ไทยมีคนแก่มากที่สุดในอาเซียน พบคนอายุเกิน 65 ปี มีมากถึง 12.59% คาดอีก 20 ปีข้างหน้า ไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด สธ.เร่งส่งเสริมสุขภาพคนแก่ หลังประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติตกทุกด้าน หวังวางฐานอำเภอสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว
วันนี้ (15 ม.ค.) ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติครั้งที่ 1/2556 เรื่อง “ผู้สูงวัยมุ่งสู่...อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” ว่า องค์การสหประชาชาตินิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในสัดส่วนร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็นร้อยละ 14 ทั้งนี้ จากข้อมูลสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2555 พบว่า โลกมีประชากรจำนวน 7,058 ล้านคน มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 565 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8 ในขณะที่ผู้สูงอายุของประเทศไทยมีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึงร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศอาเซียน โดยสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 12.25 เวียดนามร้อยละ 8.53 นอกจากนี้ ยังพบว่าความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลง ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 7 ล้านคน ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 เมื่อประเมินแล้ว พบว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Age Society) และอีก 10 ปีจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด
นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากรายงานการประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545-2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 ระยะที่ 2 พ.ศ.2550-2554 โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) พบว่าประชากรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพเพียงร้อยละ 34.2 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 18.7 จากเป้าหมาย ร้อยละ 30 เป็นสมาชิกชมรมและร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 23.7 จากเป้าหมายร้อยละ 25 ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 29.9 จากเป้าหมายร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปีเพียงร้อยละ 56.7 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่ผ่านการประเมินตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
“กรมฯ จึงมีแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดภายในทศวรรษต่อไปคนไทยต้องสุขภาพดี โดยกำหนดอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยไม่น้อยกว่า 80 ปี ในปี2565 ผ่าน”โครงการอำเภอสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว” ซึ่งเป็นการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ครอบคลุม โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 20 มีวัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และภาคีเครือข่ายให้เป็น ผู้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแก่ภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ” นพ.ธีรพล กล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ในการพัฒนาเป็นอำเภอสุขภาพดี ซึ่งจะมีเกณฑ์ตัวชี้วัดต่างๆ ทั้งการบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ หลีกเลี่ยงอบายมุขและพฤติกรรมเสี่ยง การออกกำลังกายที่เหมาะสม ป้องกันโรคเฉพาะที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ เป็นต้น ซึ่งชุมชนหรืออำเภอใดสนใจสอบถามได้ที่กรมอนามัย โทร.0-2590-4508
วันนี้ (15 ม.ค.) ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติครั้งที่ 1/2556 เรื่อง “ผู้สูงวัยมุ่งสู่...อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” ว่า องค์การสหประชาชาตินิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในสัดส่วนร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็นร้อยละ 14 ทั้งนี้ จากข้อมูลสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2555 พบว่า โลกมีประชากรจำนวน 7,058 ล้านคน มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 565 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 8 ในขณะที่ผู้สูงอายุของประเทศไทยมีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึงร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศอาเซียน โดยสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 12.25 เวียดนามร้อยละ 8.53 นอกจากนี้ ยังพบว่าความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลง ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 7 ล้านคน ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 เมื่อประเมินแล้ว พบว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือในปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Age Society) และอีก 10 ปีจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด
นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากรายงานการประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545-2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 ระยะที่ 2 พ.ศ.2550-2554 โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) พบว่าประชากรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพเพียงร้อยละ 34.2 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 18.7 จากเป้าหมาย ร้อยละ 30 เป็นสมาชิกชมรมและร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 23.7 จากเป้าหมายร้อยละ 25 ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะทุพพลภาพได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 29.9 จากเป้าหมายร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปีเพียงร้อยละ 56.7 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ซึ่งยังไม่ผ่านการประเมินตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
“กรมฯ จึงมีแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดภายในทศวรรษต่อไปคนไทยต้องสุขภาพดี โดยกำหนดอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยไม่น้อยกว่า 80 ปี ในปี2565 ผ่าน”โครงการอำเภอสุขภาพดี 80 ปี ยังแจ๋ว” ซึ่งเป็นการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ครอบคลุม โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 20 มีวัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และภาคีเครือข่ายให้เป็น ผู้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแก่ภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ” นพ.ธีรพล กล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกรมอนามัย ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ในการพัฒนาเป็นอำเภอสุขภาพดี ซึ่งจะมีเกณฑ์ตัวชี้วัดต่างๆ ทั้งการบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ หลีกเลี่ยงอบายมุขและพฤติกรรมเสี่ยง การออกกำลังกายที่เหมาะสม ป้องกันโรคเฉพาะที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ เป็นต้น ซึ่งชุมชนหรืออำเภอใดสนใจสอบถามได้ที่กรมอนามัย โทร.0-2590-4508