โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
หลายคนอาจเคยผ่านตากับข่าวการกักขังหน่วงเหนี่ยว การใช้โซ่ล่ามพันธนาการผู้ป่วยจิตเวช หรือคนบ้าเอาไว้ภายในบ้านตามหน้าจอโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เป็นบ้าเพราะเกิดเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง หรือเกิดจากการใช้ยา แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ “บ้า” เพราะการป่วยด้วย “โรคออทิสติก” เพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือเข้าไม่ถึงบริการ
สำหรับโรคออทิสติก เป็นโรคทางจิตเวชเด็ก คือเด็กที่มีการพัฒนาการล่าช้า หรือมีพัฒนาการบกพร่องอย่างรอบด้าน จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารไม่เป็นปกติ
ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของเด็กออทิสติก พบได้ 1:2,000 ของประชากรเด็ก พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่า และจากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยนอกออทิสติกของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน มารับบริการ 28,005 ครั้ง ปี 2554 จำนวน 12,531 คน มารับบริการ 75,817 ครั้ง และปี 2555 จำนวน 15,234 คน มารับบริการ 108,298 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยระดับของเด็กออทิสติก นางปิยนุช อิสริยะวาณิช พยาบาลชำนาญการพิเศษ รพ.ระนอง ระบุว่า มีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับ คือ 1.รุนแรง คือเด็กจะไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องมีผู้ดูแล เพราะมีอาการและพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ต้องใช้ยาริสเพอริโดน (Risperidone) เพื่อควบคุมพฤติกรรม ร่วมกับการบำบัดและพัฒนา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช 100% 2.ปานกลาง เด็กสามารถดูแลตัวเองได้ อาจต้องจ่ายยาตามอาการ และ 3.น้อย เด็กอาจไม่ต้องใช้ยาเพื่อควบคุมพฤติกรรม เพียงแต่ใช้วิธีการบำบัดและพัฒนาเท่านั้น แต่หากมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยก็จำเป็นต้องใช้ยา
นางปิยนุช เล่าอีกว่า สำหรับการดูแลเด็กออทิสติกแบบครบวงจรของ รพ.ระนอง นั้น จะบูรณาการทำงานระหว่างจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด และนักจิตวิทยา ร่วมกับครอบครัว โรงเรียนและชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเด็กพิเศษร่วมกัน อย่างพ่อแม่ และครูก็จะแนะวิธีสังเกตอาการว่า เด็กจะมีอาการไม่จ้อง ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หรือภาษาไม่ดี อยู่แต่ในโลกส่วนตัว และมีพฤติกรรมแปลกๆ เรื่องสังคมหรือไม่ เช่น ปรับตัวยาก เพราะออทิสติกไม่ได้สังเกตได้ชัดเหมือนดาวน์ซินโดรม แต่ผลจากการดำเนินงานก็พบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างได้มากขึ้น
“ส่วนการกระตุ้นพัฒนาการ รพ.ระนอง ผู้ปกครอง และครู จะดำเนินการเหมือนกัน คือพยายามให้เด็กได้ทำการสื่อสาร บางทีเรารู้ว่าเด็กต้องการอะไร แต่เราจะไม่ทำแบบรู้ใจกันมากเกินไป เด็กอยากได้อะไรก็ไปหยิบ ไปทำให้เลย แต่เราจะให้เด็กได้ทำการสื่อสารกับเราก่อน เพราะหากไม่ฝึกตรงนี้ ต่อไปเมื่อโตขึ้นเขาก็จะสื่อสารกับใครไม่ได้เลย ซึ่งขณะนี้เราพยายามที่จะค้นหาผู้ป่วยให้เจอเร็วขึ้น เพราะยิ่งเจอเร็วก็จะช่วยให้การกระตุ้นพัฒนาการได้ผลดีขึ้นจนอาจเหมือนเด็กปกติ”
เห็นได้ชัดจากลูกชายของ น.ส.ทิพยา สุขเต็ม ชาวระนอง ซึ่งป่วยออทิสติก โดยผู้เป็นแม่ เล่าว่า ลูกชายคนโตอายุ 8 ขวบแล้ว การสื่อสารเริ่มดีขึ้น สามารถพูดได้บ้าง รู้ว่าใครเป็นพ่อ แม่ หรือน้อง สามารถใช้ไปหยิบของ กินข้าวเอง ใส่เสื้อผ้าเองได้ ตรงนี้เป็นเพราะเรารู้เร็วว่าลูกมีอาการเข้าข่ายออทิสติกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ คือ เวลาเรียกไม่หัน พูดช้า จึงนำมากระตุ้นพัฒนาการที่ รพ.ระนอง ก็ช่วยให้พัฒนาการดีขึ้น ส่วนลูกชายคนเล็กอายุ 2 ขวบกว่าแล้ว รู้ว่าป่วยออทิสติกตอนอายุ 1 ขวบกว่า ซึ่งก็คงใช้แนวทางการรักษากระตุ้นพัฒนาการเหมือนอย่างพี่ชาย การสื่อสารก็น่าจะดีขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นอกจากการกระตุ้นพัฒนาการในโรงพยาบาลและที่บ้านแล้ว โรงเรียนก็เป็นสถานที่อีกแห่งที่มีความสำคัญ โดยเด็กออทิสติกสามารถเรียนรวมกับเด็กธรรมดาได้ตามปกติ ซึ่ง นางสุลีลา จันทนู ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางกลาง จ.ระนอง เปิดเผยว่า ที่นี่มีการเรียนร่วมระหว่างเด็กธรรมดาและเด็กพิเศษ โดยมีครูพี่เลี้ยงที่จบด้านการศึกษาพิเศษมาโดยเฉพาะ แต่หากวิชาใดที่เด็กไม่สามารถเรียนได้ ก็จะแยกออกมาสอนกับครูพี่เลี้ยงต่างหาก ซึ่งล่าสุดในโรงเรียนมีเด็กพิเศษอยู่ 15 คน มีเพียง 4 คนเท่านั้นที่สามารถเรียนร่วมกับนักเรียนธรรมดาได้คือ ชั้นอนุบาล ป.2 ป.4 และ ป.5
หากทั่วประเทศเดินหน้าค้นหาและดูแลเด็กออทิสติกแบบ จ.ระนอง เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการเป็นผู้ป่วยจิตเวชในอนาคตได้ ซึ่ง สปสช.ก็พยายามผลักดันให้เกิดการเข้าถึงบริการที่มากขึ้น โดย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า การตั้งกองทุนเฉพาะโรคด้านออทิสติกต้องพิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องการหยิบยกสิทธิประโยชน์มาสร้างการบริหารจัดการเป็นพิเศษ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเข้าถึงสิทธิ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11-12 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการระดมความคิดเห็นกันในเรื่องนี้ ก็คงจะได้ระบบการดูแลพัฒนาการเด็ก/เด็กพิเศษอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
หลายคนอาจเคยผ่านตากับข่าวการกักขังหน่วงเหนี่ยว การใช้โซ่ล่ามพันธนาการผู้ป่วยจิตเวช หรือคนบ้าเอาไว้ภายในบ้านตามหน้าจอโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เป็นบ้าเพราะเกิดเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง หรือเกิดจากการใช้ยา แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ “บ้า” เพราะการป่วยด้วย “โรคออทิสติก” เพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือเข้าไม่ถึงบริการ
สำหรับโรคออทิสติก เป็นโรคทางจิตเวชเด็ก คือเด็กที่มีการพัฒนาการล่าช้า หรือมีพัฒนาการบกพร่องอย่างรอบด้าน จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารไม่เป็นปกติ
ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของเด็กออทิสติก พบได้ 1:2,000 ของประชากรเด็ก พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่า และจากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยนอกออทิสติกของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน มารับบริการ 28,005 ครั้ง ปี 2554 จำนวน 12,531 คน มารับบริการ 75,817 ครั้ง และปี 2555 จำนวน 15,234 คน มารับบริการ 108,298 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยระดับของเด็กออทิสติก นางปิยนุช อิสริยะวาณิช พยาบาลชำนาญการพิเศษ รพ.ระนอง ระบุว่า มีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับ คือ 1.รุนแรง คือเด็กจะไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องมีผู้ดูแล เพราะมีอาการและพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ต้องใช้ยาริสเพอริโดน (Risperidone) เพื่อควบคุมพฤติกรรม ร่วมกับการบำบัดและพัฒนา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช 100% 2.ปานกลาง เด็กสามารถดูแลตัวเองได้ อาจต้องจ่ายยาตามอาการ และ 3.น้อย เด็กอาจไม่ต้องใช้ยาเพื่อควบคุมพฤติกรรม เพียงแต่ใช้วิธีการบำบัดและพัฒนาเท่านั้น แต่หากมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยก็จำเป็นต้องใช้ยา
นางปิยนุช เล่าอีกว่า สำหรับการดูแลเด็กออทิสติกแบบครบวงจรของ รพ.ระนอง นั้น จะบูรณาการทำงานระหว่างจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ พยาบาลกระตุ้นพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด และนักจิตวิทยา ร่วมกับครอบครัว โรงเรียนและชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเด็กพิเศษร่วมกัน อย่างพ่อแม่ และครูก็จะแนะวิธีสังเกตอาการว่า เด็กจะมีอาการไม่จ้อง ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หรือภาษาไม่ดี อยู่แต่ในโลกส่วนตัว และมีพฤติกรรมแปลกๆ เรื่องสังคมหรือไม่ เช่น ปรับตัวยาก เพราะออทิสติกไม่ได้สังเกตได้ชัดเหมือนดาวน์ซินโดรม แต่ผลจากการดำเนินงานก็พบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างได้มากขึ้น
“ส่วนการกระตุ้นพัฒนาการ รพ.ระนอง ผู้ปกครอง และครู จะดำเนินการเหมือนกัน คือพยายามให้เด็กได้ทำการสื่อสาร บางทีเรารู้ว่าเด็กต้องการอะไร แต่เราจะไม่ทำแบบรู้ใจกันมากเกินไป เด็กอยากได้อะไรก็ไปหยิบ ไปทำให้เลย แต่เราจะให้เด็กได้ทำการสื่อสารกับเราก่อน เพราะหากไม่ฝึกตรงนี้ ต่อไปเมื่อโตขึ้นเขาก็จะสื่อสารกับใครไม่ได้เลย ซึ่งขณะนี้เราพยายามที่จะค้นหาผู้ป่วยให้เจอเร็วขึ้น เพราะยิ่งเจอเร็วก็จะช่วยให้การกระตุ้นพัฒนาการได้ผลดีขึ้นจนอาจเหมือนเด็กปกติ”
เห็นได้ชัดจากลูกชายของ น.ส.ทิพยา สุขเต็ม ชาวระนอง ซึ่งป่วยออทิสติก โดยผู้เป็นแม่ เล่าว่า ลูกชายคนโตอายุ 8 ขวบแล้ว การสื่อสารเริ่มดีขึ้น สามารถพูดได้บ้าง รู้ว่าใครเป็นพ่อ แม่ หรือน้อง สามารถใช้ไปหยิบของ กินข้าวเอง ใส่เสื้อผ้าเองได้ ตรงนี้เป็นเพราะเรารู้เร็วว่าลูกมีอาการเข้าข่ายออทิสติกตั้งแต่อายุ 2 ขวบ คือ เวลาเรียกไม่หัน พูดช้า จึงนำมากระตุ้นพัฒนาการที่ รพ.ระนอง ก็ช่วยให้พัฒนาการดีขึ้น ส่วนลูกชายคนเล็กอายุ 2 ขวบกว่าแล้ว รู้ว่าป่วยออทิสติกตอนอายุ 1 ขวบกว่า ซึ่งก็คงใช้แนวทางการรักษากระตุ้นพัฒนาการเหมือนอย่างพี่ชาย การสื่อสารก็น่าจะดีขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม นอกจากการกระตุ้นพัฒนาการในโรงพยาบาลและที่บ้านแล้ว โรงเรียนก็เป็นสถานที่อีกแห่งที่มีความสำคัญ โดยเด็กออทิสติกสามารถเรียนรวมกับเด็กธรรมดาได้ตามปกติ ซึ่ง นางสุลีลา จันทนู ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางกลาง จ.ระนอง เปิดเผยว่า ที่นี่มีการเรียนร่วมระหว่างเด็กธรรมดาและเด็กพิเศษ โดยมีครูพี่เลี้ยงที่จบด้านการศึกษาพิเศษมาโดยเฉพาะ แต่หากวิชาใดที่เด็กไม่สามารถเรียนได้ ก็จะแยกออกมาสอนกับครูพี่เลี้ยงต่างหาก ซึ่งล่าสุดในโรงเรียนมีเด็กพิเศษอยู่ 15 คน มีเพียง 4 คนเท่านั้นที่สามารถเรียนร่วมกับนักเรียนธรรมดาได้คือ ชั้นอนุบาล ป.2 ป.4 และ ป.5
หากทั่วประเทศเดินหน้าค้นหาและดูแลเด็กออทิสติกแบบ จ.ระนอง เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการเป็นผู้ป่วยจิตเวชในอนาคตได้ ซึ่ง สปสช.ก็พยายามผลักดันให้เกิดการเข้าถึงบริการที่มากขึ้น โดย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า การตั้งกองทุนเฉพาะโรคด้านออทิสติกต้องพิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องการหยิบยกสิทธิประโยชน์มาสร้างการบริหารจัดการเป็นพิเศษ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเข้าถึงสิทธิ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11-12 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการระดมความคิดเห็นกันในเรื่องนี้ ก็คงจะได้ระบบการดูแลพัฒนาการเด็ก/เด็กพิเศษอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น