กรมอนามัยเผยเด็ก ป.6 เคยฟันผุถึง 52.3% ชี้ฟันผุในเด็กทำให้เกิดการสูญเสียฟัน และอาจสะสมจนเสียฟันหมดทั้งปากในวัยสูงอายุ เหตุกินน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบมาก แนะป้องกันแต่แรกช่วยลดปัญหาได้ พร้อมเปิดเวทีประชุมวิชาการนำเสนอผลงานช่วยแก้ปัญหา
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2556 “มหกรรมตำบลฟันดี” ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกกลุ่มอายุ แต่การเข้าถึงบริการมีข้อจำกัด ทั้งนี้ สุขภาพช่องปากที่ดีมีผลต่อระบบร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยจะมีผลต่อพัฒนาการสมวัย หากป้องกันปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยเด็กได้ โอกาสเกิดปัญหาของโรคในช่องปากในวัยที่สูงขึ้นจะลดลง สำหรับสาเหตุของโรคในช่องปากมาจากการขาดทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และจากพฤติกรรมการบริโภค การแก้ปัญหาจึงต้องขยายขอบเขตการทำงานโดยบูรณาการร่วมกับงานสุขภาพอื่นๆ อย่างเป็นองค์รวม
นพ.ธีรพล กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ปี 2548 กรมอนามัย ได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น รวมถึงจัดการความรู้เพื่อให้เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในระดับตำบล ภายใต้แนวคิด “ตำบลฟันดี” ทั้งนี้ ผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาฟันผุมาก พบเด็กอายุ 12 ปี หรือ ป.6 เกิดฟันผุร้อยละ 52.3 มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมขนมน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็ก ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร สุดท้ายมีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต บุคลิกภาพ และการเรียน อย่างไรก็ตาม ปัญหาฟันผุจะนำไปสู่การสูญเสียฟันในเด็ก และสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุ
“การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีวิชาการระดับชาติให้แก่ทันตบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพช่องปากให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ได้นำเสนอผลงานหรือโครงการนวัตกรรมระดับจังหวัด อำเภอ และระดับตำบล ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเกิดความตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและครอบครัวอย่างเหมาะสม” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
วันนี้ (25 ก.ค.) นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2556 “มหกรรมตำบลฟันดี” ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกกลุ่มอายุ แต่การเข้าถึงบริการมีข้อจำกัด ทั้งนี้ สุขภาพช่องปากที่ดีมีผลต่อระบบร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยจะมีผลต่อพัฒนาการสมวัย หากป้องกันปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบในวัยเด็กได้ โอกาสเกิดปัญหาของโรคในช่องปากในวัยที่สูงขึ้นจะลดลง สำหรับสาเหตุของโรคในช่องปากมาจากการขาดทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และจากพฤติกรรมการบริโภค การแก้ปัญหาจึงต้องขยายขอบเขตการทำงานโดยบูรณาการร่วมกับงานสุขภาพอื่นๆ อย่างเป็นองค์รวม
นพ.ธีรพล กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ปี 2548 กรมอนามัย ได้ร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น รวมถึงจัดการความรู้เพื่อให้เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในระดับตำบล ภายใต้แนวคิด “ตำบลฟันดี” ทั้งนี้ ผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาฟันผุมาก พบเด็กอายุ 12 ปี หรือ ป.6 เกิดฟันผุร้อยละ 52.3 มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมขนมน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็ก ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร สุดท้ายมีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต บุคลิกภาพ และการเรียน อย่างไรก็ตาม ปัญหาฟันผุจะนำไปสู่การสูญเสียฟันในเด็ก และสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุ
“การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีวิชาการระดับชาติให้แก่ทันตบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพช่องปากให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ได้นำเสนอผลงานหรือโครงการนวัตกรรมระดับจังหวัด อำเภอ และระดับตำบล ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเกิดความตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและครอบครัวอย่างเหมาะสม” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว