“หมอประดิษฐ” ขีดเส้น 1 ปี ให้เวลาแยกเคลียริงเฮาส์ออกจาก สปสช.ด้าน รบ.อัดงบประมาณให้ 50 ล้านบาท พร้อมเงินอุดหนุนจากการเก็บค่าบริการ 3 กองทุนอีก 150 ล้านบาท และกองทุนท้องถิ่นอีก 105 ล้านบาท รวมเป็น 305 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบ เผยอาจแยกออกมาเป็นรูปแบบองค์การมหาชน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา มีการพิจารณาการทำหน้าที่ของ สปสช.ในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุข (เคลียริงเฮาส์) เพราะเดิมทีรัฐบาลได้มอบให้ สปสช.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการเบิกจ่ายการให้บริการฉุกเฉิน 3 กองทุน ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยทำหน้าที่สำรองจ่ายให้โรงพยาบาลต่างๆ ก่อนเรียกเก็บไปยังสองกองทุน ซึ่งเกิดข้อกังวลว่าการทำหน้าที่เบิกจ่ายกลาง จำเป็นต้องทำโดยหน่วยงานอิสระหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มแรกให้ประเทศมีการจัดทำระบบการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุขระดับชาติขึ้น (National Clearing House) เพื่อจะได้มีการบริหารค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแท้จริง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมมีมติว่า หน่วยงานในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายฯ จะต้องมีความเป็นอิสระ แยกส่วนออกมาจาก สปสช.โดยให้เวลา 1 ปีในการเตรียมพร้อมก่อนแยกตัวออกมาในวันที่ 1 ต.ค.2557 ซึ่งอาจแยกออกมาในรูปองค์การมหาชน อาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นองค์กรบริหารข้อมูลสุขภาพแห่งชาติก็เป็นได้ ซึ่งระหว่างนี้ สปสช.จะทำหน้าที่พัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเริ่มเดินหน้าระบบเคลียริงเฮาส์ ทั้งกรณีการบริการฉุกเฉิน 3 กองทุน ที่จะเน้นในเรื่องการวินิจฉัยสิทธิเพื่อยืนยันระดับเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งการพัฒนาและดำเนินการบูรณาการ 3 กองทุน ทั้งมะเร็ง ไตวาย ผู้ป่วยเอดส์ โดยระบบจะเดินหน้าในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ก่อนจะยกระดับเป็นเคลียริงเฮาส์ระดับชาติต่อไป
“สำหรับงบประมาณในการเตรียมพร้อมดำเนินการเคลียริงเฮาส์ เบื้องต้นรัฐบาลให้งบภารกิจพิเศษนี้ประมาณ 50 ล้านบาท และมีเงินอุดหนุนอีก 150 ล้าน จากการเก็บค่าบริการของ 3 กองทุน และจากกองทุนท้องถิ่นอีก 105 ล้าน ทั้งหมดเป็นการเตรียมระบบเคลียริงเฮาส์ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากภารกิจด้านเคลียริงเฮาส์ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการทำหน้าที่ดูแลผู้อยู่ในสิทธิ อปท.จำเป็นต้องมีบุคลากรในการทำหน้าที่ดังกล่าว ในการประชุมจึงมีมติขอเพิ่มอัตรากำลังคนอีก 44 อัตรา โดยให้เป็นภารกิจชั่วคราว 1 ปีก่อน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา มีการพิจารณาการทำหน้าที่ของ สปสช.ในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุข (เคลียริงเฮาส์) เพราะเดิมทีรัฐบาลได้มอบให้ สปสช.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการเบิกจ่ายการให้บริการฉุกเฉิน 3 กองทุน ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยทำหน้าที่สำรองจ่ายให้โรงพยาบาลต่างๆ ก่อนเรียกเก็บไปยังสองกองทุน ซึ่งเกิดข้อกังวลว่าการทำหน้าที่เบิกจ่ายกลาง จำเป็นต้องทำโดยหน่วยงานอิสระหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลตั้งแต่เริ่มแรกให้ประเทศมีการจัดทำระบบการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุขระดับชาติขึ้น (National Clearing House) เพื่อจะได้มีการบริหารค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแท้จริง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมมีมติว่า หน่วยงานในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายฯ จะต้องมีความเป็นอิสระ แยกส่วนออกมาจาก สปสช.โดยให้เวลา 1 ปีในการเตรียมพร้อมก่อนแยกตัวออกมาในวันที่ 1 ต.ค.2557 ซึ่งอาจแยกออกมาในรูปองค์การมหาชน อาจออกเป็นพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นองค์กรบริหารข้อมูลสุขภาพแห่งชาติก็เป็นได้ ซึ่งระหว่างนี้ สปสช.จะทำหน้าที่พัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเริ่มเดินหน้าระบบเคลียริงเฮาส์ ทั้งกรณีการบริการฉุกเฉิน 3 กองทุน ที่จะเน้นในเรื่องการวินิจฉัยสิทธิเพื่อยืนยันระดับเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งการพัฒนาและดำเนินการบูรณาการ 3 กองทุน ทั้งมะเร็ง ไตวาย ผู้ป่วยเอดส์ โดยระบบจะเดินหน้าในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ก่อนจะยกระดับเป็นเคลียริงเฮาส์ระดับชาติต่อไป
“สำหรับงบประมาณในการเตรียมพร้อมดำเนินการเคลียริงเฮาส์ เบื้องต้นรัฐบาลให้งบภารกิจพิเศษนี้ประมาณ 50 ล้านบาท และมีเงินอุดหนุนอีก 150 ล้าน จากการเก็บค่าบริการของ 3 กองทุน และจากกองทุนท้องถิ่นอีก 105 ล้าน ทั้งหมดเป็นการเตรียมระบบเคลียริงเฮาส์ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากภารกิจด้านเคลียริงเฮาส์ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการทำหน้าที่ดูแลผู้อยู่ในสิทธิ อปท.จำเป็นต้องมีบุคลากรในการทำหน้าที่ดังกล่าว ในการประชุมจึงมีมติขอเพิ่มอัตรากำลังคนอีก 44 อัตรา โดยให้เป็นภารกิจชั่วคราว 1 ปีก่อน” รมว.สาธารณสุข กล่าว