สปสช.เล็งใช้ “Fee Schedule” เป็นระบบจ่ายตามกลุ่มโรคแบบใหม่ เผยระบบนี้จะมีการกำหนดราคากลางตามข้อบ่งชี้และเงื่อนไข ช่วยให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ คาดนำมาใช้กับโรคมะเร็ง และบริการฉุกเฉิน 3 กองทุนก่อน นำร่องใน รพ.สงขลานครินทร์ และ รพ.ศรีนครินทร์
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สปสช.ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาให้ความรู้เรื่อง “Fee Schedule” ซึ่งเป็นระบบหลักประกันสุขภาพของญี่ปุ่น ซึ่งระบบนี้มีญี่ปุ่นประเทศเดียวที่จัดทำ โดยระบบดังกล่าวสามารถช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินงบได้ เนื่องจากจะมีการกำหนดราคากลาง ตามข้อบ่งชี้และเงื่อนไขต่างๆ เช่น หากต้องทำซีทีสแกน หรือการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ก็จะมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีข้อบ่งชี้อย่างไรจึงจะสามารถใช้สิทธิได้ และหน่วยบริการสามารถเบิกจ่ายได้ตามราคาที่กำหนดไว้ ขณะที่การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) ซึ่งเป็นการตรวจด้วยครื่องสนามแม่เหล็กแรงสูง ก็จะใช้วิธีดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากเครื่องมือพวกนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับไทยยังไม่มีระบบดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในกลุ่มรายโรคได้ โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ เช่น โรคมะเร็ง จึงจำเป็นต้องมีการศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นระบบการจ่ายเงินให้หน่วยบริการแบบใหม่ที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้ก็ได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) และกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น เพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งหากทำได้จะช่วยให้ไทยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ไม่เพียงแต่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่ระบบอื่นก็สามารถประยุกต์ได้เช่นกัน
“ระบบนี้จะทำให้การบริหารการเงินเป็นไปอย่างเป็นระบบ และการบริการผู้ป่วยมีประสิทธิภาพตรงตามกลุ่มโรคและความจำเป็นจริงๆ เบื้องต้นคาดว่าจะนำมาใช้ในเรื่องให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมไปถึงการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน สำหรับการนำมาใช้จริง เบื้องต้นมีการหารือกับโรงเรียนแพทย์ที่มีความสนใจระบบดังกล่าว อาจนำร่องในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สปสช.ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาให้ความรู้เรื่อง “Fee Schedule” ซึ่งเป็นระบบหลักประกันสุขภาพของญี่ปุ่น ซึ่งระบบนี้มีญี่ปุ่นประเทศเดียวที่จัดทำ โดยระบบดังกล่าวสามารถช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินงบได้ เนื่องจากจะมีการกำหนดราคากลาง ตามข้อบ่งชี้และเงื่อนไขต่างๆ เช่น หากต้องทำซีทีสแกน หรือการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ก็จะมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีข้อบ่งชี้อย่างไรจึงจะสามารถใช้สิทธิได้ และหน่วยบริการสามารถเบิกจ่ายได้ตามราคาที่กำหนดไว้ ขณะที่การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) ซึ่งเป็นการตรวจด้วยครื่องสนามแม่เหล็กแรงสูง ก็จะใช้วิธีดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากเครื่องมือพวกนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับไทยยังไม่มีระบบดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในกลุ่มรายโรคได้ โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ เช่น โรคมะเร็ง จึงจำเป็นต้องมีการศึกษา เพื่อพัฒนาเป็นระบบการจ่ายเงินให้หน่วยบริการแบบใหม่ที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้ก็ได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) และกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น เพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งหากทำได้จะช่วยให้ไทยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ไม่เพียงแต่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่ระบบอื่นก็สามารถประยุกต์ได้เช่นกัน
“ระบบนี้จะทำให้การบริหารการเงินเป็นไปอย่างเป็นระบบ และการบริการผู้ป่วยมีประสิทธิภาพตรงตามกลุ่มโรคและความจำเป็นจริงๆ เบื้องต้นคาดว่าจะนำมาใช้ในเรื่องให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมไปถึงการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน สำหรับการนำมาใช้จริง เบื้องต้นมีการหารือกับโรงเรียนแพทย์ที่มีความสนใจระบบดังกล่าว อาจนำร่องในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” เลขาธิการ สปสช.กล่าว