นักวิชาการชี้นโยบายศึกษา “จาตุรนต์” ดีแต่มีจุดอ่อน ระบุถ้าจะให้สำเร็จการเมืองต้องนิ่ง รมต.ต้องไม่เปลี่ยนบ่อย ที่สำคัญต้องทำให้องค์กรหลักร่วมทำงานเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ทำเพื่อองค์กรตนเอง พร้อมจี้เร่งสร้างระบบธรรมาภิบาลและความโปร่งใสใน ศธ.อย่าเสียเวลาไปกับการฟังปัญหาร้องเรียนรายวัน
ตามที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศนโยบายการศึกษาโดยประกาศให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติและให้ปีนี้เป็นการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย ที่สำคัญได้กำหนด 8 นโยบายสำคัญ ซึ่งล้อตามนโยบายรัฐบาลและสานต่อที่ทำไว้เดิมให้แล้วเสร็จนั้น รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายการศึกษาของ รมว.ศึกษาธิการ ว่า ข้อดีของนโยบายการศึกษาของนายจาตุรนต์ คือ เป็นการผสมผสานพลังการเมืองกับแผนการศึกษาชาติ ซึ่งมีข้อมูลงานวิจัยรองรับ ทั้งการที่นายจาตุรนต์ใช้คำว่าการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ การรวมพลังทุกฝ่าย ตัวบ่งชี้ และการสานต่องาน เป็นนิมิตรหมายที่ดีต่องานการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ส่วนเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของนโยบายของนายจาตุรนต์ คือ การเมืองต้องนิ่งไม่เปลี่ยนตัว รมว.ศึกษาธิการ เพื่อให้นโนยายต่อเนื่อง ซึ่งการรวมพลังที่ นายจาตุรนต์ หมายถึงนั้นเป็นเรื่องดี แต่ ศธ.ไม่เคยรวมพลังได้ เพราะ 5 องค์กรหลักทำงานเพื่อองค์กรตนเองมากกว่าเป้าหมายหลักของชาติ แต่การตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ นั้น ไม่ควรตั้งจำนวนมากและไม่ควรใช้เวลาศึกษานานเกินไป ควรกำหนดระยะเวลาและเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะหากถึงปี 2558 แล้ว ยังทำงานไม่สำเร็จต้องมีผู้รับผิดชอบ
“นโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้อาจสะดุด หาก รมว.ศึกษาธิการ ใช้เวลาหมดไปกับการแก้ไขปัญหาการร้องเรียนรายวัน อาทิ การขอแยกแท่งมัธยม การขอปรับโครงสร้าง เป็นต้น และกรณีปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งเรื่องครุภัณฑ์อาชีวศึกษา และการสอบครูผู้ช่วยนั้น เป็นการทุจริตระดับกระทรวง ขณะที่ระดับสถานศึกษาก็มีการทุจริตเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเอาตัวรอดการประเมินคุณภาพ ซึ่งอยู่ในสายตาของเด็ก จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กไทยรับได้กับการคอร์รัปชัน เป็นเรื่องที่ รมว.ศึกษาธิการ ต้องเร่งทำให้เกิดความโปร่งใสเกิดระบบธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและกระทรวง” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ตามที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศนโยบายการศึกษาโดยประกาศให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติและให้ปีนี้เป็นการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย ที่สำคัญได้กำหนด 8 นโยบายสำคัญ ซึ่งล้อตามนโยบายรัฐบาลและสานต่อที่ทำไว้เดิมให้แล้วเสร็จนั้น รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายการศึกษาของ รมว.ศึกษาธิการ ว่า ข้อดีของนโยบายการศึกษาของนายจาตุรนต์ คือ เป็นการผสมผสานพลังการเมืองกับแผนการศึกษาชาติ ซึ่งมีข้อมูลงานวิจัยรองรับ ทั้งการที่นายจาตุรนต์ใช้คำว่าการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ การรวมพลังทุกฝ่าย ตัวบ่งชี้ และการสานต่องาน เป็นนิมิตรหมายที่ดีต่องานการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ส่วนเงื่อนไขสู่ความสำเร็จของนโยบายของนายจาตุรนต์ คือ การเมืองต้องนิ่งไม่เปลี่ยนตัว รมว.ศึกษาธิการ เพื่อให้นโนยายต่อเนื่อง ซึ่งการรวมพลังที่ นายจาตุรนต์ หมายถึงนั้นเป็นเรื่องดี แต่ ศธ.ไม่เคยรวมพลังได้ เพราะ 5 องค์กรหลักทำงานเพื่อองค์กรตนเองมากกว่าเป้าหมายหลักของชาติ แต่การตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ นั้น ไม่ควรตั้งจำนวนมากและไม่ควรใช้เวลาศึกษานานเกินไป ควรกำหนดระยะเวลาและเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะหากถึงปี 2558 แล้ว ยังทำงานไม่สำเร็จต้องมีผู้รับผิดชอบ
“นโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้อาจสะดุด หาก รมว.ศึกษาธิการ ใช้เวลาหมดไปกับการแก้ไขปัญหาการร้องเรียนรายวัน อาทิ การขอแยกแท่งมัธยม การขอปรับโครงสร้าง เป็นต้น และกรณีปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งเรื่องครุภัณฑ์อาชีวศึกษา และการสอบครูผู้ช่วยนั้น เป็นการทุจริตระดับกระทรวง ขณะที่ระดับสถานศึกษาก็มีการทุจริตเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเอาตัวรอดการประเมินคุณภาพ ซึ่งอยู่ในสายตาของเด็ก จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กไทยรับได้กับการคอร์รัปชัน เป็นเรื่องที่ รมว.ศึกษาธิการ ต้องเร่งทำให้เกิดความโปร่งใสเกิดระบบธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและกระทรวง” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว