สำรวจพบเด็ก ป.6 เคยฟันผุมากถึง 57% เหตุกินขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม แถมปวดฟันจนต้องหยุดเรียนมากถึง 4 แสนคน สธ.จับมือ สพฐ.สร้างเครือข่าย ร.ร.เด็กไทยฟันดี หลังดำเนินการ 5 ปี เกิดแนวร่วมมากกว่า 4,000 โรงเรียน พร้อมชู 6 เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดียอดเยี่ยม
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จ.ปทุมธานี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ปี 2556 ว่า จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัย ปี 2554 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุมาก โดยเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์เกิดโรคฟันผุถึงร้อยละ 57 มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมกินอาหารหรือขนม อาทิ น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งมีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต และบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนถึงปีละ 400,000 คน ที่สำคัญปัญหาฟันผุจะนำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็กและอาจสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า การพัฒนาสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนของกรมอนามัย สธ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในโครงการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2551 จึงเป็นการพัฒนาแนวทางการสร้างเครือข่ายเด็กไทยฟันดีขยายผลสู่การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน มีรูปแบบเน้นการทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งให้สามารถดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันได้ ขณะนี้มีจังหวัดเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 จังหวัด เกิดเครือข่ายจำนวน 400 เครือข่าย รวม 4,256 โรงเรียน ที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายดูแลสุขภาพช่องปากและแก้ปัญหาฟันผุในกลุ่มวัยเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มี 6 เครือข่ายที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นต้นแบบเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยม ได้แก่ 1.เครือข่ายแหลมงอบสร้างสรรค์เพื่อเด็กไทยฟันดี อ.แหลมงอบ จ.ตราด 2.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 3.เครือข่ายเด็กไทยฟันดีศรีเมืองพระจังหาร 2 อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด 4.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.เรณูนคร จ.นครพนม 5.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.ปะทิว จ.ชุมพร และ 6.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา นอกจากนี้ ได้มีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับดีมาก จำนวน 11 เครือข่าย
ด้าน นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพจากโรงเรียนหนึ่งขยายสู่โรงเรียนอื่น โดยมีแนวทางและวิธีการที่แต่ละโรงเรียนให้ความสนใจโดยครูและแกนนำนักเรียนเป็นพลังขับเคลื่อนหลัก ส่วนหมอจะมีหน้าที่สนับสนุนในทุกทาง โดยมีการคิดค้นการดำเนินกลวิธีใหม่ๆ อันก่อให้เกิดประโยชนืโดยตรงต่อเด็กไม่เพียงสุขภาพที่ดีเท่านั้น แต่ยังได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา ฝึกช่วยเหลือผู้อื่น ฝึกอุทิศตนเพื่อสังคม ฝึกฝนวินัยและความรับผิดชอบทำให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพต่อไป
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จ.ปทุมธานี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ปี 2556 ว่า จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัย ปี 2554 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุมาก โดยเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์เกิดโรคฟันผุถึงร้อยละ 57 มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมกินอาหารหรือขนม อาทิ น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งมีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโต และบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนถึงปีละ 400,000 คน ที่สำคัญปัญหาฟันผุจะนำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็กและอาจสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า การพัฒนาสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนของกรมอนามัย สธ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในโครงการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2551 จึงเป็นการพัฒนาแนวทางการสร้างเครือข่ายเด็กไทยฟันดีขยายผลสู่การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน มีรูปแบบเน้นการทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งให้สามารถดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันได้ ขณะนี้มีจังหวัดเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 จังหวัด เกิดเครือข่ายจำนวน 400 เครือข่าย รวม 4,256 โรงเรียน ที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายดูแลสุขภาพช่องปากและแก้ปัญหาฟันผุในกลุ่มวัยเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 มี 6 เครือข่ายที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นต้นแบบเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับยอดเยี่ยม ได้แก่ 1.เครือข่ายแหลมงอบสร้างสรรค์เพื่อเด็กไทยฟันดี อ.แหลมงอบ จ.ตราด 2.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 3.เครือข่ายเด็กไทยฟันดีศรีเมืองพระจังหาร 2 อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด 4.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.เรณูนคร จ.นครพนม 5.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.ปะทิว จ.ชุมพร และ 6.เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา นอกจากนี้ ได้มีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับดีมาก จำนวน 11 เครือข่าย
ด้าน นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพจากโรงเรียนหนึ่งขยายสู่โรงเรียนอื่น โดยมีแนวทางและวิธีการที่แต่ละโรงเรียนให้ความสนใจโดยครูและแกนนำนักเรียนเป็นพลังขับเคลื่อนหลัก ส่วนหมอจะมีหน้าที่สนับสนุนในทุกทาง โดยมีการคิดค้นการดำเนินกลวิธีใหม่ๆ อันก่อให้เกิดประโยชนืโดยตรงต่อเด็กไม่เพียงสุขภาพที่ดีเท่านั้น แต่ยังได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา ฝึกช่วยเหลือผู้อื่น ฝึกอุทิศตนเพื่อสังคม ฝึกฝนวินัยและความรับผิดชอบทำให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพต่อไป