กทม.ร่วมมือจุฬาฯ ใช้ปูนซีเมนต์เร่งพัฒนาระบบน้ำคลองแสนแสบ ชี้ย่านวัดศรีบุญเรือง ยังไม่ได้บำบัด ตรวจพบตะกอนจำนวนมาก ส่งผลต่อการขุดลอก ด้านสภาพน้ำดีไม่เกินค่ามาตรฐาน
วันนี้ (6 ส.ค.) นายณรงค์ จิรสรรพคุณากร ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบทุกสัปดาห์ พบว่าในปีนี้คุณภาพน้ำดีขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากมีการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงคลอง ทั้งนี้คลองแสนแสบมีระยะทาง 88 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ กทม.45 กิโลเมตร และพบว่ามีพื้นที่ที่มีปัญหาคุณภาพน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ตั้งแต่ประตูน้ำ-วัดศรีบุญเรือง เนื่องจากยังไม่มีการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย จึงพบตะกอนที่อยู่ในน้ำจำนวนมาก ไม่สามารถขุดลอกได้ ส่วนในพื้นที่อื่นน้ำยังมีสภาพดี ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่จะพบเป็นตะกอนแขวนลอยสีดำ ซึ่งสามารถขุดลอกได้
นายณรงค์ กล่าวว่า สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาคุณภาพน้ำจากตะกอน โดยค้นพบว่าปูนซีเมนต์ สามารถจับตะกอนในน้ำได้ โดยทำการทดลองในถัง ใส่น้ำตัวอย่างจากคลองแสนแสบลงไป แล้วเทปูนซีเมนต์ จากนั้นคนให้ตะกอนฟุ้ง แล้วทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง พบว่าเกิดการจับตะกอนเป็นก้อน สามารถช้อนตักขึ้นมาได้ ต่อมาได้ทำการทดลองในคูน้ำ ซึ่งก็ได้ผลใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในคลองแสนแสบได้ เนื่องจากในน้ำมีค่าออกซิเจนต่ำมาก ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร หมายความว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เพราะโดยทั่วไปค่าออกซิเจนละลายน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นการนำปูนซีเมนต์เทลงไปในน้ำ และพบว่าค่ากรดด่างในน้ำ (ph) มีค่าเป็น ph9 ซึ่งหมายถึงน้ำเป็นด่าง สิ่งมีชีวิตน้ำไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จึงไม่มีผลกระทบต่อการนำปูนซีเมนต์มาใช้ในคลองแสนแสบ ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แล้ว
“ขณะนี้ได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่ระหว่างคิดค้นเครื่องมือที่จะดึงน้ำในคลองแสนแสบขึ้นมาแยกกรองตะกอน แล้วปล่อยกลับลงไป” นายณรงค์ กล่าวและว่า อีกวิธีที่จะทำให้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบลดลง คือการบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงคลอง โดยเฉพาะคลองสาขา ที่ต้องมีการจัดการก่อนปล่อยลงคลองแสนแสบ ซึ่งได้ปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติมที่คลองเป้ง ซอยเอกมัย และคูน้ำต่อศักดิ์ ซอยสุขุมวิท
วันนี้ (6 ส.ค.) นายณรงค์ จิรสรรพคุณากร ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบทุกสัปดาห์ พบว่าในปีนี้คุณภาพน้ำดีขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากมีการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงคลอง ทั้งนี้คลองแสนแสบมีระยะทาง 88 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ กทม.45 กิโลเมตร และพบว่ามีพื้นที่ที่มีปัญหาคุณภาพน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ตั้งแต่ประตูน้ำ-วัดศรีบุญเรือง เนื่องจากยังไม่มีการจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย จึงพบตะกอนที่อยู่ในน้ำจำนวนมาก ไม่สามารถขุดลอกได้ ส่วนในพื้นที่อื่นน้ำยังมีสภาพดี ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่จะพบเป็นตะกอนแขวนลอยสีดำ ซึ่งสามารถขุดลอกได้
นายณรงค์ กล่าวว่า สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาคุณภาพน้ำจากตะกอน โดยค้นพบว่าปูนซีเมนต์ สามารถจับตะกอนในน้ำได้ โดยทำการทดลองในถัง ใส่น้ำตัวอย่างจากคลองแสนแสบลงไป แล้วเทปูนซีเมนต์ จากนั้นคนให้ตะกอนฟุ้ง แล้วทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง พบว่าเกิดการจับตะกอนเป็นก้อน สามารถช้อนตักขึ้นมาได้ ต่อมาได้ทำการทดลองในคูน้ำ ซึ่งก็ได้ผลใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในคลองแสนแสบได้ เนื่องจากในน้ำมีค่าออกซิเจนต่ำมาก ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร หมายความว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เพราะโดยทั่วไปค่าออกซิเจนละลายน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นการนำปูนซีเมนต์เทลงไปในน้ำ และพบว่าค่ากรดด่างในน้ำ (ph) มีค่าเป็น ph9 ซึ่งหมายถึงน้ำเป็นด่าง สิ่งมีชีวิตน้ำไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จึงไม่มีผลกระทบต่อการนำปูนซีเมนต์มาใช้ในคลองแสนแสบ ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แล้ว
“ขณะนี้ได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่ระหว่างคิดค้นเครื่องมือที่จะดึงน้ำในคลองแสนแสบขึ้นมาแยกกรองตะกอน แล้วปล่อยกลับลงไป” นายณรงค์ กล่าวและว่า อีกวิธีที่จะทำให้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบลดลง คือการบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงคลอง โดยเฉพาะคลองสาขา ที่ต้องมีการจัดการก่อนปล่อยลงคลองแสนแสบ ซึ่งได้ปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติมที่คลองเป้ง ซอยเอกมัย และคูน้ำต่อศักดิ์ ซอยสุขุมวิท