โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
“โรงไฟฟ้า” ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือกระทั่งโรงไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติ ไม่ว่าคำนี้จะไปปรากฏอยู่ที่แห่งหนตำบลใด คนในชุมชนล้วนแทบต่อต้านการมาสร้างโรงไฟฟ้าในแผ่นดินถิ่นเกิดของตนแทบทั้งสิ้น
เนื่องจากเจ้าของพื้นที่จำเป็นที่จะต้องอพยพออก เพื่อเสียสละพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นระบบสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่คนไทยขาดไม่ได้เสียแล้ว เพราะทุกวันนี้อะไรๆ ก็ต้องใช้ไฟฟ้าทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือกระทั่งสมาร์ทโฟนสุดเท่ที่ว่างเมื่อไรเป็นต้องควักออกมาก้มหน้าจิ้มๆ อย่างเมามัน เป็นต้น รวมถึงชุมชนบริเวณใกล้เคียงอาจได้รับผลกระทบจากมลพิษที่เกิดขึ้นจากการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฝังใจคนไทยมาเนิ่นนานจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะ
อย่างไรก็ตาม พลังงานไฟฟ้าถือเป็นความจำเป็นและสำคัญ เห็นได้ชัดจากกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับทั้งหมดใน 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา สร้างความแตกตื่นและความโกลาหลให้แก่ประชาชนอย่างมาก ด้วยเกรงว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะออกมาฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ด้วยเหตุนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงพยายามเร่งผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างคึกคัก
ทั้งนี้ ระหว่างการศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน ณ โรงไฟฟ้าเฮกินัน ประเทศญี่ปุ่น นายรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ.ให้ข้อมูลว่า พลังงานไฟฟ้าถือเป็นความมั่นคงของชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเราผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สธรรมชาติมากถึง 70% โดยจำนวนนี้ 30% เรานำเข้าจากประเทศพม่า หากพม่าหยุดส่งแก๊สธรรมชาติให้ไทย หมายความว่าเราจะมีปัญหาในเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับแก๊สธรรมชาติจากอ่าวไทยเชื่อได้ว่าอีกไม่เกิน 10 ปีก็จะหมดไป จึงจำเป็นที่จะต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ ซึ่งทุกวันนี้ถ่านหิน เป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์การผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
ส่วนสาเหตุที่ทำไมเราไม่ใช้พลังงานธรรมชาติอย่างอื่น เช่น สายลม แสงแดด ในการผลิตกระแสไฟฟ้า นายรังสรรค์ บอกว่า เพราะพลังงานเหล่านั้นไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนไทยใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คือเป็นพลังงานที่ไม่มีความแน่นอน ไม่เหมือนการใช้ถ่านหินที่สามารถกำหนดเวลาการผลิตได้ และปริมาณการผลิตได้อย่างชัดเจน เพราะปัจจัยหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ ปริมาณการผลิตและปริมาณการใช้จะต้องสมดุลกัน หากผลิตน้อยกว่าการใช้ก็จะไม่เพียงพอ แต่หากผลิตมากไปก็เท่ากับเสียพลังงานโดยใช่เหตุ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น หากไม่มีการใช้จะไม่สามารถเก็บสำรองเอาไว้ใช้ในวันถัดไปได้
“อีกปัจจัยหนึ่งที่กฟผ.จะต้องพิจารณาด้วยก็คือต้นทุนในการผลิต หากเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะพบว่าหากผลิตจากแก๊สธรรมชาติจะอยู่ที่ 3.20 บาท แก๊สธรรมชาติเหลว (LNG) อยู่ที่ 5บาทต่อหน่วย ส่วนถ่านหิน เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางจะอยู่ที่ 2.20บาทต่อหน่วยเท่านั้น ถือว่าถูกกว่ามาก”
ด้าน Mr.Kozo Ban ผู้บริหารระดับสูงโรงไฟฟ้าเฮกินันประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเช่นกันการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการจึงไม่สามารถผลิตได้จากโรงไฟฟ้าประเภทใดประเภทหนึ่งแต่จะต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีความสมดุลไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงไฟฟ้าจากน้ำมัน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สธรรมชาติแต่ไม่ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากวัตถุดิบชนิดใดก็ตามต้องเข้าใจก่อนว่าการสร้างโรงไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของมลพิษเพราะฉะนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการกำจัดของเสียต่างๆ ที่ได้มาตรฐานอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินเฮกินัน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีการก่อสร้างมานานแล้วกว่า20 ปี ก็มีเทคโนโลยีกำจัดของเสียที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าประเภทใดมีระบบกำจัดของเสียที่ดีอย่างไรแต่ความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน คือจะต้องตระหนักรู้และมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างถูกต้องและคุ้มค่าซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ กฟผ.ที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่าให้เป็นเหมือนกรณีแม่เมาะที่ทำให้คนไทยฝังใจจนตายแบบข้ามรุ่นกับคำว่า “โรงไฟฟ้าถ่านหิน”
“โรงไฟฟ้า” ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือกระทั่งโรงไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติ ไม่ว่าคำนี้จะไปปรากฏอยู่ที่แห่งหนตำบลใด คนในชุมชนล้วนแทบต่อต้านการมาสร้างโรงไฟฟ้าในแผ่นดินถิ่นเกิดของตนแทบทั้งสิ้น
เนื่องจากเจ้าของพื้นที่จำเป็นที่จะต้องอพยพออก เพื่อเสียสละพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นระบบสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งที่คนไทยขาดไม่ได้เสียแล้ว เพราะทุกวันนี้อะไรๆ ก็ต้องใช้ไฟฟ้าทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หรือกระทั่งสมาร์ทโฟนสุดเท่ที่ว่างเมื่อไรเป็นต้องควักออกมาก้มหน้าจิ้มๆ อย่างเมามัน เป็นต้น รวมถึงชุมชนบริเวณใกล้เคียงอาจได้รับผลกระทบจากมลพิษที่เกิดขึ้นจากการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ฝังใจคนไทยมาเนิ่นนานจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะ
อย่างไรก็ตาม พลังงานไฟฟ้าถือเป็นความจำเป็นและสำคัญ เห็นได้ชัดจากกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับทั้งหมดใน 14 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา สร้างความแตกตื่นและความโกลาหลให้แก่ประชาชนอย่างมาก ด้วยเกรงว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะออกมาฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ด้วยเหตุนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงพยายามเร่งผลักดันการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างคึกคัก
ทั้งนี้ ระหว่างการศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน ณ โรงไฟฟ้าเฮกินัน ประเทศญี่ปุ่น นายรังสรรค์ อัฐมโนลาภ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ.ให้ข้อมูลว่า พลังงานไฟฟ้าถือเป็นความมั่นคงของชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเราผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สธรรมชาติมากถึง 70% โดยจำนวนนี้ 30% เรานำเข้าจากประเทศพม่า หากพม่าหยุดส่งแก๊สธรรมชาติให้ไทย หมายความว่าเราจะมีปัญหาในเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับแก๊สธรรมชาติจากอ่าวไทยเชื่อได้ว่าอีกไม่เกิน 10 ปีก็จะหมดไป จึงจำเป็นที่จะต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ ซึ่งทุกวันนี้ถ่านหิน เป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์การผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
ส่วนสาเหตุที่ทำไมเราไม่ใช้พลังงานธรรมชาติอย่างอื่น เช่น สายลม แสงแดด ในการผลิตกระแสไฟฟ้า นายรังสรรค์ บอกว่า เพราะพลังงานเหล่านั้นไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้คนไทยใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คือเป็นพลังงานที่ไม่มีความแน่นอน ไม่เหมือนการใช้ถ่านหินที่สามารถกำหนดเวลาการผลิตได้ และปริมาณการผลิตได้อย่างชัดเจน เพราะปัจจัยหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็คือ ปริมาณการผลิตและปริมาณการใช้จะต้องสมดุลกัน หากผลิตน้อยกว่าการใช้ก็จะไม่เพียงพอ แต่หากผลิตมากไปก็เท่ากับเสียพลังงานโดยใช่เหตุ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น หากไม่มีการใช้จะไม่สามารถเก็บสำรองเอาไว้ใช้ในวันถัดไปได้
“อีกปัจจัยหนึ่งที่กฟผ.จะต้องพิจารณาด้วยก็คือต้นทุนในการผลิต หากเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะพบว่าหากผลิตจากแก๊สธรรมชาติจะอยู่ที่ 3.20 บาท แก๊สธรรมชาติเหลว (LNG) อยู่ที่ 5บาทต่อหน่วย ส่วนถ่านหิน เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางจะอยู่ที่ 2.20บาทต่อหน่วยเท่านั้น ถือว่าถูกกว่ามาก”
ด้าน Mr.Kozo Ban ผู้บริหารระดับสูงโรงไฟฟ้าเฮกินันประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากเช่นกันการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการจึงไม่สามารถผลิตได้จากโรงไฟฟ้าประเภทใดประเภทหนึ่งแต่จะต้องผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีความสมดุลไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงไฟฟ้าจากน้ำมัน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สธรรมชาติแต่ไม่ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากวัตถุดิบชนิดใดก็ตามต้องเข้าใจก่อนว่าการสร้างโรงไฟฟ้ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของมลพิษเพราะฉะนั้น การสร้างโรงไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการกำจัดของเสียต่างๆ ที่ได้มาตรฐานอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินเฮกินัน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีการก่อสร้างมานานแล้วกว่า20 ปี ก็มีเทคโนโลยีกำจัดของเสียที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าประเภทใดมีระบบกำจัดของเสียที่ดีอย่างไรแต่ความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน คือจะต้องตระหนักรู้และมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างถูกต้องและคุ้มค่าซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ กฟผ.ที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่าให้เป็นเหมือนกรณีแม่เมาะที่ทำให้คนไทยฝังใจจนตายแบบข้ามรุ่นกับคำว่า “โรงไฟฟ้าถ่านหิน”