อธิบดี กพร.เผย รมว.แรงงาน หนุนชง ครม.แก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกใบรับรองช่างฝีมือที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย นำมาใช้คัดกรองแรงงานต่างชาติรองรับเออีซี ย้ำภารกิจไม่ซ้ำซ้อนกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือและทำหนังสือชี้แจงต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กรณี กพร.เสนอแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เพื่อกำหนดให้กระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อออกใบรับรองความสามารถให้แก่ช่างฝีมือในสาขาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า ช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ โดยการทดสอบนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและเข้ารับการทดสอบกับ กพร.เมื่อช่างฝีมือต่างชาติผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองความสามารถและทำงานในประเทศไทยได้ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ กพร.ได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ ครม.ยังไม่ให้เห็นชอบและได้ให้ กพร.นำไปหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพราะเกรงภารกิจจะซ้ำซ้อนกับงานของสถาบันฯแล้วให้เสนอต่อ ครม.อีกครั้ง
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า กพร.ได้ชี้แจงต่อ รมว.แรงงาน ว่า โดยบทบาทหน้าที่ และภารกิจของ กพร.นั้นมี พ.ร.บ.รองรับในการกำหนดมาตรฐานและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ส่วนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีพระราชกฤษฎีการองรับและเพิ่งจะมีการจัดตั้งสถาบันฯขึ้นได้ไม่นาน ทั้งนี้ ภารกิจของ กพร.ไม่ซ้ำซ้อนกับสถาบันฯ เนื่องจากสถาบันฯ มีหน้าที่ทดสอบและรับรองมาตรฐานฝีมือให้แก่นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.สาขาช่างต่างๆ ที่จะจบการศึกษา ขณะที่ภารกิจของ กพร.ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ช่างฝีมือสาขาต่างๆ ที่ทำงานมานานหลายปีได้พัฒนาตนเองและเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หากผ่านก็จะมีทักษะฝีมือตามมาตรฐานฯ และภารกิจตามที่มีการเสนอขอแก้ไข พ.ร.บ.นั้น ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของสินค้าและบริการ รวมทั้งนำมาใช้คัดกรองแรงงานช่างฝีมือจากต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานในไทยให้ได้แรงงานฝีมือที่มีคุณภาพรองรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) ซึ่งภารกิจนี้ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ให้เป็นงานของสถาบันฯ
“รมว.แรงงานเห็นด้วยตามที่ กพร.ทำหนังสือชี้แจง และได้ลงนามในหนังสือเพื่อเสนอเรื่องกรณี กพร.ขอแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ต่อไป เรื่องนี้ กพร.ได้เร่งเสนอต่อ รมว.แรงงาน และรัฐบาล เพราะจะต้องเตรียมการรองรับเออีซีซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงกว่า 2 ปี จะได้มีเกณฑ์สำหรับใช้กลั่นกรองแรงงานฝีมือชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลังเปิดเออีซี ” นายนคร กล่าว
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือและทำหนังสือชี้แจงต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กรณี กพร.เสนอแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เพื่อกำหนดให้กระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อออกใบรับรองความสามารถให้แก่ช่างฝีมือในสาขาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า ช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ โดยการทดสอบนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและเข้ารับการทดสอบกับ กพร.เมื่อช่างฝีมือต่างชาติผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองความสามารถและทำงานในประเทศไทยได้ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ กพร.ได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ ครม.ยังไม่ให้เห็นชอบและได้ให้ กพร.นำไปหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพราะเกรงภารกิจจะซ้ำซ้อนกับงานของสถาบันฯแล้วให้เสนอต่อ ครม.อีกครั้ง
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า กพร.ได้ชี้แจงต่อ รมว.แรงงาน ว่า โดยบทบาทหน้าที่ และภารกิจของ กพร.นั้นมี พ.ร.บ.รองรับในการกำหนดมาตรฐานและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ส่วนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีพระราชกฤษฎีการองรับและเพิ่งจะมีการจัดตั้งสถาบันฯขึ้นได้ไม่นาน ทั้งนี้ ภารกิจของ กพร.ไม่ซ้ำซ้อนกับสถาบันฯ เนื่องจากสถาบันฯ มีหน้าที่ทดสอบและรับรองมาตรฐานฝีมือให้แก่นักศึกษาอาชีวศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.สาขาช่างต่างๆ ที่จะจบการศึกษา ขณะที่ภารกิจของ กพร.ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ช่างฝีมือสาขาต่างๆ ที่ทำงานมานานหลายปีได้พัฒนาตนเองและเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หากผ่านก็จะมีทักษะฝีมือตามมาตรฐานฯ และภารกิจตามที่มีการเสนอขอแก้ไข พ.ร.บ.นั้น ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของสินค้าและบริการ รวมทั้งนำมาใช้คัดกรองแรงงานช่างฝีมือจากต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานในไทยให้ได้แรงงานฝีมือที่มีคุณภาพรองรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) ซึ่งภารกิจนี้ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ให้เป็นงานของสถาบันฯ
“รมว.แรงงานเห็นด้วยตามที่ กพร.ทำหนังสือชี้แจง และได้ลงนามในหนังสือเพื่อเสนอเรื่องกรณี กพร.ขอแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ต่อไป เรื่องนี้ กพร.ได้เร่งเสนอต่อ รมว.แรงงาน และรัฐบาล เพราะจะต้องเตรียมการรองรับเออีซีซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงกว่า 2 ปี จะได้มีเกณฑ์สำหรับใช้กลั่นกรองแรงงานฝีมือชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยหลังเปิดเออีซี ” นายนคร กล่าว