“เฉลิม”ขอความร่วมมือผู้ประกอบการประมง ช่วยแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ พร้อมประชาสัมพันธ์ให้นานาประเทศรับทราบไทยมุ่งแก้ปัญหาจริงจัง ด้านสมาคมประมงยอมรับมีปัญหาแต่แค่ 2-3% หนุนจับกุมนายจ้างทำผิด เล็งขึ้นทะเบียนนายจ้าง-ลูกจ้างป้องกันค้ามนุษย์
วันนี้ (31 ก.ค.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.) กล่าวในการเป็นประธานการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนและรวมพลังขับเคลื่อนนโยบายแรงงาน แก่ผู้ประกอบการประมงทะเลและเรือเดินทะเลใน 22 จังหวัดซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 300 คนที่กระทรวงแรงงานว่า หากผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหากรณีประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกากล่าวหาว่าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับระดับ 2 เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ก็เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ซึ่งการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และยาเสพติด หากใช้เพียงกฎหมายในการแก้ปัญหาอย่างเดียวจะไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการประมง ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าผู้ประกอบการไม่มีพฤติกรรมค้ามนุษย์อย่างแน่นอนแต่พวกลูกน้องที่จัดหาแรงงานอาจจะหลอกลวงคนมาและเก็บค่าหัวคิวโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบ จึงอยากให้ช่วยดูแลในจุดนี้ รวมทั้งขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องที่ไทยพยายามดำเนินการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ให้นานาประเทศได้รับทราบ โดยเฉพาะแรงงานบังคับหรือการค้าประเวณีที่เหลือน้อยมาก เพื่อป้องกันสินค้าไทยถูกกีดกันทางการค้าจากคู่ค้าต่างประเทศ
“หากผู้ประกอบการไม่ร่วมมือการแก้ปัญหาค้ามนุษย์คงไม่มีทางสำเร็จเพราะกระทรวงทำงานโดยลำพังไม่ได้ และจะทำให้ประเทศไทยพังทั้งระบบเพราะผู้ประกอบการขายสินค้าไม่ได้ แรงงานตกงานก็จะส่งผลให้รัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้และจะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและสังคม ขอให้ผู้ที่ทำผิดอยู่ยุติและเริ่มต้นใหม่ โดยการทำงานร่วมกันกับลูกจ้างอย่างราบรื่น ไม่มีการกดขี่ข่มเหง และขอฝากผู้ประกอบการประมงให้นำเรื่องการแก้ปัญหาไปหารือในกลุ่มสมาชิกของตนเอง และเสนอมายังกระทรวงแรงงานให้พิจารณาแก้ไข เพราะแนวคิดหรือมาตรการแก้ปัญหาของกระทรวงแรงงานอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด” รมว.แรงงาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีองค์กรต่างประเทศเผยแพร่สารคดีการค้ามนุษย์ในไทยนั้น รมว.แรงงานได้มอบหมายให้พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา เลขานุการรมว.แรงงานไปตรวจสอบในเรื่องนี้โดยเฉพาะการใช้แรงงานประมงในจ.ตรังและหากพบว่าผู้ประกอบการกระทำผิดจริงก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเต็มที่
นายภูเบศ จันทนิมิ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีองค์กรต่างประเทศเผยแพร่สารคดีการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทยที่จ.ตรังนั้น ช่วงหลายปีที่ผ่านมาสมาคมฯได้ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ)ในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่องและพาผู้แทนไอแอลโอลงไปดูในเรือประมงว่ามีการทำงานและสภาพความเป็นอยู่อย่างไรเพื่อยืนยันว่าธุรกิจประมงไม่ได้ค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงาน และได้ขอให้ไอแอลโอช่วยชี้แจงทำความเข้าใจกับประเทศต่างๆด้วย และสมาคมฯ ยินดีให้ความร่วมมือและพร้อมให้หน่วยงานรัฐเข้ามาตรวจสอบในเรื่องการใช้แรงงานของภาคประมงอย่างเต็มที่ เพราะหากประเทศไทยถูกลดระดับลงเป็นระดับที่ 3 ของบัญชีการค้ามนุษย์ คือเป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับรุนแรงก็จะส่งผลต่อการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประมงที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก
"ภาครัฐต้องยอมรับความจริงถึงปัญหาการค้ามนุษย์และขอให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการประมงในการแก้ปัญหาโดยเปิดเวทีหารือถึงปัญหาที่ยังคั่งค้างมาพูดคุยและหามาตรการแก้ไขร่วมกันเพราะเพียงแค่มีข่าวออกมา การดำเนินการของผู้ประกอบการก็เป็นไปด้วยความยากลำบากกระทั่งกลายเป็นจำเลยของสังคม สมาคมฯ สนับสนุนการเนินการจับกุมนายจ้างที่มีส่วนในเรื่องการค้ามนุษย์เต็มที่เพราะส่วนที่มีการค้ามนุษย์นั้นเป็นส่วนน้อยของธุรกิจประมง มีแค่ 2-3% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด ขออย่ามองแบบเหมารวมว่าไม่ดีไปทั้งหมดเพราะผู้ประกอบการกว่า 90% จ้างและใช้แรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราต้องช่วยกันหาคนผิด เพราะหากยังไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้ จะส่งผลเสียต่อธุรกิจประมงในภาพรวม " นายภูเบศกล่าว
นายภูเบศ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้สมาคมมีแนวคิดในการขึ้นทะเบียนนายจ้างและลูกจ้างในกิจการประมง เพื่อให้ทราบว่าลูกจ้างคนนี้เป็นแรงงานของเรือลำไหนหรือนายจ้างคนใด รวมทั้งยังจะแก้ปัญหาเรื่องลูกจ้างหนีไปทำงานกับเรือลำอื่นด้วยเพราะเมื่อนายจ้างนำลูกจ้างไปขึ้นทะเบียนก็จะทราบทันทีว่าลูกจ้างคนนี้หนีมาจากนายจ้างคนใด
วันนี้ (31 ก.ค.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.) กล่าวในการเป็นประธานการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนและรวมพลังขับเคลื่อนนโยบายแรงงาน แก่ผู้ประกอบการประมงทะเลและเรือเดินทะเลใน 22 จังหวัดซึ่งมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 300 คนที่กระทรวงแรงงานว่า หากผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหากรณีประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกากล่าวหาว่าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับระดับ 2 เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ก็เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ซึ่งการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และยาเสพติด หากใช้เพียงกฎหมายในการแก้ปัญหาอย่างเดียวจะไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการประมง ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าผู้ประกอบการไม่มีพฤติกรรมค้ามนุษย์อย่างแน่นอนแต่พวกลูกน้องที่จัดหาแรงงานอาจจะหลอกลวงคนมาและเก็บค่าหัวคิวโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบ จึงอยากให้ช่วยดูแลในจุดนี้ รวมทั้งขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องที่ไทยพยายามดำเนินการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ให้นานาประเทศได้รับทราบ โดยเฉพาะแรงงานบังคับหรือการค้าประเวณีที่เหลือน้อยมาก เพื่อป้องกันสินค้าไทยถูกกีดกันทางการค้าจากคู่ค้าต่างประเทศ
“หากผู้ประกอบการไม่ร่วมมือการแก้ปัญหาค้ามนุษย์คงไม่มีทางสำเร็จเพราะกระทรวงทำงานโดยลำพังไม่ได้ และจะทำให้ประเทศไทยพังทั้งระบบเพราะผู้ประกอบการขายสินค้าไม่ได้ แรงงานตกงานก็จะส่งผลให้รัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้และจะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและสังคม ขอให้ผู้ที่ทำผิดอยู่ยุติและเริ่มต้นใหม่ โดยการทำงานร่วมกันกับลูกจ้างอย่างราบรื่น ไม่มีการกดขี่ข่มเหง และขอฝากผู้ประกอบการประมงให้นำเรื่องการแก้ปัญหาไปหารือในกลุ่มสมาชิกของตนเอง และเสนอมายังกระทรวงแรงงานให้พิจารณาแก้ไข เพราะแนวคิดหรือมาตรการแก้ปัญหาของกระทรวงแรงงานอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด” รมว.แรงงาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีองค์กรต่างประเทศเผยแพร่สารคดีการค้ามนุษย์ในไทยนั้น รมว.แรงงานได้มอบหมายให้พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา เลขานุการรมว.แรงงานไปตรวจสอบในเรื่องนี้โดยเฉพาะการใช้แรงงานประมงในจ.ตรังและหากพบว่าผู้ประกอบการกระทำผิดจริงก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเต็มที่
นายภูเบศ จันทนิมิ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีองค์กรต่างประเทศเผยแพร่สารคดีการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทยที่จ.ตรังนั้น ช่วงหลายปีที่ผ่านมาสมาคมฯได้ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ)ในการแก้ปัญหาค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่องและพาผู้แทนไอแอลโอลงไปดูในเรือประมงว่ามีการทำงานและสภาพความเป็นอยู่อย่างไรเพื่อยืนยันว่าธุรกิจประมงไม่ได้ค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงาน และได้ขอให้ไอแอลโอช่วยชี้แจงทำความเข้าใจกับประเทศต่างๆด้วย และสมาคมฯ ยินดีให้ความร่วมมือและพร้อมให้หน่วยงานรัฐเข้ามาตรวจสอบในเรื่องการใช้แรงงานของภาคประมงอย่างเต็มที่ เพราะหากประเทศไทยถูกลดระดับลงเป็นระดับที่ 3 ของบัญชีการค้ามนุษย์ คือเป็นประเทศที่มีการค้ามนุษย์ในระดับรุนแรงก็จะส่งผลต่อการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประมงที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก
"ภาครัฐต้องยอมรับความจริงถึงปัญหาการค้ามนุษย์และขอให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการประมงในการแก้ปัญหาโดยเปิดเวทีหารือถึงปัญหาที่ยังคั่งค้างมาพูดคุยและหามาตรการแก้ไขร่วมกันเพราะเพียงแค่มีข่าวออกมา การดำเนินการของผู้ประกอบการก็เป็นไปด้วยความยากลำบากกระทั่งกลายเป็นจำเลยของสังคม สมาคมฯ สนับสนุนการเนินการจับกุมนายจ้างที่มีส่วนในเรื่องการค้ามนุษย์เต็มที่เพราะส่วนที่มีการค้ามนุษย์นั้นเป็นส่วนน้อยของธุรกิจประมง มีแค่ 2-3% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด ขออย่ามองแบบเหมารวมว่าไม่ดีไปทั้งหมดเพราะผู้ประกอบการกว่า 90% จ้างและใช้แรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราต้องช่วยกันหาคนผิด เพราะหากยังไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้ จะส่งผลเสียต่อธุรกิจประมงในภาพรวม " นายภูเบศกล่าว
นายภูเบศ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้สมาคมมีแนวคิดในการขึ้นทะเบียนนายจ้างและลูกจ้างในกิจการประมง เพื่อให้ทราบว่าลูกจ้างคนนี้เป็นแรงงานของเรือลำไหนหรือนายจ้างคนใด รวมทั้งยังจะแก้ปัญหาเรื่องลูกจ้างหนีไปทำงานกับเรือลำอื่นด้วยเพราะเมื่อนายจ้างนำลูกจ้างไปขึ้นทะเบียนก็จะทราบทันทีว่าลูกจ้างคนนี้หนีมาจากนายจ้างคนใด