สะพัด! พบสารเคมีในข้าวถุง ห่วงโกดังรับจำนำข้าวฉีดป้องกันแมลงมอดเพียบ สธ.รับลูกสุ่มตรวจข้าวตามตลาดด่วน มั่นใจมีคุณภาพ คาดรู้ผลสัปดาห์นี้ เล็งทำมาตรฐาน GMP
วันนี้ (24 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข่าวข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดัง มีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) เพื่อป้องกันแมลงและมอด เนื่องจากต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน และข้อกังวลเรื่องเชื้อราในข้าวบรรจุถุง ว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อความมั่นใจของประชาชน ตนจึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจคุณภาพข้าวบรรจุถุงซึ่งจำหน่ายในตลาดกว่า 50 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความชื้น สารเคมีต่างๆ และการปนเปื้อน คาดว่าจะสามารถแถลงผลได้ภายในวันที่ 28 มิ.ย. ทั้งนี้ การตรวจสอบไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่จะมีการสุ่มตรวจไปเรื่อยๆ แต่ที่เริ่มทำประมาณ 50 ตัวอย่างก่อน เพราะแต่ละตัวอย่างใช้ระยะเวลาตรวจประมาณ 3-5 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเชื่อมั่นว่าอาหารที่มีการจำหน่ายมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่แล้ว แต่จะพัฒนามาตรการต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากที่ผ่านมาบัญชีสินค้าที่ต้องอยู่ในความควบคุมตรวจสอบมีเพียง 58 ตัวเท่านั้น ซึ่งข้าวไม่ได้อยู่ในรายการบัญชีดังกล่าว เพราะเป็นอาหารธรรมดาทั่วไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สธ.ได้ดำเนินการมาตรฐานการผลิต หรือ GMP โดยชวนผู้ผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานดังกล่าว โดยให้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี หากผู้ประกอบการใดพร้อมก็สามารถเข้ารับการตรวจสอบเพื่อขอมาตรฐานรับรองจาก อย.ได้เลย ซึ่งจะคุ้มครองผู้บริโรคได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ สธ.ยังมีความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อทำให้มาตรฐานอาหารในประเทศเทียบเท่ากับมาตรฐานอาหารส่งออก และมีคุณภาพสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทย์ เริ่มเก็บตัวอย่างและสุ่มตรวจข้าวในตลาด ตั้งแต่เริ่มมีความกังวลในเรื่องดังกล่าว โดยเน้นติดตามและประเมินความเสี่ยง เพื่อรายงานสถานการณ์ ซึ่งการตรวจในครั้งนี้จะตรวจหาเชื้อรา ยาฆ่าแมลงตกค้าง สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นต้น และจะเปรียบเทียบระหว่างตัวอย่างที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาด้วย อย่างสารเมธิลโบรไมด์ที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ เพราะสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ก็จะต้องมีปริมาณตามมาตรฐานโคเดกซ์ (Codex) จึงถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กรมวิทย์ไม่มีหน้าที่และไม่สามารถเก็บตัวอย่างที่อยู่ในโกดังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า จากกระแสข่าวการพบสารเคมีเมทิลโบรไมด์และแมกนีเซียมฟอสไฟด์ในข้าวถุงนั้น สารเคมีทั้ง 2 ชนิดเป็นสารที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯ แต่เมื่อข้าวถูกบรรจุถุงและถูกส่งขายในตลาด จึงเป็นหน้าที่ของ อย.ต้องเข้าไปดูแล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเก็บตัวอย่างข้าวถุงจากห้างดังหลายแห่งแล้ว เพื่อทำการตรวจหาสารทั้ง 2 ชนิด จากนั้นจะส่งต่อไปให้กรมวิทย์ตรวจสอบเรื่องยาฆ่าแมลงและเชื้อรา ซึ่งคาดว่าจะทราบผลภายใน 3-5 วัน ทั้งนี้ ข้าวเป็นอาหารทั่วไปไม่ได้เป็นเรื่องที่ควบคุมพิเศษ แต่ข้าวที่ต้องเข้าไปควบคุมพิเศษ คือข้าวถุงที่มีการพ่นสาร ว่ามียาฆ่าแมลงและเชื้อราหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลได้ในวันที่ 28 มิ.ย. ว่าจำเป็นต้องนำเรื่องข้าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาหารว่า ข้าวต้องเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GMP หรือไม่ สำหรับแม่บ้านหรือเกษตรกรที่ทำข้าวถุงแล้วต้องการขอเลขทะเบียน อย.ก็สามารถมาขออนุญาตได้ที่ อย.
นายวิฑูร เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณนำเข้าสารรมควันพิษ จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร พบว่า สถิติการนำเข้าลดลงตั้งแต่ปี 2551 แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นในปี 2555 ถึงร้อยละ 62 ทั้งที่ควรลดลงเนื่องจากพันธกรณีของไทยภายใต้พิธีสารมอนทรีออลที่ต้องลดการใช้สารเมทิลโบร์ไมด์ ซึ่งใช้ในการรมข้าว เป็นแก๊สเรือนกระจก โดยต้องทยอยลดให้หมดเป็นลำดับ จนเหลือศูนย์ภายในปี 2556 และสหภาพยุโรปได้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวในเดือน มิ.ย.2555 ไปแล้ว ซึ่งปริมาณเพิ่มขึ้นไม่สามารถมองเป็นอย่างอื่นได้นอกจาก นโยบายรับจำนำข้าว ทั้งนี้ ยังพบว่าการนำเข้า เมทิลโบร์ไมด์ ยังมาในรูปการผสมกับ คลอโรพิคริน ซึ่งเป็นสารที่อียูประกาศห้ามใช้แล้วเช่นกัน โดยพบว่า คลอโรพิคริน เป็นสารที่ตกค้างปะปนในผลผลิตได้ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความมั่นใจต่อประชาชนด้วยการตรวจอย่างโปร่งใสและรีบแจ้งผลให้ทราบ
วันนี้ (24 มิ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข่าวข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดัง มีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) เพื่อป้องกันแมลงและมอด เนื่องจากต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน และข้อกังวลเรื่องเชื้อราในข้าวบรรจุถุง ว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อความมั่นใจของประชาชน ตนจึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจคุณภาพข้าวบรรจุถุงซึ่งจำหน่ายในตลาดกว่า 50 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความชื้น สารเคมีต่างๆ และการปนเปื้อน คาดว่าจะสามารถแถลงผลได้ภายในวันที่ 28 มิ.ย. ทั้งนี้ การตรวจสอบไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่จะมีการสุ่มตรวจไปเรื่อยๆ แต่ที่เริ่มทำประมาณ 50 ตัวอย่างก่อน เพราะแต่ละตัวอย่างใช้ระยะเวลาตรวจประมาณ 3-5 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเชื่อมั่นว่าอาหารที่มีการจำหน่ายมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่แล้ว แต่จะพัฒนามาตรการต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากที่ผ่านมาบัญชีสินค้าที่ต้องอยู่ในความควบคุมตรวจสอบมีเพียง 58 ตัวเท่านั้น ซึ่งข้าวไม่ได้อยู่ในรายการบัญชีดังกล่าว เพราะเป็นอาหารธรรมดาทั่วไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สธ.ได้ดำเนินการมาตรฐานการผลิต หรือ GMP โดยชวนผู้ผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานดังกล่าว โดยให้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี หากผู้ประกอบการใดพร้อมก็สามารถเข้ารับการตรวจสอบเพื่อขอมาตรฐานรับรองจาก อย.ได้เลย ซึ่งจะคุ้มครองผู้บริโรคได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ สธ.ยังมีความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อทำให้มาตรฐานอาหารในประเทศเทียบเท่ากับมาตรฐานอาหารส่งออก และมีคุณภาพสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทย์ เริ่มเก็บตัวอย่างและสุ่มตรวจข้าวในตลาด ตั้งแต่เริ่มมีความกังวลในเรื่องดังกล่าว โดยเน้นติดตามและประเมินความเสี่ยง เพื่อรายงานสถานการณ์ ซึ่งการตรวจในครั้งนี้จะตรวจหาเชื้อรา ยาฆ่าแมลงตกค้าง สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นต้น และจะเปรียบเทียบระหว่างตัวอย่างที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาด้วย อย่างสารเมธิลโบรไมด์ที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ เพราะสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ก็จะต้องมีปริมาณตามมาตรฐานโคเดกซ์ (Codex) จึงถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กรมวิทย์ไม่มีหน้าที่และไม่สามารถเก็บตัวอย่างที่อยู่ในโกดังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า จากกระแสข่าวการพบสารเคมีเมทิลโบรไมด์และแมกนีเซียมฟอสไฟด์ในข้าวถุงนั้น สารเคมีทั้ง 2 ชนิดเป็นสารที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯ แต่เมื่อข้าวถูกบรรจุถุงและถูกส่งขายในตลาด จึงเป็นหน้าที่ของ อย.ต้องเข้าไปดูแล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเก็บตัวอย่างข้าวถุงจากห้างดังหลายแห่งแล้ว เพื่อทำการตรวจหาสารทั้ง 2 ชนิด จากนั้นจะส่งต่อไปให้กรมวิทย์ตรวจสอบเรื่องยาฆ่าแมลงและเชื้อรา ซึ่งคาดว่าจะทราบผลภายใน 3-5 วัน ทั้งนี้ ข้าวเป็นอาหารทั่วไปไม่ได้เป็นเรื่องที่ควบคุมพิเศษ แต่ข้าวที่ต้องเข้าไปควบคุมพิเศษ คือข้าวถุงที่มีการพ่นสาร ว่ามียาฆ่าแมลงและเชื้อราหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลได้ในวันที่ 28 มิ.ย. ว่าจำเป็นต้องนำเรื่องข้าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาหารว่า ข้าวต้องเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GMP หรือไม่ สำหรับแม่บ้านหรือเกษตรกรที่ทำข้าวถุงแล้วต้องการขอเลขทะเบียน อย.ก็สามารถมาขออนุญาตได้ที่ อย.
นายวิฑูร เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณนำเข้าสารรมควันพิษ จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร พบว่า สถิติการนำเข้าลดลงตั้งแต่ปี 2551 แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นในปี 2555 ถึงร้อยละ 62 ทั้งที่ควรลดลงเนื่องจากพันธกรณีของไทยภายใต้พิธีสารมอนทรีออลที่ต้องลดการใช้สารเมทิลโบร์ไมด์ ซึ่งใช้ในการรมข้าว เป็นแก๊สเรือนกระจก โดยต้องทยอยลดให้หมดเป็นลำดับ จนเหลือศูนย์ภายในปี 2556 และสหภาพยุโรปได้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวในเดือน มิ.ย.2555 ไปแล้ว ซึ่งปริมาณเพิ่มขึ้นไม่สามารถมองเป็นอย่างอื่นได้นอกจาก นโยบายรับจำนำข้าว ทั้งนี้ ยังพบว่าการนำเข้า เมทิลโบร์ไมด์ ยังมาในรูปการผสมกับ คลอโรพิคริน ซึ่งเป็นสารที่อียูประกาศห้ามใช้แล้วเช่นกัน โดยพบว่า คลอโรพิคริน เป็นสารที่ตกค้างปะปนในผลผลิตได้ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความมั่นใจต่อประชาชนด้วยการตรวจอย่างโปร่งใสและรีบแจ้งผลให้ทราบ