“หมอหทัย” เตือนไทยอย่าหลงกล เป็นหุ้นส่วน ทีพีพี หวั่นทุนข้ามชาติครอบงำไทย ซ้ำรอยอาฟตา ยกกรณีธุรกิจยาสูบ ชี้หากไทยเชื่อสหรัฐฯ เสี่ยง กม.คุมยาสูบไร้ผล นักวิชาการด้านการลงทุนสุขภาพจากสหรัฐฯ แฉทีพีพี มีกฎพิเศษ เหนือพันธะสัญญา WTO แนะไทยศึกษาก่อนลงนาม
วันนี้ (3 ก.ค.) ที่โรมแรม มิราเคิล แกรนด์ นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (2550-2551) กล่าวถึงการแถลงข่าวเรื่อง “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศไทยควรเข้าร่วมหรือไม่” ว่า จากกรณีที่ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา มาเยือนไทยเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2555 พร้อมเชิญชวนให้ไทยเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement ) ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจเข้าร่วมด้วยนั้น เป็นเรื่องที่น่ากังวล รัฐบาลควรทบทวนก่อนการตัดสินใจลงนาม โดยความกังวลว่า จะเป็นการเดินซ้ำรอยข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) หรือ อาฟตา ซึ่งหมายถึงภาษีนำเข้าเป็น 0% เช่น บุหรี่นำเข้าในระบบอาฟตา มีข้อมูลว่า ภายใน 3 ปี ที่ไทยเข้าร่วมอาฟตา มีบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศสูงถึง 3% และปัจจุบันบุหรี่ต่างประเทศก็ครองตลาดในร้านสะดวกซื้อมากกว่า 50% สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายการเปิดการค้าเสรีดังกล่าวมีเพียงพอแล้ว ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องลงทุนร่วมกับต่างชาติอีก
“ข้อกังวลด้านสุขภาพ มีความเป็นไปได้ว่า กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรสุขภาพของไทย อาจไม่มีบทบาทควบคุมการบริโภคทั้งบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด ได้ตามกฎหมายไทยที่พึงจะเป็น โดยเฉพาะการควบคุมลักษณะผลิตภัณฑ์ ทำได้แค่ระบบภาษีเท่านั้น และหากมีการเจรจาเรื่องราคาที่อาจถูกลง อาจจูงใจนักสูบ นักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพคนไทยอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องเร่งสรุปข้อมูลวิชาการเพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้เร็วที่สุด ก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจลงนาม แม้ไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ องค์กรด้านสุขภาพและภาคธุรกิจก็ต้องเตรียมตัวไว้ก่อน” นพ.หทัย กล่าว
นพ.หทัย กล่าวว่า ทีพีพี ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2548 แต่ข้อมูลเรื่องการเจรจาข้อตกลงประเทศคู่ค้า และประเทศสมาชิกยังเป็นความลับไม่อาจเปิดเผยต่อสาธารณะอย่างชัดเจนได้ ที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ในข้อตกลงทางการค้ายังไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือ เงื่อนไขที่แน่นอน และเหมาะสมสำหรับสมาชิก ทีพีพี ดังนั้นในโอกาสการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ในระหว่างวันที่ 4-5 ก.ค.นี้ จะมีประเด็นเรื่องธุรกิจยาสูบ และบุหรี่ ที่อาจเป็นอีกสินค้าในข้อตกลง ทีพีพี ให้เครือข่ายได้รับรู้ เกี่ยวกับผลเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อจะได้นำข้อมูลวิชาการเผยแพร่ต่อรัฐบาลและสาธารณะให้ทราบและไม่เข้าร่วมตามคำเชิญของสหรัฐฯ
ด้าน ศ.ดร.เบน แมคเกรดี ผู้อำนวยการโครงการริเริ่มว่าด้วยการค้าการลงทุนและสุขภาพ สถาบันโอนีลเพื่อกฎหมายสุขภาพแห่งชาติและโลก มหาวิทยาลัยจอชทาวน์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ประเทศไทยควรคำนึงถึงสุขภาพของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง เพราะหากลงนามในข้อตกลงทีพีพี ทุนจากต่างชาติจะเข้ามาควบคุมกลไกการตลาดในไทย โดยที่ประเทศสมาชิกไม่มีสิทธิในการออกกฎระเบียบใดๆ ในประเทศเหนือเงื่อนไขของทีพีพีทั้งสิ้น แม้แต่กฎขององค์การค้าโลก (WTO) ก็ไม่สามารถมาควบคุมกลไกของทีพีพี ได้ เช่น โรงงานยาสูบไทย อาจต้องสั่งหรือนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่ระบุในเงื่อนไขของทีพีพีโดยตรง อาจต้องลดปริมาณของการซื้อยาสูบจากเกษตรกรไทย ที่ปัจจุบันมีกฎหมายระบุว่า โรงงานผลิตบุหรี่ต้องสนับสนุนยาสูบของเกษตรกรไทย 80% นำเข้าจากต่างประเทศได้ 20% เท่านั้น ที่สำคัญสินค้าบางอย่างที่นานาประเทศมีการใช้กฎและเงื่อนไขตามพันธะสัญญาในความตกลงว่าด้วยสิทธิบัตรในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า (TRIP) ก็อาจใช้ไม่ได้ในกรณีเข้าร่วมเป็นสมาชิกทีพีพี
“อยากให้ประเทศไทย ศึกษาเรื่องความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์และสุขภาพก่อน โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจยาสูบ แน่นอนว่าไทยสู้กับยาสูบข้ามชาติลำบาก เพราะทีพีพี จะเข้ามาวางกลไกทุกอย่าง ที่มีผลให้กฎหมายในประเทศนั้นๆ สะดุดลงและขาดโอกาสในการปรับปรุงตามเงื่อนไข ตามวาระที่จำเป็น หมายความว่า การจะออกกฎหมายมาคุมบางอย่างก็ต้องรองประเทศที่เป็นสมาชิกเห็นชอบเสียก่อน” ศ.ดร.เบน กล่าว
วันนี้ (3 ก.ค.) ที่โรมแรม มิราเคิล แกรนด์ นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (2550-2551) กล่าวถึงการแถลงข่าวเรื่อง “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศไทยควรเข้าร่วมหรือไม่” ว่า จากกรณีที่ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา มาเยือนไทยเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2555 พร้อมเชิญชวนให้ไทยเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement ) ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจเข้าร่วมด้วยนั้น เป็นเรื่องที่น่ากังวล รัฐบาลควรทบทวนก่อนการตัดสินใจลงนาม โดยความกังวลว่า จะเป็นการเดินซ้ำรอยข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) หรือ อาฟตา ซึ่งหมายถึงภาษีนำเข้าเป็น 0% เช่น บุหรี่นำเข้าในระบบอาฟตา มีข้อมูลว่า ภายใน 3 ปี ที่ไทยเข้าร่วมอาฟตา มีบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศสูงถึง 3% และปัจจุบันบุหรี่ต่างประเทศก็ครองตลาดในร้านสะดวกซื้อมากกว่า 50% สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายการเปิดการค้าเสรีดังกล่าวมีเพียงพอแล้ว ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องลงทุนร่วมกับต่างชาติอีก
“ข้อกังวลด้านสุขภาพ มีความเป็นไปได้ว่า กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรสุขภาพของไทย อาจไม่มีบทบาทควบคุมการบริโภคทั้งบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด ได้ตามกฎหมายไทยที่พึงจะเป็น โดยเฉพาะการควบคุมลักษณะผลิตภัณฑ์ ทำได้แค่ระบบภาษีเท่านั้น และหากมีการเจรจาเรื่องราคาที่อาจถูกลง อาจจูงใจนักสูบ นักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพคนไทยอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องเร่งสรุปข้อมูลวิชาการเพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้เร็วที่สุด ก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจลงนาม แม้ไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ องค์กรด้านสุขภาพและภาคธุรกิจก็ต้องเตรียมตัวไว้ก่อน” นพ.หทัย กล่าว
นพ.หทัย กล่าวว่า ทีพีพี ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2548 แต่ข้อมูลเรื่องการเจรจาข้อตกลงประเทศคู่ค้า และประเทศสมาชิกยังเป็นความลับไม่อาจเปิดเผยต่อสาธารณะอย่างชัดเจนได้ ที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ในข้อตกลงทางการค้ายังไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือ เงื่อนไขที่แน่นอน และเหมาะสมสำหรับสมาชิก ทีพีพี ดังนั้นในโอกาสการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ในระหว่างวันที่ 4-5 ก.ค.นี้ จะมีประเด็นเรื่องธุรกิจยาสูบ และบุหรี่ ที่อาจเป็นอีกสินค้าในข้อตกลง ทีพีพี ให้เครือข่ายได้รับรู้ เกี่ยวกับผลเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อจะได้นำข้อมูลวิชาการเผยแพร่ต่อรัฐบาลและสาธารณะให้ทราบและไม่เข้าร่วมตามคำเชิญของสหรัฐฯ
ด้าน ศ.ดร.เบน แมคเกรดี ผู้อำนวยการโครงการริเริ่มว่าด้วยการค้าการลงทุนและสุขภาพ สถาบันโอนีลเพื่อกฎหมายสุขภาพแห่งชาติและโลก มหาวิทยาลัยจอชทาวน์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ประเทศไทยควรคำนึงถึงสุขภาพของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง เพราะหากลงนามในข้อตกลงทีพีพี ทุนจากต่างชาติจะเข้ามาควบคุมกลไกการตลาดในไทย โดยที่ประเทศสมาชิกไม่มีสิทธิในการออกกฎระเบียบใดๆ ในประเทศเหนือเงื่อนไขของทีพีพีทั้งสิ้น แม้แต่กฎขององค์การค้าโลก (WTO) ก็ไม่สามารถมาควบคุมกลไกของทีพีพี ได้ เช่น โรงงานยาสูบไทย อาจต้องสั่งหรือนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่ระบุในเงื่อนไขของทีพีพีโดยตรง อาจต้องลดปริมาณของการซื้อยาสูบจากเกษตรกรไทย ที่ปัจจุบันมีกฎหมายระบุว่า โรงงานผลิตบุหรี่ต้องสนับสนุนยาสูบของเกษตรกรไทย 80% นำเข้าจากต่างประเทศได้ 20% เท่านั้น ที่สำคัญสินค้าบางอย่างที่นานาประเทศมีการใช้กฎและเงื่อนไขตามพันธะสัญญาในความตกลงว่าด้วยสิทธิบัตรในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า (TRIP) ก็อาจใช้ไม่ได้ในกรณีเข้าร่วมเป็นสมาชิกทีพีพี
“อยากให้ประเทศไทย ศึกษาเรื่องความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์และสุขภาพก่อน โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจยาสูบ แน่นอนว่าไทยสู้กับยาสูบข้ามชาติลำบาก เพราะทีพีพี จะเข้ามาวางกลไกทุกอย่าง ที่มีผลให้กฎหมายในประเทศนั้นๆ สะดุดลงและขาดโอกาสในการปรับปรุงตามเงื่อนไข ตามวาระที่จำเป็น หมายความว่า การจะออกกฎหมายมาคุมบางอย่างก็ต้องรองประเทศที่เป็นสมาชิกเห็นชอบเสียก่อน” ศ.ดร.เบน กล่าว