ไทยมีคนพิการเกือบ 2 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่ม สธ.เผยร้อยละ 80 เกิดจากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุจราจร และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ เร่งวางมาตรการรับมือ พร้อมพัฒนาระบบบริการเพื่อช่วยคนพิการให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ รวมถึงจัดระบบส่งต่อในเครือข่ายบริการ และส่งทีมฟื้นฟูดูแลถึงบ้าน
วันนี้ (14 ก.ค.) ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุขนาด 5 ชั้น รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก วงเงิน 255 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับสูงด้านอุบัติเหตุ หัวใจ และมะเร็ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ว่า จากการสำรวจของ สธ. ทั่วประเทศมีคนพิการประมาณ 1.9 ล้านคน ขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อรับการช่วยเหลือแล้ว 1.3 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 73 เกือบครึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย คาดว่าจำนวนผู้พิการจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจาก 1.โรคเรื้อรัง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต 2.อุบัติเหตุจราจร และ 3.การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังประจำตัว จะมีความพิการร่วมด้วย จึงต้องวางแผนรับมือและเร่งป้องกัน โดยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ลดการป่วยโรคเรื้อรัง และป้องกันปัญหาแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยแล้ว ให้ได้มากที่สุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือคนพิการ สธ.ได้มอบให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบบริการ โดยขณะนี้ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กิจกรรมฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จาก 13 รายการ เป็น 26 รายการ ผลักดันให้สิทธิประโยชน์อุปกรณ์ช่วยคนพิการ 3 กองทุนสุขภาพให้เท่าเทียมกัน และจัดงบประมาณสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่ 3 กองทุนไม่สามารถสนับสนุนได้ ปีละ 56 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้จัดไปแล้ว 2,475 ชิ้น อาทิ แขนขาเทียม รถนั่งคนพิการ เบ้าอ่อนขาเทียมช่วยผู้ป่วยเบาหวาน อุปกรณ์ทางการมองเห็นสำหรับคนพิการสายตาเลือนราง สื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิการ เป็นต้น
“นอกจากนี้ ยังเพิ่มเครือข่ายบริการแขนขาเทียม อุปกรณ์มูลค่าสูง ไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้นรวม 113 แห่ง เพื่อให้คนพิการซึ่งกว่าร้อยละ 80 อยู่ในชนบท ได้เข้าถึงบริการที่ใกล้บ้าน และพัฒนาศักยภาพการผลิตให้สามารถดูแลคนพิการที่มีปัญหาแทรกซ้อนเพื่อไม่ต้องเดินทางมารับบริการที่ส่วนกลาง เช่น รพ.ราชบุรี รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก รพ.ศรีนครินทร์ขอนแก่น รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี รพ.สงขลานครินทร์ พัฒนาระบบส่งต่อดูแลคนพิการใน 12 เขตบริการ จัดระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยถึงบ้าน โดยทีมสหวิชาชีพทั้งแผนปัจจุบันควบคู่การดูแลแบบแพทย์แผนไทย และพัฒนาระบบการฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัด เพื่อขยายผลใช้ทั่วประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ผอ.รพ.พุทธชินราช กล่าวว่า รพ.พุทธชินราช ได้เปิดให้บริการงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู ตั้งแต่ปี 2524 เริ่มจากการผลิตอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้ค้ำยันรักแร้ ต่อมาในปี 2529 เริ่มให้บริการผลิตขาเทียม ปัจจุบันสามารถให้บริการกายอุปกรณ์ทดแทนอวัยวะส่วนที่ขาดให้ผู้พิการแบบครบวงจร และได้พัฒนาและผลิตขาเทียมกันน้ำให้ผู้พิการ ช่วยให้ผู้พิการซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร สามารถทำงานในไร่นาได้ และได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับประเทศ ปัจจุบันได้พัฒนาเครือข่ายการบริการด้านกายอุปกรณ์ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด ได้แก่ ขาเทียม แขนเทียม โลหะดามขา พลาสติกดามขา รองเท้าคนพิการ รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งซ่อมรถเข็นนั่งคนพิการ เข่าเทียม ไม้เท้าค้ำยัน แต่ละปีให้บริการผู้ป่วยปีละประมาณ 400 ราย สำหรับศูนย์ผลิตและวิจัยกายอุปกรณ์ ต.ปากโทก นี้ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิต วิจัย และพัฒนากายอุปกรณ์ ให้มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมสากล ขนาดเหมาะกับคนไทยมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
วันนี้ (14 ก.ค.) ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุขนาด 5 ชั้น รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก วงเงิน 255 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับสูงด้านอุบัติเหตุ หัวใจ และมะเร็ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ว่า จากการสำรวจของ สธ. ทั่วประเทศมีคนพิการประมาณ 1.9 ล้านคน ขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อรับการช่วยเหลือแล้ว 1.3 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 73 เกือบครึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย คาดว่าจำนวนผู้พิการจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจาก 1.โรคเรื้อรัง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต 2.อุบัติเหตุจราจร และ 3.การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังประจำตัว จะมีความพิการร่วมด้วย จึงต้องวางแผนรับมือและเร่งป้องกัน โดยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ลดการป่วยโรคเรื้อรัง และป้องกันปัญหาแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยแล้ว ให้ได้มากที่สุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือคนพิการ สธ.ได้มอบให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบบริการ โดยขณะนี้ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กิจกรรมฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จาก 13 รายการ เป็น 26 รายการ ผลักดันให้สิทธิประโยชน์อุปกรณ์ช่วยคนพิการ 3 กองทุนสุขภาพให้เท่าเทียมกัน และจัดงบประมาณสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่ 3 กองทุนไม่สามารถสนับสนุนได้ ปีละ 56 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้จัดไปแล้ว 2,475 ชิ้น อาทิ แขนขาเทียม รถนั่งคนพิการ เบ้าอ่อนขาเทียมช่วยผู้ป่วยเบาหวาน อุปกรณ์ทางการมองเห็นสำหรับคนพิการสายตาเลือนราง สื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิการ เป็นต้น
“นอกจากนี้ ยังเพิ่มเครือข่ายบริการแขนขาเทียม อุปกรณ์มูลค่าสูง ไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้นรวม 113 แห่ง เพื่อให้คนพิการซึ่งกว่าร้อยละ 80 อยู่ในชนบท ได้เข้าถึงบริการที่ใกล้บ้าน และพัฒนาศักยภาพการผลิตให้สามารถดูแลคนพิการที่มีปัญหาแทรกซ้อนเพื่อไม่ต้องเดินทางมารับบริการที่ส่วนกลาง เช่น รพ.ราชบุรี รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก รพ.ศรีนครินทร์ขอนแก่น รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี รพ.สงขลานครินทร์ พัฒนาระบบส่งต่อดูแลคนพิการใน 12 เขตบริการ จัดระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยถึงบ้าน โดยทีมสหวิชาชีพทั้งแผนปัจจุบันควบคู่การดูแลแบบแพทย์แผนไทย และพัฒนาระบบการฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัด เพื่อขยายผลใช้ทั่วประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ผอ.รพ.พุทธชินราช กล่าวว่า รพ.พุทธชินราช ได้เปิดให้บริการงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู ตั้งแต่ปี 2524 เริ่มจากการผลิตอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้ค้ำยันรักแร้ ต่อมาในปี 2529 เริ่มให้บริการผลิตขาเทียม ปัจจุบันสามารถให้บริการกายอุปกรณ์ทดแทนอวัยวะส่วนที่ขาดให้ผู้พิการแบบครบวงจร และได้พัฒนาและผลิตขาเทียมกันน้ำให้ผู้พิการ ช่วยให้ผู้พิการซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร สามารถทำงานในไร่นาได้ และได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับประเทศ ปัจจุบันได้พัฒนาเครือข่ายการบริการด้านกายอุปกรณ์ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด ได้แก่ ขาเทียม แขนเทียม โลหะดามขา พลาสติกดามขา รองเท้าคนพิการ รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งซ่อมรถเข็นนั่งคนพิการ เข่าเทียม ไม้เท้าค้ำยัน แต่ละปีให้บริการผู้ป่วยปีละประมาณ 400 ราย สำหรับศูนย์ผลิตและวิจัยกายอุปกรณ์ ต.ปากโทก นี้ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิต วิจัย และพัฒนากายอุปกรณ์ ให้มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมสากล ขนาดเหมาะกับคนไทยมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ