โดย...ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
ห้องเรียนเล็กๆ หัวมุมชั้นล่างของอาคารปูนสองชั้นหลังนั้นเปิดไฟสว่าง มู่ลี่ที่แขวนไว้แกว่งไปมาตามแรงลมปะทะกับขอบประตูเป็นจังหวะ เด็กนักเรียนชายหญิงราว 15 คนนั่งเป็นวง ล้อมคุณครูที่กำลังถือแผ่นภาพสัตว์ชนิดต่างๆ ให้นักเรียนขานชื่อตาม ถ้ามองจากภายนอก เด็กกลุ่มนี้ก็คือเด็กปกติคนหนึ่งไม่ต่างจากเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียน
แต่แท้ที่จริงแล้ว เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กกลุ่มพิเศษที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง หรือที่รู้จักกันว่า “ออทิสติก”
อุบัติการณ์การเกิด “ออทิสติก” ในประเทศไทยพบออทิสติกได้ราว 4-5 คนในประชากร 10,000 คน* พบในชายมากกว่าหญิงประมาณ 4 เท่า ไม่จำกัดฐานะและเชื้อชาติ เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือพิเศษเพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งทางด้านชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ โดยออกแบบการดูแลการช่วยเหลือเด็กตามลักษณะความจำเป็นและความต้องการของเด็กแต่ละคน ซึ่งหากสังเกตพบความผิดปกติได้เร็วและนำมารับการบำบัดรักษาตั้งแต่ยังอายุน้อย จะสามารถกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
ปัญหาก็คือ ยังคงมีเด็กออทิสติกจำนวนหนึ่งไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา อาจเป็นเพราะผู้ปกครองไม่ทราบว่าลักษณะเช่นนี้คือความผิดปกติ หรืออาจเป็นเพราะไม่ยอมรับว่าอาการแสดงของลูกหลานคือความผิดปกติ เพราะไม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกได้ ต้องสังเกตจากพฤติกรรมว่ามีพัฒนาการเป็นไปตามวัยหรือไม่ เช่นเมื่อเด็กอายุเกิน 1 ขวบ และมีพฤติกรรมไม่สบตา พูดช้าหรือไม่พูด ไม่ออกเสียงหรือออกเสียงเพียงสั้นๆ ไม่สนใจใคร ไม่เล่นกับใคร ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ สีหน้าเฉยเมย ก็อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าสังเกตอาการและพามาพบกับจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
ปัญหาด้านสาธารณสุขในปัจจุบันไม่ได้จำกัดวงความรับผิดชอบอยู่เพียงกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ต้องการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานทางสังคมอื่นๆ อย่างใกล้ชิด เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ด้วยการทำงานในลักษณะของเครือข่ายในการให้ความรู้ ความเข้าใจกับผู้ปกครองในการสังเกตบุตรหลาน เพื่อคัดกรองเด็กพิเศษให้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา มีการจัดการศึกษาโดยให้เด็กพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับเด็กปกติเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และสอนให้เด็กปกติเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเครือข่ายการดูแลพัฒนาการเด็กในระดับชุมชน-ระดับหน่วยบริการ” ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีการทำงานในระดับพื้นที่ของเครือข่ายการดูแล “เด็กพิเศษ” เพื่อสนับสนุนแนวคิดของนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการจัดระบบบริการเด็กพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้เกิดกระบวนการค้นหา คัดกรองและการให้บริการบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและมั่นคง
การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างสมดุล นอกเหนือจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว การบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรมนุษย์เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ
เด็กพิเศษ ต้องการการดูแลแบบพิเศษ เริ่มที่การสังเกตคนใกล้ตัวและรีบนำเข้าสู่กระบวนการรักษา ยิ่งเร็วก็ยิ่งดีนะครับ
ห้องเรียนเล็กๆ หัวมุมชั้นล่างของอาคารปูนสองชั้นหลังนั้นเปิดไฟสว่าง มู่ลี่ที่แขวนไว้แกว่งไปมาตามแรงลมปะทะกับขอบประตูเป็นจังหวะ เด็กนักเรียนชายหญิงราว 15 คนนั่งเป็นวง ล้อมคุณครูที่กำลังถือแผ่นภาพสัตว์ชนิดต่างๆ ให้นักเรียนขานชื่อตาม ถ้ามองจากภายนอก เด็กกลุ่มนี้ก็คือเด็กปกติคนหนึ่งไม่ต่างจากเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียน
แต่แท้ที่จริงแล้ว เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กกลุ่มพิเศษที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง หรือที่รู้จักกันว่า “ออทิสติก”
อุบัติการณ์การเกิด “ออทิสติก” ในประเทศไทยพบออทิสติกได้ราว 4-5 คนในประชากร 10,000 คน* พบในชายมากกว่าหญิงประมาณ 4 เท่า ไม่จำกัดฐานะและเชื้อชาติ เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือพิเศษเพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งทางด้านชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ โดยออกแบบการดูแลการช่วยเหลือเด็กตามลักษณะความจำเป็นและความต้องการของเด็กแต่ละคน ซึ่งหากสังเกตพบความผิดปกติได้เร็วและนำมารับการบำบัดรักษาตั้งแต่ยังอายุน้อย จะสามารถกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
ปัญหาก็คือ ยังคงมีเด็กออทิสติกจำนวนหนึ่งไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา อาจเป็นเพราะผู้ปกครองไม่ทราบว่าลักษณะเช่นนี้คือความผิดปกติ หรืออาจเป็นเพราะไม่ยอมรับว่าอาการแสดงของลูกหลานคือความผิดปกติ เพราะไม่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกได้ ต้องสังเกตจากพฤติกรรมว่ามีพัฒนาการเป็นไปตามวัยหรือไม่ เช่นเมื่อเด็กอายุเกิน 1 ขวบ และมีพฤติกรรมไม่สบตา พูดช้าหรือไม่พูด ไม่ออกเสียงหรือออกเสียงเพียงสั้นๆ ไม่สนใจใคร ไม่เล่นกับใคร ไม่มีการตอบสนองทางอารมณ์ สีหน้าเฉยเมย ก็อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าสังเกตอาการและพามาพบกับจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
ปัญหาด้านสาธารณสุขในปัจจุบันไม่ได้จำกัดวงความรับผิดชอบอยู่เพียงกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น หากแต่ต้องการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานทางสังคมอื่นๆ อย่างใกล้ชิด เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ด้วยการทำงานในลักษณะของเครือข่ายในการให้ความรู้ ความเข้าใจกับผู้ปกครองในการสังเกตบุตรหลาน เพื่อคัดกรองเด็กพิเศษให้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา มีการจัดการศึกษาโดยให้เด็กพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับเด็กปกติเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และสอนให้เด็กปกติเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างเครือข่ายการดูแลพัฒนาการเด็กในระดับชุมชน-ระดับหน่วยบริการ” ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีการทำงานในระดับพื้นที่ของเครือข่ายการดูแล “เด็กพิเศษ” เพื่อสนับสนุนแนวคิดของนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการจัดระบบบริการเด็กพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้เกิดกระบวนการค้นหา คัดกรองและการให้บริการบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและมั่นคง
การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างสมดุล นอกเหนือจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว การบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรมนุษย์เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ
เด็กพิเศษ ต้องการการดูแลแบบพิเศษ เริ่มที่การสังเกตคนใกล้ตัวและรีบนำเข้าสู่กระบวนการรักษา ยิ่งเร็วก็ยิ่งดีนะครับ