ดีเดย์ 20 ส.ค. สธ.รณรงค์โครงการใหญ่ “สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” ให้คนไทยปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสุขภาพที่ดี สั่งทุกกรม และหน่วยงานส่งเสริมกิจกรรมเชิงรุก ตั้งเป้าอีก 10 ปีจากนี้คนอายุยืนถึง 80 ปี เผยช่วงอายุ 6-20 ปีเป็นวัยที่ต้องดูแลพิเศษ เหตุเสี่ยงปัญหาสุขภาพเสื่อม
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างแถลงข่าว “โครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” ว่า โครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ (Good Health Starts Here) จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในเรื่องสุขภาพ และเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งการป้องกัน และการส่งเสริมให้มีสุขภาพดี แข็งแรง เปลี่ยนจากเดิมที่มักจะบอกประชาชนในเชิงลบฝ่ายเดียว เริ่มต้นว่าอย่าทำ เพราะจะทำให้เป็นโรค แต่โฉมหน้าการทำงานตามเป้าหมายใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขจากนี้ไปคือ การทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ทั้งกายและจิต โดยใช้ปรัชญาว่า สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ ซึ่งคำว่า “ที่นี่” หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีสุขภาพดี เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้เลือดออก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี หรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจากการใช้สิ่งเสพติดต่างๆ ล้วนเกิดมาจากพฤติกรรมของตนเอง”
โดยมีข้อมูลในปี 2555 พบว่าทั้งประเทศมีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คน ในจำนวนนี้ 1.2 แสนคน หรือประมาณร้อยละ 30 เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุ จึงต้องเร่งสร้างความตระหนัก ทั้งนี้ สธ.จะเริ่มรณรงค์กิจกรรมดังกล่าวตั้งวันที่ 20 สิงหาคมเป็นต้นไป เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตัวเองและดูแลได้อย่างทุกต้อง และให้ทุกกรมในสังกัด สธ.หันมาทำงานเน้นส่งเสริมสุขภาพประชาชนมากกว่าการรักษา ขณะเดียวกัน ต้องทำงานเชิงรุกส่งเสริมสุขภาพต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ต้องตรวจสอบว่า มียาชนิดใด หรืออาหารเสริมชนิดใดควรรับประทานหรืิอไม่ควรรับประทาน เป็นต้น
“ช่วงอายุที่ต้องเน้นให้ดูแลสุขภาพมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 6-20 ปี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดจากการดูแลตัวเองไม่ดีพอ รวมทั้งขาดการเอาใจใส่จากคนใกล้ชิด เช่นโรคไข้เลือดออก เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่อาจเข้าสู่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยังเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่างๆ อีก จึงจำเป็นต้องทำงานเชิงรุกให้ความรู้ในการดูแลตัวเองด้วย ขณะที่เมื่อก้าวสูอายุ 20-60 ปี ก็ต้องกระตุ้นไม่ให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงอีก ซึ่งทั้งหมดจะทำให้คนไทยมีอายุยืนขึ้น” นพ.ประดิษฐ กล่าวและว่า สธ.กำหนดเป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้านับจากนี้ คือใน พ.ศ.2566 คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 80 ปี และมีอายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 72 ปี
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างแถลงข่าว “โครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” ว่า โครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ (Good Health Starts Here) จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในเรื่องสุขภาพ และเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งการป้องกัน และการส่งเสริมให้มีสุขภาพดี แข็งแรง เปลี่ยนจากเดิมที่มักจะบอกประชาชนในเชิงลบฝ่ายเดียว เริ่มต้นว่าอย่าทำ เพราะจะทำให้เป็นโรค แต่โฉมหน้าการทำงานตามเป้าหมายใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขจากนี้ไปคือ การทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ทั้งกายและจิต โดยใช้ปรัชญาว่า สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ ซึ่งคำว่า “ที่นี่” หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีสุขภาพดี เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้เลือดออก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี หรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมทั้งปัญหาสุขภาพจากการใช้สิ่งเสพติดต่างๆ ล้วนเกิดมาจากพฤติกรรมของตนเอง”
โดยมีข้อมูลในปี 2555 พบว่าทั้งประเทศมีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 คน ในจำนวนนี้ 1.2 แสนคน หรือประมาณร้อยละ 30 เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุ จึงต้องเร่งสร้างความตระหนัก ทั้งนี้ สธ.จะเริ่มรณรงค์กิจกรรมดังกล่าวตั้งวันที่ 20 สิงหาคมเป็นต้นไป เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตัวเองและดูแลได้อย่างทุกต้อง และให้ทุกกรมในสังกัด สธ.หันมาทำงานเน้นส่งเสริมสุขภาพประชาชนมากกว่าการรักษา ขณะเดียวกัน ต้องทำงานเชิงรุกส่งเสริมสุขภาพต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ต้องตรวจสอบว่า มียาชนิดใด หรืออาหารเสริมชนิดใดควรรับประทานหรืิอไม่ควรรับประทาน เป็นต้น
“ช่วงอายุที่ต้องเน้นให้ดูแลสุขภาพมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 6-20 ปี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่อาจเกิดจากการดูแลตัวเองไม่ดีพอ รวมทั้งขาดการเอาใจใส่จากคนใกล้ชิด เช่นโรคไข้เลือดออก เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่อาจเข้าสู่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยังเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่างๆ อีก จึงจำเป็นต้องทำงานเชิงรุกให้ความรู้ในการดูแลตัวเองด้วย ขณะที่เมื่อก้าวสูอายุ 20-60 ปี ก็ต้องกระตุ้นไม่ให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงอีก ซึ่งทั้งหมดจะทำให้คนไทยมีอายุยืนขึ้น” นพ.ประดิษฐ กล่าวและว่า สธ.กำหนดเป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้านับจากนี้ คือใน พ.ศ.2566 คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 80 ปี และมีอายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า 72 ปี