เสริมสร้างความภูมิใจให้ลูก
อ.พญ.สิรินัดดา ปัญญาภาส
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
เมื่อต้องรับบทบาทพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง นอกจากการเลี้ยงดูที่เหมาะสมแล้ว การเสริมสร้างความภูมิใจให้ลูกหลานก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย
ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตและเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ สร้างตั้งแต่เด็กๆ เด็กที่มีความภูมิใจในตนเอง จะเป็นเด็กที่มีความมั่นใจสามารถแก้ปัญหา มีความอดทนต่อความกดดันและข้อขัดแย้งได้ดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี
ความภูมิใจในตนเองนั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่อายุขวบปีแรก เด็กจะเริ่มสะสมความรู้สึกว่า “ตัวเองทำได้” หลังจากที่พยายามมาหลายครั้งจนประสบความสำเร็จ และสอนตัวเองว่า “เราทำได้ ถ้าเราพยายาม”
ส่วนบทบาทของพ่อแม่และผู้ปกครอง ที่จะช่วยเสริมสร้างความภูมิใจ ลองทำตามนะคะ
1.เริ่มตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก พ่อแม่ควรให้เวลา ความรัก ความอบอุ่น ความใกล้ชิดผูกพัน เช่น ให้นมเมื่อเด็กหิว ปลอบเมื่อเด็กหงุดหงิดไม่สบายตัว เล่นด้วยเมื่อเด็กต้องการ เหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตนเองที่ได้รับการตอบสนองหรือรับความรักจากคนอื่น
2.วัย 1-3 ขวบ เด็กเริ่มฝึกฝนและต้องการทำบางอย่างด้วยตัวเอง พ่อ แม่ควรให้โอกาสเด็กได้ลงมือทำเอง เพราะเมื่อเขาทำสำเร็จ เขาจะเกิดความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเองและมองตัวเองเป็นคนที่มีความสามารถ
3.วัยอนุบาลและวัยเรียน พ่อแม่ควรมอบหมายงานง่ายๆ ที่เหมาะกับวัยให้เด็กทำด้วยตัวเอง
หรือให้เด็กมีกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น จิตอาสาแบ่งปัน ทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.การสื่อสารและบรรยากาศที่ดีในครอบครัวสำคัญสำหรับเด็กทุกวัย พ่อแม่ควรแสดงท่าทีหรือให้คำชื่นชมอย่างพอประมาณเมื่อเด็กทำสิ่งที่ดี หากเด็กทำสิ่งที่ไม่ดีควรชี้แนะและให้กำลังใจอย่างสร้างสรรค์ ควรหลีกเลี่ยงการตำหนิต่อว่าเด็กซ้ำๆ เพราะจะทำให้เขามองตัวเองไม่ดีจนขาดแรงจูงใจ หากเป็นเช่นนั้นควรแก้ไขความรู้สึก ความเข้าใจที่ผิดๆของเด็กด้วย
5.สุดท้ายคือการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ในขณะที่พ่อแม่ชื่นชม เห็นข้อดีของเด็กหรือของผู้อื่นนั้น
เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ ซึมซับ การมองคุณค่าของผู้อื่นไปด้วย
ในทางกลับกัน เด็กที่ขาดความมั่นใจ และความภูมิใจในตนเอง มักจะเป็นคนวิตกกังวล เกิดความเครียดต่อปัญหาต่างๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เด็กเหล่านี้มักมีความคิดเกี่ยวกับตัวเองว่า “เราเป็นคนไม่เก่ง” หรือ “เราไม่เคยทำอะไรถูกเลย” ทำให้กลายเป็นเด็กเงียบๆ ไม่ค่อยมีเพื่อนฝูง หรืออาจถึงขั้นเก็บกดได้
สำหรับเด็กบางกลุ่ม จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้เติบโตทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ถ้าเกินความ สามารถของผู้ปกครอง ก็ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์เด็ก โดยแพทย์จะซักประวัติเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อดูว่าเด็กคิดอย่างไร และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาขาดความภูมิใจในตนเอง จิตแพทย์จะร่วมกันกับครอบครัวเพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสม ให้เด็กมองโลกในแง่ดีตามความเป็นจริง เข้าใจตัวเอง รักและภูมิใจในตัวเองมากขึ้น
------------------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
มา “ลดอ้วน ลดโรค” ฟรี
งานโภชนศาสตร์คลินิก รพ.ศิริราช เชิญชวนประชาชนทั่วไปที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า30 กิโลกรัม/เมตร เข้าร่วมโครงการให้ความรู้สู่ประชาชนในหัวข้อ “ลดอ้วน ลดโรค” รับความรู้อันตรายของโรคอ้วนและพลังงานในอาหาร พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ ในวันอังคารที่ 17 ธ.ค.นี้ เวลา 12.30-16.00 น.ณ ห้อง 7008 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รับเพียง 30 คน เท่านั้น สอบถามและสมัครได้ที่ โทร. 0 2419 7740-1
อ.พญ.สิรินัดดา ปัญญาภาส
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
เมื่อต้องรับบทบาทพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง นอกจากการเลี้ยงดูที่เหมาะสมแล้ว การเสริมสร้างความภูมิใจให้ลูกหลานก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย
ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตและเป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ สร้างตั้งแต่เด็กๆ เด็กที่มีความภูมิใจในตนเอง จะเป็นเด็กที่มีความมั่นใจสามารถแก้ปัญหา มีความอดทนต่อความกดดันและข้อขัดแย้งได้ดี และเป็นคนมองโลกในแง่ดี
ความภูมิใจในตนเองนั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่อายุขวบปีแรก เด็กจะเริ่มสะสมความรู้สึกว่า “ตัวเองทำได้” หลังจากที่พยายามมาหลายครั้งจนประสบความสำเร็จ และสอนตัวเองว่า “เราทำได้ ถ้าเราพยายาม”
ส่วนบทบาทของพ่อแม่และผู้ปกครอง ที่จะช่วยเสริมสร้างความภูมิใจ ลองทำตามนะคะ
1.เริ่มตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก พ่อแม่ควรให้เวลา ความรัก ความอบอุ่น ความใกล้ชิดผูกพัน เช่น ให้นมเมื่อเด็กหิว ปลอบเมื่อเด็กหงุดหงิดไม่สบายตัว เล่นด้วยเมื่อเด็กต้องการ เหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตนเองที่ได้รับการตอบสนองหรือรับความรักจากคนอื่น
2.วัย 1-3 ขวบ เด็กเริ่มฝึกฝนและต้องการทำบางอย่างด้วยตัวเอง พ่อ แม่ควรให้โอกาสเด็กได้ลงมือทำเอง เพราะเมื่อเขาทำสำเร็จ เขาจะเกิดความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเองและมองตัวเองเป็นคนที่มีความสามารถ
3.วัยอนุบาลและวัยเรียน พ่อแม่ควรมอบหมายงานง่ายๆ ที่เหมาะกับวัยให้เด็กทำด้วยตัวเอง
หรือให้เด็กมีกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น จิตอาสาแบ่งปัน ทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.การสื่อสารและบรรยากาศที่ดีในครอบครัวสำคัญสำหรับเด็กทุกวัย พ่อแม่ควรแสดงท่าทีหรือให้คำชื่นชมอย่างพอประมาณเมื่อเด็กทำสิ่งที่ดี หากเด็กทำสิ่งที่ไม่ดีควรชี้แนะและให้กำลังใจอย่างสร้างสรรค์ ควรหลีกเลี่ยงการตำหนิต่อว่าเด็กซ้ำๆ เพราะจะทำให้เขามองตัวเองไม่ดีจนขาดแรงจูงใจ หากเป็นเช่นนั้นควรแก้ไขความรู้สึก ความเข้าใจที่ผิดๆของเด็กด้วย
5.สุดท้ายคือการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ในขณะที่พ่อแม่ชื่นชม เห็นข้อดีของเด็กหรือของผู้อื่นนั้น
เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ ซึมซับ การมองคุณค่าของผู้อื่นไปด้วย
ในทางกลับกัน เด็กที่ขาดความมั่นใจ และความภูมิใจในตนเอง มักจะเป็นคนวิตกกังวล เกิดความเครียดต่อปัญหาต่างๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เด็กเหล่านี้มักมีความคิดเกี่ยวกับตัวเองว่า “เราเป็นคนไม่เก่ง” หรือ “เราไม่เคยทำอะไรถูกเลย” ทำให้กลายเป็นเด็กเงียบๆ ไม่ค่อยมีเพื่อนฝูง หรืออาจถึงขั้นเก็บกดได้
สำหรับเด็กบางกลุ่ม จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้เติบโตทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ถ้าเกินความ สามารถของผู้ปกครอง ก็ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์เด็ก โดยแพทย์จะซักประวัติเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อดูว่าเด็กคิดอย่างไร และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาขาดความภูมิใจในตนเอง จิตแพทย์จะร่วมกันกับครอบครัวเพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสม ให้เด็กมองโลกในแง่ดีตามความเป็นจริง เข้าใจตัวเอง รักและภูมิใจในตัวเองมากขึ้น
------------------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
มา “ลดอ้วน ลดโรค” ฟรี
งานโภชนศาสตร์คลินิก รพ.ศิริราช เชิญชวนประชาชนทั่วไปที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า30 กิโลกรัม/เมตร เข้าร่วมโครงการให้ความรู้สู่ประชาชนในหัวข้อ “ลดอ้วน ลดโรค” รับความรู้อันตรายของโรคอ้วนและพลังงานในอาหาร พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ ในวันอังคารที่ 17 ธ.ค.นี้ เวลา 12.30-16.00 น.ณ ห้อง 7008 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รับเพียง 30 คน เท่านั้น สอบถามและสมัครได้ที่ โทร. 0 2419 7740-1