สปส.ชี้ถ้าให้รัฐบาลจ่ายสมทบประกันสังคมเพิ่มเป็นร้อยละ 5 ต้องดูความจำเป็น-เหตุผลของสิทธิประโยชน์แต่ละกรณี เชื่อต้องคุยกันยาว แจงเพิ่มสิทธิประโยชน์ต้องค่อยเป็นค่อยไป หวั่นกระทบสถานะทางการเงินของกองทุน ยอมรับบัตรใบเดียวรักษาเข้ารักษาทุก รพ.ในระบบประกันสังคมทำยาก ห่วงงบค่ารักษาบานปลาย
วันนี้ (5 ส.ค.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.)ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงผลสำรวจของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีที่ขอเสนอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบจากปัจจุบัน 2.75% เพิ่มเป็น 5% และอยากให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทันทีเมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งอยากให้ออกบัตรรับรองสิทธิใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมว่า หากจะมีการเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเป็นร้อยละ 5 นั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาหารือกันและไปหารือกับรัฐบาล โดยดูเหตุผลและความจำเป็นในสิทธิประโยชน์แต่ละกรณี ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลจ่ายเงินสมทบ 2.75% นั้น แยกออกเป็นจ่ายสมทบในสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตรในสัดส่วน 1.5% เท่ากับนายจ้างและลูกจ้าง แต่สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายฝ่ายละ 3% ขณะที่รัฐบาลจ่าย 1% และกรณีว่างงานนายจ้างและลูกจ้างจ่ายฝ่ายละ 0.5% และรัฐบาลจ่าย 0.25% แต่บางประเทศรัฐบาลไม่ได้ร่วมจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตรให้เลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ประธานบอร์ด สปส.กล่าวอีกว่า ส่วนการที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ นั้น ที่ผ่านมา สปส.ยึดหลักในสองเรื่องคือ ผู้ประกันตนต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะด้านการเงินของกองทุนประกันสังคมในระยะยาว ดังนั้น การเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่ละกรณีของ สปส.จึงต้องดำเนินการอย่างค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป โดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็น เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของกองทุน ทั้งนี้ ขณะนี้สปส.กำลังศึกษาเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ อยู่ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ในบางกรณีตนเห็นด้วย เช่น กรณีเจ็บป่วยเมื่อเข้าเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนแล้ว ก็ควรสามารถใช้สิทธิได้ทันที เพราะเป็นเหตุจำเป็น หรือกรณีแรงงานต่างด้าวเมื่อครบกำหนดทำงานในไทย 4 ปี เมื่อกลับประเทศก็ควรจ่ายให้เป็นเงินบำเหน็จ
นอกจากนี้ ในเรื่องการออกบัตรรับรองสิทธิใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรดำเนินการ เพราะระบบรักษาพยาบาลของ สปส.ใช้วิธีจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายโดยให้ผู้ประกันตนแต่ละคนมีโรงพยาบาลประจำของตนเองที่สามารถรักษาพยาบาลได้เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ หากให้ใช้บัตรใบเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาลเกรงจะเกิดปัญหาผู้ประกันตนไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายแห่งและสปส.จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่ไหว ซึ่งมีบทเรียนจากกองทุนสุขภาพในหลายประเทศมาแล้ว
“ปัจจุบัน สปส.เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนที่เคลื่อนย้ายไปทำงานนอกภูมิลำเนา เช่น บ้านอยู่ต่างจังหวัดแต่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ว่าจะเลือกโรงพยาบาลใกล้ที่ทำงานในกรุงเทพฯ หรือโรงพยาบาลในภูมิลำเนา รวมทั้งที่ผ่านมา สปส.พยายามสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลโดยยึดตามสังกัด เช่น โรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โรงพยาบาลสังกัด กทม.เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ขณะนี้ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพไม่ว่าจะเป็นกองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ได้มีระบบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินร่วมกันโดยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล หากผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉินก็ใช้บริการได้” นพ.สมเกียรติ กล่าว
วันนี้ (5 ส.ค.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.)ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงผลสำรวจของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีที่ขอเสนอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบจากปัจจุบัน 2.75% เพิ่มเป็น 5% และอยากให้เพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทันทีเมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งอยากให้ออกบัตรรับรองสิทธิใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมว่า หากจะมีการเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเป็นร้อยละ 5 นั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาหารือกันและไปหารือกับรัฐบาล โดยดูเหตุผลและความจำเป็นในสิทธิประโยชน์แต่ละกรณี ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลจ่ายเงินสมทบ 2.75% นั้น แยกออกเป็นจ่ายสมทบในสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตรในสัดส่วน 1.5% เท่ากับนายจ้างและลูกจ้าง แต่สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายฝ่ายละ 3% ขณะที่รัฐบาลจ่าย 1% และกรณีว่างงานนายจ้างและลูกจ้างจ่ายฝ่ายละ 0.5% และรัฐบาลจ่าย 0.25% แต่บางประเทศรัฐบาลไม่ได้ร่วมจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตรให้เลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ประธานบอร์ด สปส.กล่าวอีกว่า ส่วนการที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีต่างๆ นั้น ที่ผ่านมา สปส.ยึดหลักในสองเรื่องคือ ผู้ประกันตนต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะด้านการเงินของกองทุนประกันสังคมในระยะยาว ดังนั้น การเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่ละกรณีของ สปส.จึงต้องดำเนินการอย่างค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป โดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็น เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของกองทุน ทั้งนี้ ขณะนี้สปส.กำลังศึกษาเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ อยู่ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ในบางกรณีตนเห็นด้วย เช่น กรณีเจ็บป่วยเมื่อเข้าเป็นผู้ประกันตนและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนแล้ว ก็ควรสามารถใช้สิทธิได้ทันที เพราะเป็นเหตุจำเป็น หรือกรณีแรงงานต่างด้าวเมื่อครบกำหนดทำงานในไทย 4 ปี เมื่อกลับประเทศก็ควรจ่ายให้เป็นเงินบำเหน็จ
นอกจากนี้ ในเรื่องการออกบัตรรับรองสิทธิใบเดียวสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้กับทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรดำเนินการ เพราะระบบรักษาพยาบาลของ สปส.ใช้วิธีจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายโดยให้ผู้ประกันตนแต่ละคนมีโรงพยาบาลประจำของตนเองที่สามารถรักษาพยาบาลได้เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ หากให้ใช้บัตรใบเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาลเกรงจะเกิดปัญหาผู้ประกันตนไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายแห่งและสปส.จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่ไหว ซึ่งมีบทเรียนจากกองทุนสุขภาพในหลายประเทศมาแล้ว
“ปัจจุบัน สปส.เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนที่เคลื่อนย้ายไปทำงานนอกภูมิลำเนา เช่น บ้านอยู่ต่างจังหวัดแต่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ว่าจะเลือกโรงพยาบาลใกล้ที่ทำงานในกรุงเทพฯ หรือโรงพยาบาลในภูมิลำเนา รวมทั้งที่ผ่านมา สปส.พยายามสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลโดยยึดตามสังกัด เช่น โรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โรงพยาบาลสังกัด กทม.เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ขณะนี้ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพไม่ว่าจะเป็นกองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ได้มีระบบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินร่วมกันโดยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล หากผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉินก็ใช้บริการได้” นพ.สมเกียรติ กล่าว