นักวิชาการเสนอหากระเป๋าเงินใบใหม่ให้ระบบประกันสุขภาพ เล็งเก็บภาษี “ค่ายมือถือ-ค่ายสัญญาณโทรศัพท์-น้ำอัดลม-ฟาสต์ฟูด” จากผู้ประกอบการ หวังสำรองป้องกันเหตุฉุกเฉินรัฐถังแตก
วันนี้ (1 ก.ค.) ที่มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวในการเสวนาสาธารณะ เรื่อง “คิดใหม่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย” ว่า การคิดใหม่ในเรื่องระบบประกันสุขภาพของไทยอาจเน้นใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.ศึกษาความเป็นได้ในการหาแหล่งการคลังสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ เช่นเดียวกับภาษีทั่วไปที่เป็นแหล่งการคลังสำคัญของระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน อาทิ การเก็บภาษีธุรกรรมจากตลาดหลักทรัพย์ การเก็บภาษีจากอาหารที่ทำลายสุขภาพ เช่น น้ำอัดลม ฟาสต์ฟูด นอกจากนี้ อาจต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการเก็บภาษีจากการเดินทางโดยเครื่องบิน หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือโทรคมนาคม โดยเป็นการเก็บจากผู้ประกอบกิจการไม่ใช่ผู้ใช้บริการ
2.ภาระโรคและสภาพการเจ็บป่วยของคนไทย โดยทิศทางการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อัตราประชากรผู้สูงอายุก็สูงขึ้นเช่นกัน องค์กรประกันสุขภาพ จึงต้องลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.พัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมากขึ้น เพราะปี 2555 กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่มีหลักประกันฯ อีกกว่า 2 ล้านคน แต่โรงพยาบาลของรัฐต้องให้บริการรักษาพยาบาล จนก่อภาระทางการเงินให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะตามชายแดนและในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก
“การหาแหล่งคลังใหม่ในเรื่องของการเก็บภาษีนั้น ควรระบุให้ชัดเจนว่านำมาใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ เหมือนกับที่มีการระบุว่านำภาษีเหล้า บุหรี่ มาใช้เป็นกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ แทนที่จะใช้แหล่งเงินจากภาษีทั่วไปอย่างเดียว เพื่อที่ในอนาคตหากมีวิกฤตเศรษฐกิจ หรือรายได้ของรัฐไม่เพียงพอ จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหากับการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพ” นพ.ภูษิต กล่าว
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำของระบบหลักประกันสุขภาพไทยที่มี 3 กองทุน ได้แก่ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ต้องมีระบบประกันสุขภาพระบบเดียว โดยไม่จำเป็นต้องรวม 3 กองทุน โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นแกนหลักในการพัฒนาระบบ จัดชุดสิทธิประโยชน์กลางที่เหมือนกันในทุกกองทุน แต่หากกองทุนใดต้องการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมก็สามารถดำเนินการได้โดยระบุเป็นเงื่อนไขของสิทธิพิเศษ (add ons) โดยทุกกองทุนจ่ายเงินด้านสุขภาพให้ สปสช.เป็นผู้บริหารจัดการ ส่วนการร่วมจ่ายของผู้ป่วย (co-payment) ถ้าเป็นระบบงบประมาณปลายปิดอย่างหลักประกันสุขภาพฯ หรือประกันสังคมไม่มีความจำเป็น เพราะไม่ได้ช่วยเรื่องการเงินของระบบ
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวว่า การออกแบบระบบประกันสุขภาพที่ดี ควรเน้นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็ง โดยต้องทำให้ทั้ง 3 กองทุนประกันสุขภาพเห็นตรงกันว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะให้ประชาชนไปใช้บริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิก่อนไปสถานพยาบาลใหญ่ๆ ซึ่งทั้ง 3 กองทุนจะต้องหาวิธีการจ่ายเงินที่ช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิเข้มแข็ง เช่น การจ่ายงบประมาณให้หน่วยบริการต้องเอื้อให้เกิดนวัตกรรมในการดูแลประชาชน จากนั้นพัฒนาระบบการส่งต่อ ที่เป็นเครือข่ายและยอมรับว่าจะรับส่งต่อภายใต้กติกาการเงินที่เหมือนกันในทุกกองทุน ที่สำคัญ หน่วยบริการปฐมภูมิต้องมีทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ผูกขาดโดยกระทรวงสาธารณสุข
วันนี้ (1 ก.ค.) ที่มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวในการเสวนาสาธารณะ เรื่อง “คิดใหม่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย” ว่า การคิดใหม่ในเรื่องระบบประกันสุขภาพของไทยอาจเน้นใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.ศึกษาความเป็นได้ในการหาแหล่งการคลังสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ เช่นเดียวกับภาษีทั่วไปที่เป็นแหล่งการคลังสำคัญของระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน อาทิ การเก็บภาษีธุรกรรมจากตลาดหลักทรัพย์ การเก็บภาษีจากอาหารที่ทำลายสุขภาพ เช่น น้ำอัดลม ฟาสต์ฟูด นอกจากนี้ อาจต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการเก็บภาษีจากการเดินทางโดยเครื่องบิน หรือการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือโทรคมนาคม โดยเป็นการเก็บจากผู้ประกอบกิจการไม่ใช่ผู้ใช้บริการ
2.ภาระโรคและสภาพการเจ็บป่วยของคนไทย โดยทิศทางการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อัตราประชากรผู้สูงอายุก็สูงขึ้นเช่นกัน องค์กรประกันสุขภาพ จึงต้องลงทุนในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ 3.พัฒนานโยบายหลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวมากขึ้น เพราะปี 2555 กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่มีหลักประกันฯ อีกกว่า 2 ล้านคน แต่โรงพยาบาลของรัฐต้องให้บริการรักษาพยาบาล จนก่อภาระทางการเงินให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะตามชายแดนและในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก
“การหาแหล่งคลังใหม่ในเรื่องของการเก็บภาษีนั้น ควรระบุให้ชัดเจนว่านำมาใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ เหมือนกับที่มีการระบุว่านำภาษีเหล้า บุหรี่ มาใช้เป็นกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ แทนที่จะใช้แหล่งเงินจากภาษีทั่วไปอย่างเดียว เพื่อที่ในอนาคตหากมีวิกฤตเศรษฐกิจ หรือรายได้ของรัฐไม่เพียงพอ จะได้ไม่ต้องเกิดปัญหากับการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพ” นพ.ภูษิต กล่าว
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำของระบบหลักประกันสุขภาพไทยที่มี 3 กองทุน ได้แก่ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ต้องมีระบบประกันสุขภาพระบบเดียว โดยไม่จำเป็นต้องรวม 3 กองทุน โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นแกนหลักในการพัฒนาระบบ จัดชุดสิทธิประโยชน์กลางที่เหมือนกันในทุกกองทุน แต่หากกองทุนใดต้องการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมก็สามารถดำเนินการได้โดยระบุเป็นเงื่อนไขของสิทธิพิเศษ (add ons) โดยทุกกองทุนจ่ายเงินด้านสุขภาพให้ สปสช.เป็นผู้บริหารจัดการ ส่วนการร่วมจ่ายของผู้ป่วย (co-payment) ถ้าเป็นระบบงบประมาณปลายปิดอย่างหลักประกันสุขภาพฯ หรือประกันสังคมไม่มีความจำเป็น เพราะไม่ได้ช่วยเรื่องการเงินของระบบ
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวว่า การออกแบบระบบประกันสุขภาพที่ดี ควรเน้นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็ง โดยต้องทำให้ทั้ง 3 กองทุนประกันสุขภาพเห็นตรงกันว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะให้ประชาชนไปใช้บริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิก่อนไปสถานพยาบาลใหญ่ๆ ซึ่งทั้ง 3 กองทุนจะต้องหาวิธีการจ่ายเงินที่ช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิเข้มแข็ง เช่น การจ่ายงบประมาณให้หน่วยบริการต้องเอื้อให้เกิดนวัตกรรมในการดูแลประชาชน จากนั้นพัฒนาระบบการส่งต่อ ที่เป็นเครือข่ายและยอมรับว่าจะรับส่งต่อภายใต้กติกาการเงินที่เหมือนกันในทุกกองทุน ที่สำคัญ หน่วยบริการปฐมภูมิต้องมีทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ผูกขาดโดยกระทรวงสาธารณสุข