สพฐ.ให้เขตพื้นที่ฯ ร่วมสถาบันอุดมศึกษา วิเคราะห์ข้อสอบครูผู้ช่วยในการสอบล่าสุดยากไปหรือไม่ หลังประกาศผลสอบผ่านกว่า 5 พันคนจากผู้สอบกว่า 8 หมื่นคน ส่วนจะจัดสอบใหม่หรือไม่เป็นอำนาจ ก.ค.ศ.ด้าน เลขาธิการ ก.ค.ศ.เผยครูผู้ช่วยที่ถูกปลดจากราชการยื่นอุทธรณ์แล้ว 82 ราย
วันนี้ (9 ก.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงผลการสอบการแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ที่ปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเกณฑ์เพียง 5,074 คน จากผู้เข้าสอบ 83,930 คน ว่า หลังจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องวิเคราะห์เป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาว่ามีเขตพื้นที่ฯ ใดบ้างที่มีจำนวนผู้สอบผ่านน้อยกว่าอัตราที่ว่างของแต่ละเขตพื้นที่ฯ ทั้งจะต้องวิเคราะห์ด้วยว่ามีเอกวิชาใดที่ไม่มีผู้สอบผ่าน ทั้งหมดนี้เพื่อที่จะได้เป็นข้อมูลดำเนินการคัดเลือก หรือจัดสอบเพิ่มเติมเพื่อบรรจุและแต่งตั้งในรอบต่อไป
อย่างไรก็ตาม ส่วนเรื่องข้อสอบที่มองว่ายากเกินไปทำให้มีผู้ผ่านการสอบน้อยนั้น เรื่องนี้คงต้องให้เขตพื้นที่ฯ และสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นผู้ออกข้อสอบไปทำการวิเคราะห์ และหากดูวิเคราะห์ในภาพกว้างของจำนวนผู้สอบผ่าน 5,074 คนเทียบกับตำแหน่งที่ว่าง 1,070 อัตราแล้วถือว่ายังสูงกว่าตำแหน่งที่ว่าง ส่วนการจะจัดสอบใหม่หรือไม่นั้น สพฐ.ไม่มีอำนาจตัดสินจะต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาและอนุมัติ
“การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นประเด็นที่ต้องให้ทางเขตพื้นที่ฯได้วิเคราะห์ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาที่ออกข้อสอบ เพื่อจะได้ทราบระดับความยากง่ายของข้อสอบ รวมทั้งยังให้เขตพื้นที่ฯ ไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่มีผู้สอบผ่านจำนวนน้อยเป็นเพราะเหตุใด ซึ่งที่ผ่านมาข้อสอบที่ใช้สอบครูผู้ช่วยที่ สพฐ.ดำเนินการเองนั้น 70% จะเป็นข้อสอบที่ยากระดับปานกลางและ 30% เป็นข้อสอบในระดับยาก” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
ด้าน นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า ขณะนี้มีครูผู้ช่วยที่ถูกปลดออกจากราชการปัญหาการสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 จำนวน 89 ราย จาก 42 เขตพื้นที่การศึกษาได้ยื่นอุทธรณ์ร้องทุกข์มายังสำนักงานก.ค.ศ.แล้ว แต่ยังไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ เพราะต้องดูเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องแจ้งกลับไปให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบด้วย
วันนี้ (9 ก.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงผลการสอบการแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ที่ปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเกณฑ์เพียง 5,074 คน จากผู้เข้าสอบ 83,930 คน ว่า หลังจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะต้องวิเคราะห์เป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาว่ามีเขตพื้นที่ฯ ใดบ้างที่มีจำนวนผู้สอบผ่านน้อยกว่าอัตราที่ว่างของแต่ละเขตพื้นที่ฯ ทั้งจะต้องวิเคราะห์ด้วยว่ามีเอกวิชาใดที่ไม่มีผู้สอบผ่าน ทั้งหมดนี้เพื่อที่จะได้เป็นข้อมูลดำเนินการคัดเลือก หรือจัดสอบเพิ่มเติมเพื่อบรรจุและแต่งตั้งในรอบต่อไป
อย่างไรก็ตาม ส่วนเรื่องข้อสอบที่มองว่ายากเกินไปทำให้มีผู้ผ่านการสอบน้อยนั้น เรื่องนี้คงต้องให้เขตพื้นที่ฯ และสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นผู้ออกข้อสอบไปทำการวิเคราะห์ และหากดูวิเคราะห์ในภาพกว้างของจำนวนผู้สอบผ่าน 5,074 คนเทียบกับตำแหน่งที่ว่าง 1,070 อัตราแล้วถือว่ายังสูงกว่าตำแหน่งที่ว่าง ส่วนการจะจัดสอบใหม่หรือไม่นั้น สพฐ.ไม่มีอำนาจตัดสินจะต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณาและอนุมัติ
“การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นประเด็นที่ต้องให้ทางเขตพื้นที่ฯได้วิเคราะห์ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาที่ออกข้อสอบ เพื่อจะได้ทราบระดับความยากง่ายของข้อสอบ รวมทั้งยังให้เขตพื้นที่ฯ ไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่มีผู้สอบผ่านจำนวนน้อยเป็นเพราะเหตุใด ซึ่งที่ผ่านมาข้อสอบที่ใช้สอบครูผู้ช่วยที่ สพฐ.ดำเนินการเองนั้น 70% จะเป็นข้อสอบที่ยากระดับปานกลางและ 30% เป็นข้อสอบในระดับยาก” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
ด้าน นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า ขณะนี้มีครูผู้ช่วยที่ถูกปลดออกจากราชการปัญหาการสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 จำนวน 89 ราย จาก 42 เขตพื้นที่การศึกษาได้ยื่นอุทธรณ์ร้องทุกข์มายังสำนักงานก.ค.ศ.แล้ว แต่ยังไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ เพราะต้องดูเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องแจ้งกลับไปให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทราบด้วย