อธิการฯพระจอมเกล้าลาดกระบัง โต้ข่าวแก้เกรดลูกชาย คาดการเมืองภายในหวังทำลายชื่อเสียง ระบุเป็นเรื่องก่อนเข้ารับตำแหน่ง แจงแก้ไขเกรดเองไม่ได้ ต้องใช้รหัสเฉพาะอาจารย์ผู้สอนและฝ่ายทะเบียน ยันไม่เพิกเฉยปัญหา และไม่เว้นวรรคทำงาน อ้างมีหนังสือจาก สกอ.ให้ทำหน้าที่ต่อได้ ลั่นหากสภาสถาบันฯตัดสินผิดจริง พร้อมให้ดำเนินการตามขั้นตอน แต่หากไม่ผิดและรู้ตัวคนใส่ร้ายจะเอาเรื่องทาง กม.ถึงที่สุด ด้าน ศธ.รับเรื่องแล้ว
จากกรณีกระแสข่าวอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แก้ไขเกรดทั้งหมด 8 รายวิชาให้แก่บุตรชาย ซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เมื่อปีการศึกษา 1/2555 อาทิ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 ภาคเรียนที่ 1/2555 แก้ไขเกรดจาก D ให้เป็น B เป็นต้น กลุ่มผู้บริหารและคณาจารย์จึงยื่นหนังสือถึง นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ศึกษาธิการ นั้น
วันนี้ (23 ก.ค.) นายประแสง มงคลศิริ อดีตเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประมาณ 3 สัปดาห์ มีอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินทางขอเข้าพบนายพงศ์เทพ ซึ่งขณะนั้นเป็น รมว.ศึกษาธิการ เพื่อร้องเรียนขอให้ตรวจสอบเรื่องการแก้ไขเกรดให้นักศึกษาอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมใน สจล.ซึ่งตนก็ได้รับมอบหมายจากนายพงศ์เทพ ให้เป็นผู้รับเรื่องแทน โดยได้สอบถามรายละเอียดต่างๆ รวมถึงรับเอกสารหลักฐานไว้เพื่อทำการตรวจสอบ และได้ส่งเรื่องให้ นายอภิชาติ ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และเท่าที่ทราบเรื่องนี้น่าจะอยู่ระหว่างการสวบสวนข้อเท็จจริง
ด้าน นายอภิชาติ กล่าวว่า สกอ.ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ ซึ่งตามปกติถ้ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอธิการบดีมายัง สกอ.ทาง สกอ.ก็จะทำหนังสือถึงสภามหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และหากสภามหาวิทยาลัยเห็นว่ามีมูลผิดวินัยตามที่ถูกร้องเรียนจริงก็จะต้องมีการตั้งกรรมการสอบสวนตามขั้นตอน อย่างไรก็ตามช่วงนี้ถือเป็นช่วงปรับเปลี่ยนตำแหน่ง และมักจะมีเรื่องร้องเรียนอธิการบดีมาถึง สกอ.จำนวนมาก และกรณีที่ร้องมาตลอดคือ การสรรหาอธิการบดี ที่ขอให้ทบทวนการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี
ขณะที่ นายถวิล พึ่งมา อธิการบดี สจล.เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวเกิดมาตั้งแต่ปีการศึกษา 1/2555 ก่อนที่ตนเข้ามาดำรงตำแหน่งอธิการบดีในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 จนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณ 10 เดือน ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นการเมืองภายในสถาบัน เพราะมีการร้องเรียนมานานแล้วในกรณีการแก้เกรดวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งทางสภาสถาบันฯที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นนายกสภาฯ ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่มี นายพจน์ สะเพียรชัย อุปนายกสภาสถาบันฯเป็นประธาน ซึ่งได้เชิญตนไปสอบปากคำและมีผลสรุปออกมาแล้วว่ามีการแก้เกรดในวิชาดังกล่าวจริง แต่ยังไม่สรุปว่าเกิดจากความผิดพลาดประการใด และจากการสอบสวนก็สรุปว่าตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ดังนั้น สภาสถาบันฯ จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายทะเบียน ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และหัวหน้าสาขาซึ่งเป็นรองอธิการบดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน
“เข้าใจว่าเมื่อผลสอบครั้งแรกสรุปว่าผมไม่มีความผิด ทางกลุ่มผู้ร้องเรียน จึงร้องต่อสภาสถาบันฯ เพื่อขอให้มีการตรวจสอบการแก้เกรดของสถาบันทั้งหมด และมาพบว่ามีการแก้เกรดให้ลูกชายของผมเพิ่มขึ้นอีก 7 วิชา รวมเป็น 8 วิชา และเท่าที่ดู บางวิชามีการแก้จาก F เป็น C หรือจาก D เป็น C ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง ถามว่าถ้าผมสามารถแก้เกรดให้ลูกได้จริงคงแก้ให้ได้มากกว่านี้ เพราะผลการเรียนเฉลี่ยของลูกชายตอนปี 1 อยู่ที่ 1.98 ซึ่งถ้าในปี 2 เขาได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.00 ก็ต้องโดนรีไทร์ออกตามระเบียบเช่นกัน” อธิการ สจล.กล่าว
นายถวิล กล่าวต่อว่า สำหรับระบบการแก้เกรดของ สจล.ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่จะแก้ไขได้คนเดียวและยิ่งตนก็ไม่ได้มีรหัสในการเข้าระบบด้วย ซึ่งผู้เกี่ยวข้องและจะแก้ไขเกรดของนักศึกษาได้มีอยู่ 2 ฝ่าย คือ อาจารย์ผู้สอน ฝ่ายทะเบียน ซึ่งในการแก้ไขต้องใช้ทั้งรหัสของทะเบียนและรหัสประจำตัวของอาจารย์ผู้สอนทั้งคู่จะใช้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และถึงแม้ตนเป็นอธิการบดี ก็ไม่สามารถแก้เกรดให้ใครได้ เพราะไม่มีรหัสดังกล่าว
“เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองภายในสถาบัน คนที่ร้องน่าจะเป็นผู้บริหารจากกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งใน ต.ค.นี้จะมีผู้บริหารระดับคณบดี และผู้อำนวยการวิทยาลัย ประมาณ 7 คน หมดวาระ ซึ่งคงเกรงว่าถ้าผมยังเป็นอธิการบดีอยู่ จะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งระดับบริหารต่อไป แต่ถ้าผมไม่อยู่ ก็จะได้มีการดึงคนตัวเองมาบริหารทำงาน จึงเกิดการรื้อเรื่องนี้ขึ้นมา ทั้งที่หลังจากที่อาจารย์กลุ่มดังกล่าวร้องเรียนมายังสภาสถาบันฯรอบที่ 2 ทางสภาสถาบันฯ ก็ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นอีก 2 ชุด ชุดแรกดูกระบวนการสอบสวนวินัยผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการแก้เกรด และชุดที่สองดูทั้งระบบว่าที่ผ่านมามีการแก้เกรดให้นักศึกษามากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการตรวจสอบก็พบว่า เคยมีการแก้เกรดให้นักศึกษาไปแล้วกว่า 100 ราย” อธิการ สจล.กล่าว
นายถวิล กล่าวอีกว่า การแก้เกรดส่วนใหญ่จะมี 3 กรณี คือ 1.กลุ่มที่อาจารย์กรอกคะแนนผิด 2.กลุ่มนักศึกษาที่ได้คะแนนต่ำ และมาขออาจารย์แก้ตัวโดยได้รับมอบงานไปทำ เมื่อผ่านอาจารย์ก็มีการแก้เกรดให้เพื่อปรับเกรดขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ปี 3-4 ขอปรับขึ้นไม่ให้โดนรีไทร์ และ 3.กลุ่มที่เกรดผิดพลาดจากระบบคอมพิวเตอร์ และจึงต้องขอปรับแก้ให้ถูกต้อง ซึ่งลูกของผมจะเข้าข่ายกลุ่มที่ 1 หรือ 3 เพราะเพิ่งเรียนปี 1 โดยมีลูกชายผมและเด็กอีก 1 คนที่เกรดผิดโดยของเด็กในระบบได้เกรด D ทั้งที่เกรดจริงได้ B แต่ของลูกผมในระบบเป็น B แต่เกรดจริงเป็น D
อธิการ สจล.ชี้แจงเพิ่มเติมว่า กรณีที่ผู้ร้องเรียนระบุว่าตนเองเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ เมื่อทางอาจารย์ผู้สอนร้องเรียนมาว่า เกรดของลูกชายตนเองมีความผิดพลาดนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะทันทีที่เห็นการร้องเรียนตนก็ได้มีคำสั่งไปว่า ขอให้แก้ไขให้เป็นเกรดที่ถูกต้องทันที อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอให้พักการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการสอบสวนฯนั้น ทาง สกอ.เคยมีหนังสือเวียนแจ้งถึงมหาวิทยาลัยทุกแห่งว่ากรณีมีการดำเนินการสอบสวนหากกระบวนการยังไม่สิ้นสุดแต่เพื่อให้การทำงานสะดุด ก็สามารถทำงานตามปกติได้ ซึ่งกรณีของตนก็ยังไม่สิ้นสุดและก็ไม่เป็นธรรมต่อตน จึงขอให้ดูผลการสอบสวนของสภาสถาบันฯ ก่อนว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร ซึ่งหากพบว่าตนมีความผิดจริง ก็จะดำเนินการตามขั้นตอน
“ส่วนตัวหากสภาสถาบันฯสรุปว่าไม่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และรู้ตัวชัดเจนว่าใครเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวก็จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด เพราะถือว่าทำให้เสียชื่อเสียงทั้งตัวผมเอง โดยเฉพาะสถาบัน ทั้งนี้ทางสภาสถาบันฯ มีกำหนดประชุมนัดพิเศษกลางปี เพื่อสรุปผลการดำเนินการของตนในฐานะอธิการบดี ในวันที่ 31 ก.ค.นี้ ส่วนจะมีการหารือเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่นั้น คงไม่สามารถตอบได้” นายถวิล กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากนายอภิชาติแล้ว ซึ่งเท่าที่ทราบ เรื่องนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงของสภาสถาบัน และทาง สกอ.ก็ได้ส่งนิติกรเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนฯด้วย ส่วนจะต้องมีคำสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องไว้ก่อนหรือไม่นั้น จะต้องรอผลการสอบสวนของสภาสถาบันฯก่อน หากสภาสถาบันฯมีความเห็นเช่นไรก็ต้องดำเนินการตามนั้น ทั้งนี้ตนได้กำชับ สกอ.ให้ดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด
อนึ่ง กลุ่มคณาจารย์ สจล.เคยร้องเรียนเรื่องดังกล่าวไปยังนายกสภาสถาบันฯ และได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีการแก้ไขเกรดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 จริง แต่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงเพียงรองอธิการบดีผู้เดียวเท่านั้น และภายหลังทราบว่ามีการแก้เกรดให้นักศึกษารายดังกล่าว รวมทั้งหมด 8 วิชา จึงเสนอนายกสภาฯ ให้ทำการสอบสวนอีกครั้ง จนกระทั่งมีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดใหม่ ทั้งนี้ คณาจารย์ฯ ได้เรียกร้องให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เข้ามาดูแลเรื่องนี้ พร้อมเรียกร้องให้สภาสถาบันฯสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและผู้เกี่ยวข้องจนกว่าการสอบสวนจะได้ข้อสรุป
จากกรณีกระแสข่าวอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แก้ไขเกรดทั้งหมด 8 รายวิชาให้แก่บุตรชาย ซึ่งเป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เมื่อปีการศึกษา 1/2555 อาทิ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 ภาคเรียนที่ 1/2555 แก้ไขเกรดจาก D ให้เป็น B เป็นต้น กลุ่มผู้บริหารและคณาจารย์จึงยื่นหนังสือถึง นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ศึกษาธิการ นั้น
วันนี้ (23 ก.ค.) นายประแสง มงคลศิริ อดีตเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประมาณ 3 สัปดาห์ มีอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินทางขอเข้าพบนายพงศ์เทพ ซึ่งขณะนั้นเป็น รมว.ศึกษาธิการ เพื่อร้องเรียนขอให้ตรวจสอบเรื่องการแก้ไขเกรดให้นักศึกษาอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมใน สจล.ซึ่งตนก็ได้รับมอบหมายจากนายพงศ์เทพ ให้เป็นผู้รับเรื่องแทน โดยได้สอบถามรายละเอียดต่างๆ รวมถึงรับเอกสารหลักฐานไว้เพื่อทำการตรวจสอบ และได้ส่งเรื่องให้ นายอภิชาติ ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และเท่าที่ทราบเรื่องนี้น่าจะอยู่ระหว่างการสวบสวนข้อเท็จจริง
ด้าน นายอภิชาติ กล่าวว่า สกอ.ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ ซึ่งตามปกติถ้ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอธิการบดีมายัง สกอ.ทาง สกอ.ก็จะทำหนังสือถึงสภามหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง และหากสภามหาวิทยาลัยเห็นว่ามีมูลผิดวินัยตามที่ถูกร้องเรียนจริงก็จะต้องมีการตั้งกรรมการสอบสวนตามขั้นตอน อย่างไรก็ตามช่วงนี้ถือเป็นช่วงปรับเปลี่ยนตำแหน่ง และมักจะมีเรื่องร้องเรียนอธิการบดีมาถึง สกอ.จำนวนมาก และกรณีที่ร้องมาตลอดคือ การสรรหาอธิการบดี ที่ขอให้ทบทวนการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี
ขณะที่ นายถวิล พึ่งมา อธิการบดี สจล.เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวเกิดมาตั้งแต่ปีการศึกษา 1/2555 ก่อนที่ตนเข้ามาดำรงตำแหน่งอธิการบดีในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 จนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณ 10 เดือน ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นการเมืองภายในสถาบัน เพราะมีการร้องเรียนมานานแล้วในกรณีการแก้เกรดวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งทางสภาสถาบันฯที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นนายกสภาฯ ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่มี นายพจน์ สะเพียรชัย อุปนายกสภาสถาบันฯเป็นประธาน ซึ่งได้เชิญตนไปสอบปากคำและมีผลสรุปออกมาแล้วว่ามีการแก้เกรดในวิชาดังกล่าวจริง แต่ยังไม่สรุปว่าเกิดจากความผิดพลาดประการใด และจากการสอบสวนก็สรุปว่าตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ดังนั้น สภาสถาบันฯ จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายทะเบียน ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และหัวหน้าสาขาซึ่งเป็นรองอธิการบดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวน
“เข้าใจว่าเมื่อผลสอบครั้งแรกสรุปว่าผมไม่มีความผิด ทางกลุ่มผู้ร้องเรียน จึงร้องต่อสภาสถาบันฯ เพื่อขอให้มีการตรวจสอบการแก้เกรดของสถาบันทั้งหมด และมาพบว่ามีการแก้เกรดให้ลูกชายของผมเพิ่มขึ้นอีก 7 วิชา รวมเป็น 8 วิชา และเท่าที่ดู บางวิชามีการแก้จาก F เป็น C หรือจาก D เป็น C ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง ถามว่าถ้าผมสามารถแก้เกรดให้ลูกได้จริงคงแก้ให้ได้มากกว่านี้ เพราะผลการเรียนเฉลี่ยของลูกชายตอนปี 1 อยู่ที่ 1.98 ซึ่งถ้าในปี 2 เขาได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.00 ก็ต้องโดนรีไทร์ออกตามระเบียบเช่นกัน” อธิการ สจล.กล่าว
นายถวิล กล่าวต่อว่า สำหรับระบบการแก้เกรดของ สจล.ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่จะแก้ไขได้คนเดียวและยิ่งตนก็ไม่ได้มีรหัสในการเข้าระบบด้วย ซึ่งผู้เกี่ยวข้องและจะแก้ไขเกรดของนักศึกษาได้มีอยู่ 2 ฝ่าย คือ อาจารย์ผู้สอน ฝ่ายทะเบียน ซึ่งในการแก้ไขต้องใช้ทั้งรหัสของทะเบียนและรหัสประจำตัวของอาจารย์ผู้สอนทั้งคู่จะใช้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และถึงแม้ตนเป็นอธิการบดี ก็ไม่สามารถแก้เกรดให้ใครได้ เพราะไม่มีรหัสดังกล่าว
“เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองภายในสถาบัน คนที่ร้องน่าจะเป็นผู้บริหารจากกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งใน ต.ค.นี้จะมีผู้บริหารระดับคณบดี และผู้อำนวยการวิทยาลัย ประมาณ 7 คน หมดวาระ ซึ่งคงเกรงว่าถ้าผมยังเป็นอธิการบดีอยู่ จะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งระดับบริหารต่อไป แต่ถ้าผมไม่อยู่ ก็จะได้มีการดึงคนตัวเองมาบริหารทำงาน จึงเกิดการรื้อเรื่องนี้ขึ้นมา ทั้งที่หลังจากที่อาจารย์กลุ่มดังกล่าวร้องเรียนมายังสภาสถาบันฯรอบที่ 2 ทางสภาสถาบันฯ ก็ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นอีก 2 ชุด ชุดแรกดูกระบวนการสอบสวนวินัยผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการแก้เกรด และชุดที่สองดูทั้งระบบว่าที่ผ่านมามีการแก้เกรดให้นักศึกษามากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการตรวจสอบก็พบว่า เคยมีการแก้เกรดให้นักศึกษาไปแล้วกว่า 100 ราย” อธิการ สจล.กล่าว
นายถวิล กล่าวอีกว่า การแก้เกรดส่วนใหญ่จะมี 3 กรณี คือ 1.กลุ่มที่อาจารย์กรอกคะแนนผิด 2.กลุ่มนักศึกษาที่ได้คะแนนต่ำ และมาขออาจารย์แก้ตัวโดยได้รับมอบงานไปทำ เมื่อผ่านอาจารย์ก็มีการแก้เกรดให้เพื่อปรับเกรดขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ปี 3-4 ขอปรับขึ้นไม่ให้โดนรีไทร์ และ 3.กลุ่มที่เกรดผิดพลาดจากระบบคอมพิวเตอร์ และจึงต้องขอปรับแก้ให้ถูกต้อง ซึ่งลูกของผมจะเข้าข่ายกลุ่มที่ 1 หรือ 3 เพราะเพิ่งเรียนปี 1 โดยมีลูกชายผมและเด็กอีก 1 คนที่เกรดผิดโดยของเด็กในระบบได้เกรด D ทั้งที่เกรดจริงได้ B แต่ของลูกผมในระบบเป็น B แต่เกรดจริงเป็น D
อธิการ สจล.ชี้แจงเพิ่มเติมว่า กรณีที่ผู้ร้องเรียนระบุว่าตนเองเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ เมื่อทางอาจารย์ผู้สอนร้องเรียนมาว่า เกรดของลูกชายตนเองมีความผิดพลาดนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะทันทีที่เห็นการร้องเรียนตนก็ได้มีคำสั่งไปว่า ขอให้แก้ไขให้เป็นเกรดที่ถูกต้องทันที อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอให้พักการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการสอบสวนฯนั้น ทาง สกอ.เคยมีหนังสือเวียนแจ้งถึงมหาวิทยาลัยทุกแห่งว่ากรณีมีการดำเนินการสอบสวนหากกระบวนการยังไม่สิ้นสุดแต่เพื่อให้การทำงานสะดุด ก็สามารถทำงานตามปกติได้ ซึ่งกรณีของตนก็ยังไม่สิ้นสุดและก็ไม่เป็นธรรมต่อตน จึงขอให้ดูผลการสอบสวนของสภาสถาบันฯ ก่อนว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร ซึ่งหากพบว่าตนมีความผิดจริง ก็จะดำเนินการตามขั้นตอน
“ส่วนตัวหากสภาสถาบันฯสรุปว่าไม่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และรู้ตัวชัดเจนว่าใครเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวก็จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด เพราะถือว่าทำให้เสียชื่อเสียงทั้งตัวผมเอง โดยเฉพาะสถาบัน ทั้งนี้ทางสภาสถาบันฯ มีกำหนดประชุมนัดพิเศษกลางปี เพื่อสรุปผลการดำเนินการของตนในฐานะอธิการบดี ในวันที่ 31 ก.ค.นี้ ส่วนจะมีการหารือเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่นั้น คงไม่สามารถตอบได้” นายถวิล กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากนายอภิชาติแล้ว ซึ่งเท่าที่ทราบ เรื่องนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริงของสภาสถาบัน และทาง สกอ.ก็ได้ส่งนิติกรเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนฯด้วย ส่วนจะต้องมีคำสั่งให้พักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องไว้ก่อนหรือไม่นั้น จะต้องรอผลการสอบสวนของสภาสถาบันฯก่อน หากสภาสถาบันฯมีความเห็นเช่นไรก็ต้องดำเนินการตามนั้น ทั้งนี้ตนได้กำชับ สกอ.ให้ดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด
อนึ่ง กลุ่มคณาจารย์ สจล.เคยร้องเรียนเรื่องดังกล่าวไปยังนายกสภาสถาบันฯ และได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีการแก้ไขเกรดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 จริง แต่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงเพียงรองอธิการบดีผู้เดียวเท่านั้น และภายหลังทราบว่ามีการแก้เกรดให้นักศึกษารายดังกล่าว รวมทั้งหมด 8 วิชา จึงเสนอนายกสภาฯ ให้ทำการสอบสวนอีกครั้ง จนกระทั่งมีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดใหม่ ทั้งนี้ คณาจารย์ฯ ได้เรียกร้องให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เข้ามาดูแลเรื่องนี้ พร้อมเรียกร้องให้สภาสถาบันฯสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและผู้เกี่ยวข้องจนกว่าการสอบสวนจะได้ข้อสรุป