เป็นที่ทราบกันดีว่า “สลาก” หรือ “ลอตเตอรี” อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน มีรายได้หมุนเวียนมหาศาล และมีแนวโน้มของรายได้ที่สูงขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 จะกำหนดให้นำเงินรายได้ไม่น้อยกว่า 27% เป็นรายได้ของแผ่นดิน
แต่ข้อน่าห่วงคือ เนื้อหาจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวถือว่ายังล้าสมัย ไม่เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุงเกือบ 40 ปี เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมา อาทิ ปัญหาสลากเกินราคา ไม่จัดจำหน่ายผ่านผู้ซื้อโดยตรง แต่จัดสรรผ่านองค์กร พ่อค้าคนกลาง จึงเกิดการผูกขาด
แน่นอนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลีกหนีไม่พ้นการบริหารจัดการที่ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ความไม่โปร่งใส อีกทั้งสัดส่วนของเงินที่ถูกจัดสรรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมมีจำนวนน้อยมาก ทั้งที่สลากไม่ได้มีข้อเสียน้อยไปกว่าการเล่นพนันเลย จึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะทำให้รายได้ของผู้เล่นลดลงแล้ว ยังทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงไปด้วย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอายุที่ซื้อสลากมากที่สุด คือ 49.5% อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ ค้าขาย เกษตร ผู้ใช้แรงงาน รับจ้าง สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงอายุที่ผู้ซื้อสลากเป็นช่วงวัยก่อร่างสร้างตัว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหาร กำลังระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อมาปรับปรุงรายงานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารจัดการสลากในประเทศไทย ที่จะนำเสนอรัฐบาลต่อไป
นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหาร กล่าวระหว่างสัมมนา “นับหนึ่ง..ปฏิรูปสลากเพื่อสังคมไทย” ว่า ขั้นตอนการจัดทำร่างการพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน พ.ค.เนื่องจากเห็นว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ระบบบริหารจัดการ โดยเปลี่ยนแปลงแนวคิด วัตถุประสงค์ โครงสร้างการบริหาร และที่สำคัญเปลี่ยนแปลงวิธีจัดสรรสลาก รวมถึงวิธีการออกสลาก รูปแบบ ไปจนถึงการนำเอาเงินรายได้จากสลากมาจัดสรรเพื่อประโยชน์
นายมณเฑียร กล่าวว่า เมื่อศึกษาแนวทางแล้วอนุกรรมาธิการชุดที่ 3 จะนำเอาผลการศึกษามาจัดทำเป็นรายงาน และหลังจากนี้ จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อร่วมกันต่อยอดให้มีความสมบูรณ์แล้วก็จะส่งต่อให้คณะกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาเห็นชอบจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อวุฒิสภาเมื่อวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ จะนำเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้เราเชื่อว่า เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่วุฒิสภาเท่านั้นที่เป็นเจ้าของ แต่เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจกันของหลายฝ่าย
ด้าน รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ระบุว่า จากรายงานการศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการพนันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลถึง 19.2 ล้านคน
“ดังนั้นหลักการปฏิรูปสลาก คือต้องให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคมอย่างชัดเจน มีการคุ้มครองผู้บริโภคตามหลักธรรมาภิบาล ต้องเปลี่ยนชื่อจาก “สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล” เป็น “สำนักงานสลาก” แยกอำนาจระหว่างการบริหารองค์การสลาก กับอำนาจการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการคนละชุด ให้มีหน้าที่แตกต่างกัน”
รศ.นวลน้อย ระบุว่า สิ่งสำคัญคือต้องปฏิรูประบบจัดสรรโควตาให้กับ 3 กลุ่มคือ 1.องค์กรการกุศลที่ไม่หวังผลกำไรไปยังผู้บริโภคโดยตรง 2.กลุ่มผู้ค้ารายย่อย ควรจัดสรรให้ผู้พิการก่อน ให้เพียงพอต่อการยังชีพ และ 3.บริษัทเอกชนที่มุ่งหวังกำไร แต่ต้องจำกัดจำนวนโควตา ส่วนกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อย ที่มีความเสี่ยงขายไม่หมดควรตั้ง กองทุนช่วยเหลือ คือ รับซื้อสลากคืนจากผู้ค้าสลากไม่เกิน 12% จากจำนวนสลากที่ผู้ค้ารายย่อยได้รับก่อนออกรางวัล 1-2 วัน
ด้าน พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ กล่าวว่า ต้องมีคณะกรรมการกองทุนสลากเพื่อสังคมแบ่งการจัดสรรรายได้ใหม่ แต่คง 60% เป็นเงินรางวัลไว้เหมือนเดิมจัดสรรใหม่คือ 10% นำส่งรัฐในรูปแบบภาษี 15% เพิ่มเติมให้การบริหารจัดการที่รวมถึงการลดความเสี่ยง จัดสวัสดิการให้ผู้ค้ารายย่อยจากเดิมที่จัดสรรเพียง 12% และอีก 15% จัดสรรเข้ากองทุนสลากเพื่อสังคมที่จะตั้งขึ้นใหม่หรือคิดเป็น 7,200 ล้านบาท
“โดยกองทุนสลากเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนกองทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนด้านการศึกษา สนับสนุนกองทุนส่งเสริมการพัฒนาภาคประชาสังคมลดผลกระทบจากการพนัน ศึกษาวิจัยเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนลด ละ เลิก การเล่นพนัน”
ขณะที่ นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน แสดงความคิดเห็นว่า การปฏิรูปสลาก รวมถึงการบริหารจัดการสิ่งที่เป็นหัวใจ คือ การบริหารจัดการที่ตรงไปตรงมา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือเกิดการปรับปรุง แก้ไขร่วมกัน นำไปสู่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลของสลากได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นำไปใช้พัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้คำนึงและยึดหลักปรัชญาของการมีสลากเพื่อควบคุมการพนัน ไม่ก่อให้เกิดโทษแก่สังคมด้วย
แต่ข้อน่าห่วงคือ เนื้อหาจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวถือว่ายังล้าสมัย ไม่เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุงเกือบ 40 ปี เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมา อาทิ ปัญหาสลากเกินราคา ไม่จัดจำหน่ายผ่านผู้ซื้อโดยตรง แต่จัดสรรผ่านองค์กร พ่อค้าคนกลาง จึงเกิดการผูกขาด
แน่นอนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลีกหนีไม่พ้นการบริหารจัดการที่ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ความไม่โปร่งใส อีกทั้งสัดส่วนของเงินที่ถูกจัดสรรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมมีจำนวนน้อยมาก ทั้งที่สลากไม่ได้มีข้อเสียน้อยไปกว่าการเล่นพนันเลย จึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะทำให้รายได้ของผู้เล่นลดลงแล้ว ยังทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงไปด้วย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอายุที่ซื้อสลากมากที่สุด คือ 49.5% อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ ค้าขาย เกษตร ผู้ใช้แรงงาน รับจ้าง สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงอายุที่ผู้ซื้อสลากเป็นช่วงวัยก่อร่างสร้างตัว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหาร กำลังระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อมาปรับปรุงรายงานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารจัดการสลากในประเทศไทย ที่จะนำเสนอรัฐบาลต่อไป
นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหาร กล่าวระหว่างสัมมนา “นับหนึ่ง..ปฏิรูปสลากเพื่อสังคมไทย” ว่า ขั้นตอนการจัดทำร่างการพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน พ.ค.เนื่องจากเห็นว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ระบบบริหารจัดการ โดยเปลี่ยนแปลงแนวคิด วัตถุประสงค์ โครงสร้างการบริหาร และที่สำคัญเปลี่ยนแปลงวิธีจัดสรรสลาก รวมถึงวิธีการออกสลาก รูปแบบ ไปจนถึงการนำเอาเงินรายได้จากสลากมาจัดสรรเพื่อประโยชน์
นายมณเฑียร กล่าวว่า เมื่อศึกษาแนวทางแล้วอนุกรรมาธิการชุดที่ 3 จะนำเอาผลการศึกษามาจัดทำเป็นรายงาน และหลังจากนี้ จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อร่วมกันต่อยอดให้มีความสมบูรณ์แล้วก็จะส่งต่อให้คณะกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาเห็นชอบจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อวุฒิสภาเมื่อวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ จะนำเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้เราเชื่อว่า เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่วุฒิสภาเท่านั้นที่เป็นเจ้าของ แต่เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจกันของหลายฝ่าย
ด้าน รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ระบุว่า จากรายงานการศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการพนันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลถึง 19.2 ล้านคน
“ดังนั้นหลักการปฏิรูปสลาก คือต้องให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคมอย่างชัดเจน มีการคุ้มครองผู้บริโภคตามหลักธรรมาภิบาล ต้องเปลี่ยนชื่อจาก “สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล” เป็น “สำนักงานสลาก” แยกอำนาจระหว่างการบริหารองค์การสลาก กับอำนาจการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการคนละชุด ให้มีหน้าที่แตกต่างกัน”
รศ.นวลน้อย ระบุว่า สิ่งสำคัญคือต้องปฏิรูประบบจัดสรรโควตาให้กับ 3 กลุ่มคือ 1.องค์กรการกุศลที่ไม่หวังผลกำไรไปยังผู้บริโภคโดยตรง 2.กลุ่มผู้ค้ารายย่อย ควรจัดสรรให้ผู้พิการก่อน ให้เพียงพอต่อการยังชีพ และ 3.บริษัทเอกชนที่มุ่งหวังกำไร แต่ต้องจำกัดจำนวนโควตา ส่วนกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อย ที่มีความเสี่ยงขายไม่หมดควรตั้ง กองทุนช่วยเหลือ คือ รับซื้อสลากคืนจากผู้ค้าสลากไม่เกิน 12% จากจำนวนสลากที่ผู้ค้ารายย่อยได้รับก่อนออกรางวัล 1-2 วัน
ด้าน พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ กล่าวว่า ต้องมีคณะกรรมการกองทุนสลากเพื่อสังคมแบ่งการจัดสรรรายได้ใหม่ แต่คง 60% เป็นเงินรางวัลไว้เหมือนเดิมจัดสรรใหม่คือ 10% นำส่งรัฐในรูปแบบภาษี 15% เพิ่มเติมให้การบริหารจัดการที่รวมถึงการลดความเสี่ยง จัดสวัสดิการให้ผู้ค้ารายย่อยจากเดิมที่จัดสรรเพียง 12% และอีก 15% จัดสรรเข้ากองทุนสลากเพื่อสังคมที่จะตั้งขึ้นใหม่หรือคิดเป็น 7,200 ล้านบาท
“โดยกองทุนสลากเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนกองทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนด้านการศึกษา สนับสนุนกองทุนส่งเสริมการพัฒนาภาคประชาสังคมลดผลกระทบจากการพนัน ศึกษาวิจัยเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนลด ละ เลิก การเล่นพนัน”
ขณะที่ นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน แสดงความคิดเห็นว่า การปฏิรูปสลาก รวมถึงการบริหารจัดการสิ่งที่เป็นหัวใจ คือ การบริหารจัดการที่ตรงไปตรงมา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือเกิดการปรับปรุง แก้ไขร่วมกัน นำไปสู่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลของสลากได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นำไปใช้พัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้คำนึงและยึดหลักปรัชญาของการมีสลากเพื่อควบคุมการพนัน ไม่ก่อให้เกิดโทษแก่สังคมด้วย