“จาตุรนต์” มอบ 9 นโยบายขับเคลื่อนอาชีวะ เล็งเพิ่มความร่วมมือกับเอกชนในการจัดการศึกษา พร้อมมั่นใจเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพ-สามัญเป็น 50:50 ภายในปี 58
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังมอบการนโยบายแก่ผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า การพัฒนางานอาชีวศึกษามีความจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะต้องหาแนวทางและกรอบความร่วมมือจากทุกภาคส่วนว่า จะทำอย่างไรให้อาชีวศึกษาสามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการของประเทศทั้งปริมาณและคุณภาพ มิเช่นนั้นแล้วไทยอาจจะตกอยู่ในสภาวะชะงักงันในการพัฒนาและไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศในเวทีโลกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือร่วมกับผู้บริหาร สอศ.เพื่อกำหนดแผนและวางมาตรการพัฒนาอาชีวศึกษาไว้แล้ว โดยมีแนวทางการขับเคลื่อน 9 เรื่อง ได้แก่ 1.ประเมินสถานการณ์อาชีวศึกษาโดยเร่งด่วน โดยมอบให้สถาบันอุดมศึกษา 3-4 แห่งมาช่วยประเมินสภาพและสถานะของอาชีวศึกษาทั้งประเทศแบบเร่งด่วนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่อไป ซึ่งสิ่งที่จะต้องประเมิน อาทิ การผลิตนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาตรงกับความต้องการหรือไม่ ครู-อาจารย์ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่ ศักยภาพของการจัดการศึกษาแบบทวิภาคี ทั้งนี้การประเมินดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อจะใช้เป็นแนวในการที่จะปรับการทำงานของอาชีวศึกษาให้ตรงกับโจทย์ใหญ่ โดยจะนำมาใช้ในปีงบประมาณ 2557 หรือวันที่ 1 ต.ค.นี้
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า 2.เร่งผลิตกำลังคนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของภาคเอกชน รวมทั้งเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และโลจิสติกส์ของประเทศ 3.เร่งผลักดันให้เกิดระบบกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยดำเนินการนำร่องบางสาขาอาชีพ เช่น โรงแรม ท่องเที่ยว ชิ้นส่วนยานยนต์ ร่วมกับภาคเอกชน 4.ขยายและยกระดับการเรียนการสอนระบบทวิภาคี เพื่อยกระดับผลผลิตให้มีความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น 5.ยกระดับการพัฒนาระบบความร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้นในเรื่องหลักๆ ที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ 6.ปรับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา โดยการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้มีความทันสมัยไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาท 7.ขยายโอกาสทางการศึกษาและยกระดับการศึกษาของแรงงานไทย เพราะปัจจุบันแรงงานกว่า 25 ล้านคน ยังไม่จบมัธยมศึกษาจึงควรส่งเสริมให้ยกระดับการศึกษา โดยอาจร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือเปิดให้มาเรียนวันหยุด และให้ สอศ.มีบทบาทในการดูแลมาตรฐานคุณภาพ 8.การพัฒนาแรงงานต่างด้าวให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสอดคล้องกับความต้องการ มีมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย และ 9.สร้างเครือข่ายอาชีวศึกษาอาเซียน เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอาชีวศึกษาภูมิภาค ทั้งนี้ สอศ.จะต้องไปทำแผนปฏิบัติการ เพื่อนำกรอบแนวทางดังกล่าวสู่การปฏิบัติต่อไป
“จะต้องยกระดับและเพิ่มความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งความร่วมมือจะไม่ใช่เพียงแค่ต้องการทราบว่า เอกชนต้องการบุคลากรด้านใด แต่เราจะต้องรู้ด้วยว่า เขาต้องการแรงงานที่มีคุณลักษณะอย่างไร หลักสูตรและเครื่องมือในการเรียนการสอนควรเป็นอย่างไรด้วย เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามภายในปี 2558 สอศ.จะต้องเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา:สามัญ เป็น 50:50 ด้วย ซึ่งตนเชื่อว่าน่าจะสามารถเพิ่มได้ตามสัดส่วนดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะหาก สอศ.เร่งขับเคลื่อนตามนโยบายที่ตนได้มอบไว้ เด็กก็จะเห็นเองว่าเรียนอาชีวะแล้วมีความก้าวหน้าทางอาชีพ มีอนาคต และมีรายได้ที่สูง โดยที่ไม่ต้องมีใบปริญญา” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังมอบการนโยบายแก่ผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า การพัฒนางานอาชีวศึกษามีความจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะต้องหาแนวทางและกรอบความร่วมมือจากทุกภาคส่วนว่า จะทำอย่างไรให้อาชีวศึกษาสามารถผลิตบุคลากรได้ตรงกับความต้องการของประเทศทั้งปริมาณและคุณภาพ มิเช่นนั้นแล้วไทยอาจจะตกอยู่ในสภาวะชะงักงันในการพัฒนาและไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศในเวทีโลกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือร่วมกับผู้บริหาร สอศ.เพื่อกำหนดแผนและวางมาตรการพัฒนาอาชีวศึกษาไว้แล้ว โดยมีแนวทางการขับเคลื่อน 9 เรื่อง ได้แก่ 1.ประเมินสถานการณ์อาชีวศึกษาโดยเร่งด่วน โดยมอบให้สถาบันอุดมศึกษา 3-4 แห่งมาช่วยประเมินสภาพและสถานะของอาชีวศึกษาทั้งประเทศแบบเร่งด่วนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่อไป ซึ่งสิ่งที่จะต้องประเมิน อาทิ การผลิตนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาตรงกับความต้องการหรือไม่ ครู-อาจารย์ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนเพียงพอและเหมาะสมหรือไม่ ศักยภาพของการจัดการศึกษาแบบทวิภาคี ทั้งนี้การประเมินดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อจะใช้เป็นแนวในการที่จะปรับการทำงานของอาชีวศึกษาให้ตรงกับโจทย์ใหญ่ โดยจะนำมาใช้ในปีงบประมาณ 2557 หรือวันที่ 1 ต.ค.นี้
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า 2.เร่งผลิตกำลังคนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของภาคเอกชน รวมทั้งเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และโลจิสติกส์ของประเทศ 3.เร่งผลักดันให้เกิดระบบกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยดำเนินการนำร่องบางสาขาอาชีพ เช่น โรงแรม ท่องเที่ยว ชิ้นส่วนยานยนต์ ร่วมกับภาคเอกชน 4.ขยายและยกระดับการเรียนการสอนระบบทวิภาคี เพื่อยกระดับผลผลิตให้มีความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น 5.ยกระดับการพัฒนาระบบความร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้นในเรื่องหลักๆ ที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ 6.ปรับภาพลักษณ์อาชีวศึกษา โดยการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้มีความทันสมัยไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาท 7.ขยายโอกาสทางการศึกษาและยกระดับการศึกษาของแรงงานไทย เพราะปัจจุบันแรงงานกว่า 25 ล้านคน ยังไม่จบมัธยมศึกษาจึงควรส่งเสริมให้ยกระดับการศึกษา โดยอาจร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือเปิดให้มาเรียนวันหยุด และให้ สอศ.มีบทบาทในการดูแลมาตรฐานคุณภาพ 8.การพัฒนาแรงงานต่างด้าวให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสอดคล้องกับความต้องการ มีมาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย และ 9.สร้างเครือข่ายอาชีวศึกษาอาเซียน เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอาชีวศึกษาภูมิภาค ทั้งนี้ สอศ.จะต้องไปทำแผนปฏิบัติการ เพื่อนำกรอบแนวทางดังกล่าวสู่การปฏิบัติต่อไป
“จะต้องยกระดับและเพิ่มความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งความร่วมมือจะไม่ใช่เพียงแค่ต้องการทราบว่า เอกชนต้องการบุคลากรด้านใด แต่เราจะต้องรู้ด้วยว่า เขาต้องการแรงงานที่มีคุณลักษณะอย่างไร หลักสูตรและเครื่องมือในการเรียนการสอนควรเป็นอย่างไรด้วย เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษามีคุณภาพอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามภายในปี 2558 สอศ.จะต้องเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา:สามัญ เป็น 50:50 ด้วย ซึ่งตนเชื่อว่าน่าจะสามารถเพิ่มได้ตามสัดส่วนดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะหาก สอศ.เร่งขับเคลื่อนตามนโยบายที่ตนได้มอบไว้ เด็กก็จะเห็นเองว่าเรียนอาชีวะแล้วมีความก้าวหน้าทางอาชีพ มีอนาคต และมีรายได้ที่สูง โดยที่ไม่ต้องมีใบปริญญา” นายจาตุรนต์ กล่าว