กมธ.ศึกษา ห่วงไทยไปไม่ถึงฝันศูนย์กลางการศึกษาอาเซียน ฝาก สกอ.เตรียมทำแผนงานรองรับและผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเป็นตัวกลางประสาน รมว.ศึกษาฯ และกต.มาร่วมหารือรวมถึงการแก้ปัญหาวีซ่านักเรียนด้วย
วันนี้ (24 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาการศึกษาของชาติร่วมกับผู้บริหาร สกอ.ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมนโยบายที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน (Education Hub) ซึ่งเท่าที่ดูการดำเนินการต่างๆ ของ สกอ.เห็นว่ายังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ความตั้งใจดังกล่าวไปไม่ถึงฝั่งฝัน เนื่องจากการที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนได้นั้น อุดมศึกษาจะต้องเป็นหลักสำคัญ เพราะฉะนั้น ทาง กมธ.การศึกษาจึงได้ฝาก สกอ.ว่าควรจะทำแผนงานรองรับการเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์กลางกลางศึกษาอาเซียน เป็นวาระแห่งชาติ โดย กมธ.การศึกษา จะเป็นตัวกลางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อมาหารือทั้งเรื่องดังกล่าวแบบลงรายละเอียดอีกครั้ง
“เท่าที่ดูสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนนั้น คือ การไม่มีแผนในการจัดการศึกษาที่ชัดเจน ซึ่งทาง กมธ.การศึกษาได้แนะนำไปว่า ควรจะมีหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาเรื่องวีซ่านักศึกษาต่างชาติ ที่หลายประเทศให้วีซ่านักศึกษาระยะยาว แต่ของประเทศไทยให้วีซ่าแค่ 5-6 เดือน ซึ่งเรื่องนี้จะต้องเชิญ กต.มาหารือด้วยว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร แต่เป้าหมายจะต้องชัดเจนคือการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน” นายประกอบ กล่าว
ประธาน กมธ.ศึกษา กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นเรื่องคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ได้หารือร่วมกับ สกอ.เพราะขณะนี้กำลังมีปัญหาทั้งเรื่องหลักสูตรจ่ายครบจบแน่ ทำให้การศึกษาไม่มีคุณภาพ นอกจากนั้นยังทบทวนเรื่องการดำเนินงานโครงการครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งเดิมรัฐบาลมีนโยบายให้ สกอ.เป็นเจ้าภาพในการดูแลเรื่องดังกล่าว แต่ที่ผ่านมามีการหลักเกณฑ์บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ทาง กมธ.การศึกษาไม่ติดใจ เพียงแต่อยากให้เดินตามเป้าหมาย คือ จูงใจให้มีคนเก่ง คนดี มาเป็นครู และต้องมีอัตรารองรับคนเหล่านี้โดยให้หลักประกันการมีงานทำ เพื่อให้คนที่มาเรียนมีแรงจูงใจในการมีการงาน ซึ่งในการประชุมครั้งถัดไปจะเชิญ รมว.ศึกษาธิการ มาหารือด้วย เพราะครูถือเป็นหัวในในการพัฒนาการศึกษาชาติ
เลขาธิการฯบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ บุกสภาฯ ยื่นแก้ความเลื่อมล้ำให้พนักงานมหาวิทยาลัย
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 14.40 น. ที่รัฐสภา นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะโฆษก กมธ.การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือร้องเรียนจากนายวีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐ และคณะ เพื่อแจ้งข้อมูลความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และขอให้กมธ.ได้พิจารณาหาทางออกให้กับบุคลากรของสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ความเป็นจากนโยบายของรัฐ โดยนายวีรชัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 ที่ให้จ้างพนักงานมหาวิทยาลัยทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าข้าราชการ คือเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าจากอัตราเงินเดือนแรกบรรจุข้าราชการ นอกจากนี้พนักงานมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนเป็น 15,000 บาท ทั้งที่เป็นพนักงานส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ทั้งสัญญาจ้างไม่มีความชอบธรรม เป็นสัญญาระยะสั้น 3-5 ปี ซึ่งส่งผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน สัญญาระยะสั้นทำให้ขาดเสรีภาพทางวิชาการและการวิพากษ์วิจารณ์ในทุกระดับ จึงอยากให้มีการขยายสัญญาจ้างไปจนอายุ 60 ปี โดยให้มีการประเมินผลงานทุก 4 ปี และอยากให้มีการปรับปรุงเรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาล เพราะบุคลากรอุดมการศึกษา กว่า 1 แสนคนทั่วประเทศใช้ถูกบังคับด้วยระบบประกันสังคม ทำให้หากมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ ก็ไม่อาจใช้สิทธิที่ดีกว่าได้
อย่างไรก็ตาม นายณัฏฐ์ กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในกมธ.เพื่อช่วยหาทางออกร่วมกัน โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ทั้งนี้ตนเห็นว่าการถูกตัดงบประมาณของกระทรวงศึกษาหลายๆกรณี อาจส่งผลมายังพนักงานมหาวิทยาลัย
วันนี้ (24 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาการศึกษาของชาติร่วมกับผู้บริหาร สกอ.ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมนโยบายที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน (Education Hub) ซึ่งเท่าที่ดูการดำเนินการต่างๆ ของ สกอ.เห็นว่ายังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ความตั้งใจดังกล่าวไปไม่ถึงฝั่งฝัน เนื่องจากการที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนได้นั้น อุดมศึกษาจะต้องเป็นหลักสำคัญ เพราะฉะนั้น ทาง กมธ.การศึกษาจึงได้ฝาก สกอ.ว่าควรจะทำแผนงานรองรับการเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์กลางกลางศึกษาอาเซียน เป็นวาระแห่งชาติ โดย กมธ.การศึกษา จะเป็นตัวกลางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อมาหารือทั้งเรื่องดังกล่าวแบบลงรายละเอียดอีกครั้ง
“เท่าที่ดูสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยอาจจะไปไม่ถึงเป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียนนั้น คือ การไม่มีแผนในการจัดการศึกษาที่ชัดเจน ซึ่งทาง กมธ.การศึกษาได้แนะนำไปว่า ควรจะมีหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาเรื่องวีซ่านักศึกษาต่างชาติ ที่หลายประเทศให้วีซ่านักศึกษาระยะยาว แต่ของประเทศไทยให้วีซ่าแค่ 5-6 เดือน ซึ่งเรื่องนี้จะต้องเชิญ กต.มาหารือด้วยว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร แต่เป้าหมายจะต้องชัดเจนคือการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาของอาเซียน” นายประกอบ กล่าว
ประธาน กมธ.ศึกษา กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นเรื่องคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ได้หารือร่วมกับ สกอ.เพราะขณะนี้กำลังมีปัญหาทั้งเรื่องหลักสูตรจ่ายครบจบแน่ ทำให้การศึกษาไม่มีคุณภาพ นอกจากนั้นยังทบทวนเรื่องการดำเนินงานโครงการครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งเดิมรัฐบาลมีนโยบายให้ สกอ.เป็นเจ้าภาพในการดูแลเรื่องดังกล่าว แต่ที่ผ่านมามีการหลักเกณฑ์บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ทาง กมธ.การศึกษาไม่ติดใจ เพียงแต่อยากให้เดินตามเป้าหมาย คือ จูงใจให้มีคนเก่ง คนดี มาเป็นครู และต้องมีอัตรารองรับคนเหล่านี้โดยให้หลักประกันการมีงานทำ เพื่อให้คนที่มาเรียนมีแรงจูงใจในการมีการงาน ซึ่งในการประชุมครั้งถัดไปจะเชิญ รมว.ศึกษาธิการ มาหารือด้วย เพราะครูถือเป็นหัวในในการพัฒนาการศึกษาชาติ
เลขาธิการฯบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ บุกสภาฯ ยื่นแก้ความเลื่อมล้ำให้พนักงานมหาวิทยาลัย
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 14.40 น. ที่รัฐสภา นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะโฆษก กมธ.การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือร้องเรียนจากนายวีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐ และคณะ เพื่อแจ้งข้อมูลความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และขอให้กมธ.ได้พิจารณาหาทางออกให้กับบุคลากรของสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ไม่ได้ความเป็นจากนโยบายของรัฐ โดยนายวีรชัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 ที่ให้จ้างพนักงานมหาวิทยาลัยทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าข้าราชการ คือเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าจากอัตราเงินเดือนแรกบรรจุข้าราชการ นอกจากนี้พนักงานมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนเป็น 15,000 บาท ทั้งที่เป็นพนักงานส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัย ทั้งสัญญาจ้างไม่มีความชอบธรรม เป็นสัญญาระยะสั้น 3-5 ปี ซึ่งส่งผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน สัญญาระยะสั้นทำให้ขาดเสรีภาพทางวิชาการและการวิพากษ์วิจารณ์ในทุกระดับ จึงอยากให้มีการขยายสัญญาจ้างไปจนอายุ 60 ปี โดยให้มีการประเมินผลงานทุก 4 ปี และอยากให้มีการปรับปรุงเรื่องสวัสดิการการรักษาพยาบาล เพราะบุคลากรอุดมการศึกษา กว่า 1 แสนคนทั่วประเทศใช้ถูกบังคับด้วยระบบประกันสังคม ทำให้หากมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ ก็ไม่อาจใช้สิทธิที่ดีกว่าได้
อย่างไรก็ตาม นายณัฏฐ์ กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในกมธ.เพื่อช่วยหาทางออกร่วมกัน โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ทั้งนี้ตนเห็นว่าการถูกตัดงบประมาณของกระทรวงศึกษาหลายๆกรณี อาจส่งผลมายังพนักงานมหาวิทยาลัย