นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
เมื่อโลกเปลี่ยนไป เสรีภาพมีมากขึ้น สังคมที่เล็กและแคบที่อยู่ในสายตาของคนในครอบครัวและชุมชนเช่นในอดีตไม่มีอีกต่อไป กรอบจารีตที่เคร่งครัดก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยตามเทคโนโลยีและตามกระแสการบริโภคแห่งทุน การตั้งครรภ์ในภาวะที่ไม่พร้อมหรือหรือจากความผิดพลาดในการคุมกำเนิด ทำให้นำมาสู่การตัดสินทำแท้งเถื่อน โดยผู้หญิงจำใจต้องยอมรับความเสี่ยงนั้นเองโดยไม่มีทางเลือกมากนัก
การยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้นทำได้เมื่อการตั้งครรภ์นั้นจะเป็นอันตรายต่อมารดา ซึ่งหมายถึงแม่มีโรคประจำตัวที่หากท้องแล้วอาการจะทรุดลงได้ ซึ่งมีคุณแม่ที่เข้าขายเช่นนี้น้อยมาก มีข้อถกเถียงว่าแล้วภาวะเครียด ภาวะทางจิตใจองแม่ที่ไม่พร้อมจะตั้งครรภ์นั้นจะตีความว่าเป็นอัตรายต่อสุขภาพมารดาได้หรือไม่ อันนี้ก็เป็นความคลุมเครือที่ยากจะชี้ชัดลงไป
ในต่างประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอารยะและให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนสูงที่สุดทั้งสิทธิของทารกที่จะเกิดมาและสิทธิของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ได้มีพัฒนาการของการดูแลปัญหาการทำแท้งเถื่อน จนในที่สุดจุดลงตัวของมาตรการก็มาอยู่ที่การออกกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายสำหรับครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์หรือสามเดือน แต่หากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จะอนุญาตเฉพาะกรณีการตั้งครรภ์นั้นมีผลต่อสุขภาพของแม่หรือผลการตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีความพิการหรือมีโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ นั่นหมายความว่า หากมีการตั้งครรภ์และไปตรวจที่โรงพยาบาลหากยังไม่ครบสามเดือน ก็เป็นสิทธิของหญิงคนนั้นที่จะสามารถขอทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือหากประสงค์ตั้งครรภ์ต่อไปแล้วปรากฏว่าต่อมาพบว่าการตั้งครรภ์นั้นมีอันตรายต่อแม่เช่นเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง หรือไปตรวจอัลตราซาวด์พบว่าเด็กในครรภ์พิการหรือเป็นโรคทางพันธุกรรมเช่นเป็นโรคเลือดทาลัสซีเมียหรือดาวน์ซินโดรม หรือโรคที่รักษาไม่หายเช่นท่อน้ำดีในตับอุดตัน ก็สามารถร้องขอให้แพทย์ทำแท้งให้ได้แม้อายุครรภ์มากกว่าสามเดือน
การอนุญาตให้ทำแท้งในลักษณะเช่นนี้พบในประเทศโลกตะวันตกและโลกสังคมนิยมเช่นจีน เวียดนาม คิวบา ทั้งนี้กรอบความคิดหรือหลักปรัชญาที่สำคัญในการกำหนดมาตรการเช่นนี้คือ การเคารพสิทธิของสตรีที่ตั้งครรภ์ในการกำหนดอนาคตของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของความเป็นผู้หญิง แต่ทั้งนี้ต้องก่อนอายุครรภ์สามเดือน แต่ถ้าเกินสามเดือนแล้ว สิทธิของทารกในครรภ์ก็ควรได้รับการปกป้องต่อไป และอีกเหตุผลสำคัญก็เพื่อการปิดกั้นการทำแท้งเถื่อนมากมายยากที่จะควบคุมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่อย่างมาก
อย่างไรก็ตามประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ก็ยังคงห้ามหรืออนุญาตเฉพาะกรณีที่มีผลต่อสุขภาพของแม่เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ เหรียญมีสองด้านเสมอ ความเป็นจริงอันซับซ้อนบนโลกใบนี้ก็เช่นเดียวกัน ทุกสิ่งที่มีข้อดีย่อมต้องมีข้อเสีย แค่ไหนคือความพอดีสำหรับประเทศไทย การพูดคุยสานสนทนา (dialogue) เท่านั้นที่จะนำมาซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดต่อสังคมไทย แต่กระทรวงสาธารณสุขและสังคมไทยไม่ควรซุกปัญหานี้ไว้ใต้พรมอีกต่อไป
เมื่อโลกเปลี่ยนไป เสรีภาพมีมากขึ้น สังคมที่เล็กและแคบที่อยู่ในสายตาของคนในครอบครัวและชุมชนเช่นในอดีตไม่มีอีกต่อไป กรอบจารีตที่เคร่งครัดก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยตามเทคโนโลยีและตามกระแสการบริโภคแห่งทุน การตั้งครรภ์ในภาวะที่ไม่พร้อมหรือหรือจากความผิดพลาดในการคุมกำเนิด ทำให้นำมาสู่การตัดสินทำแท้งเถื่อน โดยผู้หญิงจำใจต้องยอมรับความเสี่ยงนั้นเองโดยไม่มีทางเลือกมากนัก
การยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้นทำได้เมื่อการตั้งครรภ์นั้นจะเป็นอันตรายต่อมารดา ซึ่งหมายถึงแม่มีโรคประจำตัวที่หากท้องแล้วอาการจะทรุดลงได้ ซึ่งมีคุณแม่ที่เข้าขายเช่นนี้น้อยมาก มีข้อถกเถียงว่าแล้วภาวะเครียด ภาวะทางจิตใจองแม่ที่ไม่พร้อมจะตั้งครรภ์นั้นจะตีความว่าเป็นอัตรายต่อสุขภาพมารดาได้หรือไม่ อันนี้ก็เป็นความคลุมเครือที่ยากจะชี้ชัดลงไป
ในต่างประเทศโดยเฉพาะในทวีปยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอารยะและให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนสูงที่สุดทั้งสิทธิของทารกที่จะเกิดมาและสิทธิของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ได้มีพัฒนาการของการดูแลปัญหาการทำแท้งเถื่อน จนในที่สุดจุดลงตัวของมาตรการก็มาอยู่ที่การออกกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายสำหรับครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์หรือสามเดือน แต่หากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จะอนุญาตเฉพาะกรณีการตั้งครรภ์นั้นมีผลต่อสุขภาพของแม่หรือผลการตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีความพิการหรือมีโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ นั่นหมายความว่า หากมีการตั้งครรภ์และไปตรวจที่โรงพยาบาลหากยังไม่ครบสามเดือน ก็เป็นสิทธิของหญิงคนนั้นที่จะสามารถขอทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือหากประสงค์ตั้งครรภ์ต่อไปแล้วปรากฏว่าต่อมาพบว่าการตั้งครรภ์นั้นมีอันตรายต่อแม่เช่นเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง หรือไปตรวจอัลตราซาวด์พบว่าเด็กในครรภ์พิการหรือเป็นโรคทางพันธุกรรมเช่นเป็นโรคเลือดทาลัสซีเมียหรือดาวน์ซินโดรม หรือโรคที่รักษาไม่หายเช่นท่อน้ำดีในตับอุดตัน ก็สามารถร้องขอให้แพทย์ทำแท้งให้ได้แม้อายุครรภ์มากกว่าสามเดือน
การอนุญาตให้ทำแท้งในลักษณะเช่นนี้พบในประเทศโลกตะวันตกและโลกสังคมนิยมเช่นจีน เวียดนาม คิวบา ทั้งนี้กรอบความคิดหรือหลักปรัชญาที่สำคัญในการกำหนดมาตรการเช่นนี้คือ การเคารพสิทธิของสตรีที่ตั้งครรภ์ในการกำหนดอนาคตของตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของความเป็นผู้หญิง แต่ทั้งนี้ต้องก่อนอายุครรภ์สามเดือน แต่ถ้าเกินสามเดือนแล้ว สิทธิของทารกในครรภ์ก็ควรได้รับการปกป้องต่อไป และอีกเหตุผลสำคัญก็เพื่อการปิดกั้นการทำแท้งเถื่อนมากมายยากที่จะควบคุมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแม่อย่างมาก
อย่างไรก็ตามประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ก็ยังคงห้ามหรืออนุญาตเฉพาะกรณีที่มีผลต่อสุขภาพของแม่เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ เหรียญมีสองด้านเสมอ ความเป็นจริงอันซับซ้อนบนโลกใบนี้ก็เช่นเดียวกัน ทุกสิ่งที่มีข้อดีย่อมต้องมีข้อเสีย แค่ไหนคือความพอดีสำหรับประเทศไทย การพูดคุยสานสนทนา (dialogue) เท่านั้นที่จะนำมาซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดต่อสังคมไทย แต่กระทรวงสาธารณสุขและสังคมไทยไม่ควรซุกปัญหานี้ไว้ใต้พรมอีกต่อไป