“กมธ.สาธารณสุข เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงการตรวจสอบสารปนเปื้อนในข้าว ด้านผู้เชี่ยวด้านอาหารสุ่มตัวอย่างข้าวในร้านค้าปลีก 54 ตัวอย่าง ยืนยันมีความปลอดภัย ขณะที่ อย.ยืนยันมีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพข้าว”
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งมีนายเจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นประธาน เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริษัท ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย จำกัด เข้าชี้แจงถึงการตรวจสอบสารปนเปื้อนในข้าว
โดยนางกนกพร อภิสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานอาหาร ผู้แทนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ข้าวสารบรรจุถุงยี่ห้อต่างๆ และข้าวสารบรรจุกระสอบชั่งขาย จากการสุ่มตัวอย่างข้าวในร้านค้าปลีก และ ซูเปอร์มาร์เก็ตใน กทม.และปริมณฑล จำนวนกว่า 54 ตัวอย่าง ยืนยันได้ว่าข้าวทุกตัวอย่างมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งไม่พบสารฟอสฟีนที่ใช้รมข้าว ไม่พบการตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และไม่พบสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซิน ส่วนผลการตรวจจำนวนยีสต์และเชื้อราในข้าวสารถุง ข้าวสารบรรจุกระสอบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกิน 1,000 cfu ต่อกรัม ส่วนผลการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าในข้าวตรวจพบว่ามีมอดฟันเลื่อยมีชีวิต ชิ้นส่วนแมลง และขนสัตว์ปะปนบ้าง แต่อยู่ในปริมาณที่พบน้อยมาก ซึ่งน้อยกว่าที่พบในตัวอย่างของเส้นพาสต้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ขณะที่ ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า ทาง อย.มีการกำหนดมาตรฐานในการดูแลคุณภาพข้าวตามมาตรฐาน อย.ซึ่งในส่วนของข้าวถุงนั้น สถานที่บรรจุจะต้องมีมาตรฐานและผ่านการขออนุญาต ซึ่งต้องมีฉลากรับรองจาก อย.โดยที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจข้าวบรรจุถุงยี่ห้อต่างๆ เป็นประจำทุกปี กว่า 100 ตัวอย่าง และไม่พบว่ามีอันตรายจากสารตกค้าง หรือพบสิ่งแปลกปลอมบ้างแต่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ข้าวจำหน่ายในท้องตลาดจึงมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
ด้านตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร ระบุถึงขั้นตอนในการเก็บรักษาข้าว ที่มีการใช้สารฟอสฟีน และเมทิลโบรไมด์ ในการรมควันข้าวนั้น มีการกำหนดปริมาณมาตรฐานไว้ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่รับจ้างรมควันข้าว ต้องผ่านการอบรมจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งยืนยันว่าสารที่ใช้รมควันไม่ตกค้าง เพราะจะระเหยตามธรรมชาติ ส่วนจะมีระยะในการรมข้าวมากน้อยอย่างไรนั้น เป็นความรับผิดชอบของทาง อคส.
ขณะที่ นายเอกชาติ นาคาไชย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย จำกัด ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบของห้องปฏิบัติการกลาง โดยชี้แจงว่า ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน ทำให้ นายเจตน์ มองว่า การปกปิดข้อมูลลดังกล่าว ทำให้ตนเชื่อว่า ข้าวมีความผิดปกติ เพราะถ้าไม่ผิดปกติ ก็ต้องสามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างสบายใจ
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลการตรวจสอบสารปนเปื้อน ทั้งชื่อร้านค้า โรงสี จังหวัด วันเวลาที่ตรวจสอบข้าวโดยละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร เสนอต่อกรรมาธิการ
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งมีนายเจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นประธาน เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และบริษัท ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย จำกัด เข้าชี้แจงถึงการตรวจสอบสารปนเปื้อนในข้าว
โดยนางกนกพร อภิสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานอาหาร ผู้แทนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ข้าวสารบรรจุถุงยี่ห้อต่างๆ และข้าวสารบรรจุกระสอบชั่งขาย จากการสุ่มตัวอย่างข้าวในร้านค้าปลีก และ ซูเปอร์มาร์เก็ตใน กทม.และปริมณฑล จำนวนกว่า 54 ตัวอย่าง ยืนยันได้ว่าข้าวทุกตัวอย่างมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งไม่พบสารฟอสฟีนที่ใช้รมข้าว ไม่พบการตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และไม่พบสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซิน ส่วนผลการตรวจจำนวนยีสต์และเชื้อราในข้าวสารถุง ข้าวสารบรรจุกระสอบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกิน 1,000 cfu ต่อกรัม ส่วนผลการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าในข้าวตรวจพบว่ามีมอดฟันเลื่อยมีชีวิต ชิ้นส่วนแมลง และขนสัตว์ปะปนบ้าง แต่อยู่ในปริมาณที่พบน้อยมาก ซึ่งน้อยกว่าที่พบในตัวอย่างของเส้นพาสต้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ขณะที่ ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า ทาง อย.มีการกำหนดมาตรฐานในการดูแลคุณภาพข้าวตามมาตรฐาน อย.ซึ่งในส่วนของข้าวถุงนั้น สถานที่บรรจุจะต้องมีมาตรฐานและผ่านการขออนุญาต ซึ่งต้องมีฉลากรับรองจาก อย.โดยที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจข้าวบรรจุถุงยี่ห้อต่างๆ เป็นประจำทุกปี กว่า 100 ตัวอย่าง และไม่พบว่ามีอันตรายจากสารตกค้าง หรือพบสิ่งแปลกปลอมบ้างแต่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ข้าวจำหน่ายในท้องตลาดจึงมีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
ด้านตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร ระบุถึงขั้นตอนในการเก็บรักษาข้าว ที่มีการใช้สารฟอสฟีน และเมทิลโบรไมด์ ในการรมควันข้าวนั้น มีการกำหนดปริมาณมาตรฐานไว้ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่รับจ้างรมควันข้าว ต้องผ่านการอบรมจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งยืนยันว่าสารที่ใช้รมควันไม่ตกค้าง เพราะจะระเหยตามธรรมชาติ ส่วนจะมีระยะในการรมข้าวมากน้อยอย่างไรนั้น เป็นความรับผิดชอบของทาง อคส.
ขณะที่ นายเอกชาติ นาคาไชย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย จำกัด ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบของห้องปฏิบัติการกลาง โดยชี้แจงว่า ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อน ทำให้ นายเจตน์ มองว่า การปกปิดข้อมูลลดังกล่าว ทำให้ตนเชื่อว่า ข้าวมีความผิดปกติ เพราะถ้าไม่ผิดปกติ ก็ต้องสามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างสบายใจ
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลการตรวจสอบสารปนเปื้อน ทั้งชื่อร้านค้า โรงสี จังหวัด วันเวลาที่ตรวจสอบข้าวโดยละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษร เสนอต่อกรรมาธิการ