครงการนี้ของ กศน.แทน และพอกลับเข้าไปเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็เรียนไม่ไหว เพราะจบ ปวช.มาแบบไม่มีคุณภาพ ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการศึกษาอาชีวะ ผมจึงขอให้ กศน.ไปทบทวนรายละเอียดของโครงการนี้ใหม่ โดยเฉพาะเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์เข้าโครงการต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ต้องเอาคนมีประสบการณ์ มีสมรรถนะทางอาชีพมาแล้วมาเรียนต่อ ไม่ใช่จบ ม.3 แล้วก็ดิ่งมาเรียนสั้นๆ กับ กศน.เท่านั้น” นายจาตุรนต์ กล่าว