“ชาญวิทย์” เสนอแผนดูแลเด็กออทิสติก 3 ระยะ พร้อมแนะ กทม.ควรเปิดโลกทัศน์ให้มากกว่านี้ และควรจะพัฒนาความรู้ของครูใน กทม.ไปพร้อมๆกัน
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประจำโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่าในการประชุมร่วมองค์กรเด็กออทิสติก กับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตนได้เสนอแผนในการดูแลเด็กออทิสติกออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ คือ 1.แผนระยะสั้น คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารในโรงเรียน โดยจะต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ปรับวิธีการประเมินโรงเรียนและเพิ่มศักยภาพในความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กปกติและเด็กออทิสติก มีการพัฒนา ศักยภาพครูโดยการปรับทัศนคติมุมมองที่มีต่อเด็ก ตลอดจนเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับสอนเด็กกลุ่มดังกล่าวให้มีคุณภาพ รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์อาจจะต้องเพิ่มจิตแพทย์เข้าไปในโรงเรียน เพื่อลดปัญหาความล้าช้าในการให้บริการ 2.ระยะกลาง กทม.เองจะต้องเชื่อมโยงกับทางมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแพทย์เฉพาะทางด้านนี้โดยตรง ส่งเสริมกระบวนการในกลุ่มครูและจัดให้มีเวทีสำหรับเด็กกลุ่มนี้ได้แสดงออก รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยเพราะตนมองว่าหากไม่มีการวิจัยจะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา และควรจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 3.แผนระยะยาว กทม.อาจจะต้องเปิดสถาบันการอบรม หรือผลิตครูที่จะมาสอนเรื่องนี้เองโดยตรง ขยายผลระบบต้นแบบบนพื้นฐานงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ตนมองว่า กทม.ควรจะเปิดโลกทัศน์ให้มากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมายังขาดความเชื่อมโยงระหว่าง กทม.และผู้ที่ดูแลเด็กออทิสติกอยู่
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นประจำโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่าในการประชุมร่วมองค์กรเด็กออทิสติก กับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตนได้เสนอแผนในการดูแลเด็กออทิสติกออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ คือ 1.แผนระยะสั้น คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารในโรงเรียน โดยจะต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ปรับวิธีการประเมินโรงเรียนและเพิ่มศักยภาพในความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กปกติและเด็กออทิสติก มีการพัฒนา ศักยภาพครูโดยการปรับทัศนคติมุมมองที่มีต่อเด็ก ตลอดจนเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับสอนเด็กกลุ่มดังกล่าวให้มีคุณภาพ รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์อาจจะต้องเพิ่มจิตแพทย์เข้าไปในโรงเรียน เพื่อลดปัญหาความล้าช้าในการให้บริการ 2.ระยะกลาง กทม.เองจะต้องเชื่อมโยงกับทางมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแพทย์เฉพาะทางด้านนี้โดยตรง ส่งเสริมกระบวนการในกลุ่มครูและจัดให้มีเวทีสำหรับเด็กกลุ่มนี้ได้แสดงออก รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยเพราะตนมองว่าหากไม่มีการวิจัยจะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา และควรจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 3.แผนระยะยาว กทม.อาจจะต้องเปิดสถาบันการอบรม หรือผลิตครูที่จะมาสอนเรื่องนี้เองโดยตรง ขยายผลระบบต้นแบบบนพื้นฐานงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ตนมองว่า กทม.ควรจะเปิดโลกทัศน์ให้มากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมายังขาดความเชื่อมโยงระหว่าง กทม.และผู้ที่ดูแลเด็กออทิสติกอยู่