“จาตุรนต์” จ่อรื้อเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครูใหม่ มุ่งที่ผลสัมฤทธิ์ของ นร.ที่สูงขึ้น ชี้อาจปรับสัดส่วนประเมินจาก 20% เป็น 50% เตรียมทำความเข้าใจต่อ ผอ.เขตฯ ครู และสร้างแรงจูงใจให้ครูมุ่งพัฒนาตนเพื่อเด็กไม่ใช่เพื่อความมั่นคงตัวเองเท่านั้น ขณะที่ สพฐ.พร้อมสนองนโยบายหากปรับสัดส่วนประเมินผลสัมฤทธิ์เด็กเป็น 50% เตรียมเสนอ TPK โมลเดลที่ทำร่วมกับ สสวท.ต่อ รมว.ศึกษาใน ก.ค.ศ.คราวหน้า
วันนี้ (31 ก.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้มอบนโยบายให้ ก.ค.ศ.ไปดำเนินการใน 2-3 ประเด็น ได้แก่ การปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่มุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้มากขึ้น โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปคิดหลักเกณฑ์และวิธีการในส่วนนี้และจะต้องหาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยกันคิดเพื่อให้ค่าน้ำหนักในหลักเกณฑ์การประเมินใหม่ที่จะจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีขึ้น ไม่ใช่เฉพาะประเมินวิทยฐานะเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวิชาชีพครูเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น ได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปพิจารณาเพื่อให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษ าพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายหรือให้ความดีความชอบของครูจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนและผู้เรียนมากขึ้น
“หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะของก.ค.ศ.ควรมีข้อตกลงกับผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อให้ ผอ.สพท.ให้ความสนใจ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาให้ดีขึ้นและที่สำคัญต้องไม่ทอดทิ้งให้โรงเรียนจำนวนมากมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในภาพรวมของการประเมินวิทยฐานะทั้งหมดจะต้องมีการปรับ ซึ่งในส่วนของสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่จะนำมาใช้จะต้องมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นในเบื้องต้นควรจะต้องเพิ่มเป็นอย่างน้อยประมาณ 50% จากปัจจุบันที่มีการใช้สัดส่วนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาประเมินวิทยฐานะประมาณ 10-20% เท่านั้น ทั้งนี้ หากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) สูงขึ้นผลสัมฤทธิ์ของครูก็ต้องย่อมดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนี้ค่อนข้างมาก ฉะนั้นจะต้องทำให้ทั้งระบบให้ความสนใจและเข้าใจกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งหากทุกส่วนเข้าใจแล้วจะทำให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปเตรียมวางแผนรองรับกรณีที่จะมีข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการจำนวนมากในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ประสบภาวะขาดแคลนครูจำนวนมากในภาพรวมและรายสาขาวิชาเอก อีกทั้งสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และไม่นานนี้น่าจะมีภาวะที่นักเรียนลดน้อยลงอย่างมาก สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องไปวิเคราะห์และหาข้อมูลวางแผนการจัดสรรบุคลากรรองรับ
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้พัฒนาเครื่องมือและหลักเกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะครู ตามหลักการที่ ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบการให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะด้วยการประเมินสมรรถนะ หรือ TPK โมเดล ร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสาระดังกล่าว จนมีความพร้อมใกล้เสร็จสมบูรณ์ใน 3 กลุ่มสาระ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งการประเมินสมรรถนะแบบ TPK โมเดลที่ สพฐ.เสนอจะมี 2 องค์ประกอบหลักคือ สมรรถนะของครูและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่มาจากการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลการวิจัยที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เคยนำเสนอว่าเป็นตัวพยากรณ์และชี้ขาดคุณภาพครูที่ชัดเจนที่สุด สำหรับส่วนสัดส่วนในการพิจารณานั้นที่ผ่านมาเรานำคะแนนการเรียนต่อ ม.1 และ ม.4 ของนักเรียนมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา 20% แต่ถ้า รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายต้องการให้ครูรับผิดชอบในผลการเรียนของนักเรียนมากขึ้นก็สามารถปรับเพิ่มสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมากขึ้น โดยอาจจะใช้สัดส่วนเป็น 50:50 ซึ่งถ้านโยบายไฟเขียวให้เดินหน้า สพฐ.จะพัฒนาเครื่องมือและเกณฑ์ในการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ มอบให้ สพฐ.รายงานความคืบหน้ารูปแบบและแนวทางการประเมินดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้ในการประชุมเดือน ส.ค.นี้
วันนี้ (31 ก.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้มอบนโยบายให้ ก.ค.ศ.ไปดำเนินการใน 2-3 ประเด็น ได้แก่ การปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่มุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้มากขึ้น โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปคิดหลักเกณฑ์และวิธีการในส่วนนี้และจะต้องหาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยกันคิดเพื่อให้ค่าน้ำหนักในหลักเกณฑ์การประเมินใหม่ที่จะจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีขึ้น ไม่ใช่เฉพาะประเมินวิทยฐานะเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวิชาชีพครูเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น ได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปพิจารณาเพื่อให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษ าพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายหรือให้ความดีความชอบของครูจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนและผู้เรียนมากขึ้น
“หลักเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะของก.ค.ศ.ควรมีข้อตกลงกับผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อให้ ผอ.สพท.ให้ความสนใจ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาให้ดีขึ้นและที่สำคัญต้องไม่ทอดทิ้งให้โรงเรียนจำนวนมากมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในภาพรวมของการประเมินวิทยฐานะทั้งหมดจะต้องมีการปรับ ซึ่งในส่วนของสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่จะนำมาใช้จะต้องมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นในเบื้องต้นควรจะต้องเพิ่มเป็นอย่างน้อยประมาณ 50% จากปัจจุบันที่มีการใช้สัดส่วนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาประเมินวิทยฐานะประมาณ 10-20% เท่านั้น ทั้งนี้ หากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) สูงขึ้นผลสัมฤทธิ์ของครูก็ต้องย่อมดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนี้ค่อนข้างมาก ฉะนั้นจะต้องทำให้ทั้งระบบให้ความสนใจและเข้าใจกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งหากทุกส่วนเข้าใจแล้วจะทำให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้มอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปเตรียมวางแผนรองรับกรณีที่จะมีข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการจำนวนมากในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ประสบภาวะขาดแคลนครูจำนวนมากในภาพรวมและรายสาขาวิชาเอก อีกทั้งสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และไม่นานนี้น่าจะมีภาวะที่นักเรียนลดน้อยลงอย่างมาก สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องไปวิเคราะห์และหาข้อมูลวางแผนการจัดสรรบุคลากรรองรับ
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.ได้พัฒนาเครื่องมือและหลักเกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะครู ตามหลักการที่ ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบการให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะด้วยการประเมินสมรรถนะ หรือ TPK โมเดล ร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสาระดังกล่าว จนมีความพร้อมใกล้เสร็จสมบูรณ์ใน 3 กลุ่มสาระ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งการประเมินสมรรถนะแบบ TPK โมเดลที่ สพฐ.เสนอจะมี 2 องค์ประกอบหลักคือ สมรรถนะของครูและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่มาจากการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลการวิจัยที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เคยนำเสนอว่าเป็นตัวพยากรณ์และชี้ขาดคุณภาพครูที่ชัดเจนที่สุด สำหรับส่วนสัดส่วนในการพิจารณานั้นที่ผ่านมาเรานำคะแนนการเรียนต่อ ม.1 และ ม.4 ของนักเรียนมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา 20% แต่ถ้า รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายต้องการให้ครูรับผิดชอบในผลการเรียนของนักเรียนมากขึ้นก็สามารถปรับเพิ่มสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมากขึ้น โดยอาจจะใช้สัดส่วนเป็น 50:50 ซึ่งถ้านโยบายไฟเขียวให้เดินหน้า สพฐ.จะพัฒนาเครื่องมือและเกณฑ์ในการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ มอบให้ สพฐ.รายงานความคืบหน้ารูปแบบและแนวทางการประเมินดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้ในการประชุมเดือน ส.ค.นี้