สธ.สั่งตั้งคณะกรรมการประเมินลูกจ้างชั่วคราว เข้าสู่การเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ให้เวลา 27 ส.ค.ก่อนสัญญาจ้างมีผล 1 ต.ค.ระบุต้องมีคะแนนประเมินเกิน 70% หากไม่ผ่านอาจมีสิทธิเลิกจ้าง หรือจ้างด้วยวิธีอื่น ส่วนภูมิภาคมอบ สสจ. ผอ.รพศ./รพท. ผอ.วิทยาลัยการพยาบาล/สาธารณสุขประเมิน ฟุ้งปรับค่าประสบการณ์ 5% ทุก 2 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจระเบียบ หลักเกณฑ์การจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข หลังออกระเบียบและประกาศเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2556 ว่า ส่วนราชการต้องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมินฯ ลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงตามหลักเกณฑ์ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 ส.ค.นี้ และให้สัญญาจ้างมีผลวันที่ 1 ต.ค. 2556 โดยขณะนี้ สธ.มีลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 117,000 ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตนได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 7 ฉบับ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ประกอบด้วย 1.หลักเกณฑ์ว่าด้วยการประเมินลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 2. การกำหนดประเภทตำแหน่ง ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่ม และการจัดกรอบอัตรากำลัง 3.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข การสรรหาและการเลือกสรร รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง 4.ค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 5.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ 6.สิทธิประโยชน์ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป และ 7.หลักเกณฑ์การลาออกจากการปฏิบัติงานในระหว่างสัญญาจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า พนักงานกระทรวงสาธารณสุข มี 2 ประเภท คือพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ได้แก่ พนักงานซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนทั่วไปของหน่วยบริการในด้านงานเทคนิค งานบริการ งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพิเศษ ได้แก่ พนักงานซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของหน่วยบริการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว และไม่สามารถหาผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมในหน่วยบริการได้ โดย สธ.ได้ทำบัญชีตำแหน่งไว้ 128 สายงาน แยกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะงาน ดังนี้ 1.กลุ่มเทคนิค บริการ และบริหารทั่วไป เช่น นิติกร นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการเงินและบัญชี นักจัดการงานทั่วไป พนักงานประจำตึก พนักงานพิมพ์ เป็นต้น 2.กลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงาน ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น และ 3.กลุ่มเชี่ยวชาญ
“สำหรับการจ้างได้ให้จ้างตามกรอบอัตรากำลัง โดยต้องคำนึงถึงภารกิจ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการ ที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อการให้บริการสุขภาพของประชาชน ภายใต้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (กพส.) ทั้งนี้ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขสามารถย้ายสถานที่ปฏิบัติงานภายในกรมเดียวกันได้ โดยยึดประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.กล่าวว่า ลูกจ้างชั่วคราวที่จะเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงฯ หรือเงินรายได้การศึกษา ที่จ้างไว้เป็นรายเดือน และต้องมีชื่อตำแหน่งตามที่ กพส.ได้จัดระบบตำแหน่งไว้ 128 สายงาน โดย กพส.มีวิธีดำเนินการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ประเมินโดยผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้รับการประเมิน คะแนนเต็ม 50 คะแนน และ 2.ประเมินในรูปคณะกรรมการของส่วนราชการ โดยวิธีสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 50 คะแนน ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินหน่วยบริการอาจเลิกจ้างหรือกำหนดวิธีการจ้างด้วยวิธีอื่นแทน
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สธ.ได้มอบอำนาจการประเมินลูกจ้างชั่วคราว ให้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ส่วนราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค มอบให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯและผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขเป็นผู้ประเมิน โดยการนับค่าประสบการณ์ หน่วยบริการที่มีการจ้างลูกจ้างชั่วคราวที่มีลักษณะงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบตรงกับตำแหน่งพนักงานกระทรวง จะได้รับการปรับเงินค่าประสบการณ์ ร้อยละ 5 ต่อทุกประสบการณ์ 2 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจระเบียบ หลักเกณฑ์การจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข หลังออกระเบียบและประกาศเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2556 ว่า ส่วนราชการต้องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมินฯ ลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงตามหลักเกณฑ์ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 ส.ค.นี้ และให้สัญญาจ้างมีผลวันที่ 1 ต.ค. 2556 โดยขณะนี้ สธ.มีลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 117,000 ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตนได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 7 ฉบับ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ประกอบด้วย 1.หลักเกณฑ์ว่าด้วยการประเมินลูกจ้างชั่วคราวเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 2. การกำหนดประเภทตำแหน่ง ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่ม และการจัดกรอบอัตรากำลัง 3.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข การสรรหาและการเลือกสรร รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง 4.ค่าจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 5.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ 6.สิทธิประโยชน์ของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป และ 7.หลักเกณฑ์การลาออกจากการปฏิบัติงานในระหว่างสัญญาจ้างของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า พนักงานกระทรวงสาธารณสุข มี 2 ประเภท คือพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ได้แก่ พนักงานซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนทั่วไปของหน่วยบริการในด้านงานเทคนิค งานบริการ งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุขพิเศษ ได้แก่ พนักงานซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของหน่วยบริการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว และไม่สามารถหาผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมในหน่วยบริการได้ โดย สธ.ได้ทำบัญชีตำแหน่งไว้ 128 สายงาน แยกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะงาน ดังนี้ 1.กลุ่มเทคนิค บริการ และบริหารทั่วไป เช่น นิติกร นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการเงินและบัญชี นักจัดการงานทั่วไป พนักงานประจำตึก พนักงานพิมพ์ เป็นต้น 2.กลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงาน ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น และ 3.กลุ่มเชี่ยวชาญ
“สำหรับการจ้างได้ให้จ้างตามกรอบอัตรากำลัง โดยต้องคำนึงถึงภารกิจ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการ ที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อการให้บริการสุขภาพของประชาชน ภายใต้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (กพส.) ทั้งนี้ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขสามารถย้ายสถานที่ปฏิบัติงานภายในกรมเดียวกันได้ โดยยึดประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.กล่าวว่า ลูกจ้างชั่วคราวที่จะเข้าสู่ตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงฯ หรือเงินรายได้การศึกษา ที่จ้างไว้เป็นรายเดือน และต้องมีชื่อตำแหน่งตามที่ กพส.ได้จัดระบบตำแหน่งไว้ 128 สายงาน โดย กพส.มีวิธีดำเนินการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ประเมินโดยผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้รับการประเมิน คะแนนเต็ม 50 คะแนน และ 2.ประเมินในรูปคณะกรรมการของส่วนราชการ โดยวิธีสัมภาษณ์ คะแนนเต็ม 50 คะแนน ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินหน่วยบริการอาจเลิกจ้างหรือกำหนดวิธีการจ้างด้วยวิธีอื่นแทน
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สธ.ได้มอบอำนาจการประเมินลูกจ้างชั่วคราว ให้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ส่วนราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค มอบให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯและผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขเป็นผู้ประเมิน โดยการนับค่าประสบการณ์ หน่วยบริการที่มีการจ้างลูกจ้างชั่วคราวที่มีลักษณะงาน/หน้าที่ความรับผิดชอบตรงกับตำแหน่งพนักงานกระทรวง จะได้รับการปรับเงินค่าประสบการณ์ ร้อยละ 5 ต่อทุกประสบการณ์ 2 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี