สธ.เตรียมทำ “แพกเกจวัคซีนสุขภาพ” คนไทย 4 กลุ่มวัย ครอบคลุมทุกช่วงอายุ เน้นดูแลส่งเสริมป้องกันโรค เด็กเล็กเน้นคัดกรองโรคทางจิต วัยรุ่นเน้นสกัดโรคทางสังคม วัยทำงานเน้นดูแลพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนคนแก่เน้นซ่อมแซมร่างกาย พร้อมดูแลเป็นพิเศษกลุ่มด้อยโอกาสที่มีโรคเฉพาะ
วันนี้ (9 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร สธ.ว่า การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัดสู่เป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี โดย สธ.เตรียมทำแพกเกจวัคซีนสุขภาพคนไทยใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ 0-6 ปี, 7-18 ปี, 19-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ตามนโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ดูแลสุขภาพคนไทยเป็นรายกลุ่มตามช่วงวัย
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า แพกเกจวัคซีนสุขภาพดังกล่าวจะดูแลสุขภาพคนไทยครบทุกวัยอย่างเหมาะสม ป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย เป็นเหมือนวัคซีนในอดีตที่ช่วยป้องกันโรค สำหรับแพกเกจของวัย 0-6 ปี เช่น หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4-5 ครั้งก่อนคลอด ต้องคลอดโดยแพทย์ ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบถ้วน และได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางจิต อย่างเด็กไฮเปอร์ เป็นต้น วัย 7-18 ปี สิ่งสำคัญที่สุด คือ การเตรียมตัวคนกลุ่มนี้ให้มีสุขภาพที่แข็งแรงในอนาคต จะดูแลเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การไม่ใช้ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย และโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ วัย 19-60 ปี เป็นวัยทำงาน จะเน้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น และวัย 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยสูงอายุ ดูแลการซ่อมแซมร่างกาย นอกจากนี้ กลุ่มด้อยโอกาส ที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคทางจิตจะมีแพกเกจดูแลเป็นพิเศษ
“การรักษาโรคของคนไทยครอบคลุม 100% แล้ว จากการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่การป้องกันการเจ็บป่วยยังไม่สมบูรณ์ การมีแพกเกจวัคซีนสุขภาพ ซึ่งเน้นเรื่องของการส่งเสริมป้องกันโรค จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี โดยช่วงวัย 0-18 ปี เป็นการตั้งเป้าที่สูงมากว่าจะต้องมีการดูแลตามแพกเกจสุขภาพได้ครอบคลุม 100% เพราะเป็นช่วงวัยที่ดูแลและติดตามได้ง่าย อย่างวัย 7-18 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นโรคสังคม เช่น ยาเสพติด ท้องไม่พร้อม หากป้องกันโรคสังคมเหล่านี้ได้ก็เท่ากับป้องกันโรคได้เกือบ 100% ส่วนโรคติดต่อต่างๆ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ขณะที่วัย 18- 60 ปี ไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องดูแลให้ได้ 100% เพราะมีการเคลื่อนย้ายทำงานต่างๆ ส่วนผู้สูงอายุหากดูแลได้ 50% เท่ากับว่า คนสูงอายุได้รับการดูแลที่ดีขึ้นแล้ว” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (9 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร สธ.ว่า การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัดสู่เป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี โดย สธ.เตรียมทำแพกเกจวัคซีนสุขภาพคนไทยใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ 0-6 ปี, 7-18 ปี, 19-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ตามนโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ดูแลสุขภาพคนไทยเป็นรายกลุ่มตามช่วงวัย
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า แพกเกจวัคซีนสุขภาพดังกล่าวจะดูแลสุขภาพคนไทยครบทุกวัยอย่างเหมาะสม ป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย เป็นเหมือนวัคซีนในอดีตที่ช่วยป้องกันโรค สำหรับแพกเกจของวัย 0-6 ปี เช่น หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4-5 ครั้งก่อนคลอด ต้องคลอดโดยแพทย์ ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบถ้วน และได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางจิต อย่างเด็กไฮเปอร์ เป็นต้น วัย 7-18 ปี สิ่งสำคัญที่สุด คือ การเตรียมตัวคนกลุ่มนี้ให้มีสุขภาพที่แข็งแรงในอนาคต จะดูแลเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การไม่ใช้ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย และโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ วัย 19-60 ปี เป็นวัยทำงาน จะเน้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น และวัย 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยสูงอายุ ดูแลการซ่อมแซมร่างกาย นอกจากนี้ กลุ่มด้อยโอกาส ที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคทางจิตจะมีแพกเกจดูแลเป็นพิเศษ
“การรักษาโรคของคนไทยครอบคลุม 100% แล้ว จากการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่การป้องกันการเจ็บป่วยยังไม่สมบูรณ์ การมีแพกเกจวัคซีนสุขภาพ ซึ่งเน้นเรื่องของการส่งเสริมป้องกันโรค จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี โดยช่วงวัย 0-18 ปี เป็นการตั้งเป้าที่สูงมากว่าจะต้องมีการดูแลตามแพกเกจสุขภาพได้ครอบคลุม 100% เพราะเป็นช่วงวัยที่ดูแลและติดตามได้ง่าย อย่างวัย 7-18 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นโรคสังคม เช่น ยาเสพติด ท้องไม่พร้อม หากป้องกันโรคสังคมเหล่านี้ได้ก็เท่ากับป้องกันโรคได้เกือบ 100% ส่วนโรคติดต่อต่างๆ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ขณะที่วัย 18- 60 ปี ไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องดูแลให้ได้ 100% เพราะมีการเคลื่อนย้ายทำงานต่างๆ ส่วนผู้สูงอายุหากดูแลได้ 50% เท่ากับว่า คนสูงอายุได้รับการดูแลที่ดีขึ้นแล้ว” รมว.สาธารณสุข กล่าว