“พงศ์เทพ” แนะดึงเอกชนร่วมจัดการศึกษา พร้อมเปิดตัว 3 แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล และสืบค้นข้อมูล
วันนี้ (24 มิ.ย.) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดงาน เรื่อง “การพัฒนาการศึกษาด้านนวัตกรรม การบูรณาการศึกษา และความสามารถทางภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน” ในงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2556 (International Conference 2013) เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2556 จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ซึ่งมี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ, น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และนายเลอ เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมการประชุม
นายพงศ์เทพ กล่าวตอนหนึ่งว่า เรื่องการพัฒนาการศึกษา นวัตกรรม และภาษาอังกฤษ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการศึกษาถือเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อจัดเตรียมคนไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ดังนั้น ต้องคิดกันว่าจะเตรียมคนไทยอย่างไร เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จะผลิตคนอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาที่ต้องเตรียมดำเนินการในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม เวลานี้การผลิตบัณฑิตยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยดูได้จากเมื่อบัณฑิตเข้าทำงานในบริษัทต่างๆ พบว่าต้องใช้เวลาเป็นปีถึงจะสามารถเรียนรู้การทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ดังนั้น ต้องดึงภาคเอกชนและภาคธุรกิจเข้ามาร่วมกับภาคการศึกษาในการผลิตบัณฑิต เช่นเดียวกับประเทศในยุโรป เพราะเมื่อจบการศึกษาแล้วจะทำให้บัณฑิตมีประสทิธิภาพในการทำงานมากขึ้น
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวยังได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสถิติและตัวชี้วัดการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การศึกษาชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้ดีขึ้น โดยความร่วมมือนี้จะทำให้มีข้อมูลสำคัญด้านการศึกษา เพื่อจัดทำตัวชี้วัดด้านการศึกษาพร้อมการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในครั้งโอกาสนี้ได้มีพิธีเปิดตัวนวัตกรรมทางการศึกษาสมัยใหม่ ผ่านApple Application (App.Store) และเว็บเบส (Wed dase) โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบบริหารจัดการและสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยทางการศึกษา จำนวน 3 Application คือ 1.Stat-ED(Education Statistics) โปรแกรมสถิติการศึกษา 2.Re-ED(Education Research) ผลงานวิจัยทางการศึกษา และEva-ED (Evaluation Evaluation)การประเมินผลการศึกษา
โดย น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า แอปพลิเคชัน ดังกล่าวจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้ผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่ต้องการใช้งานเกี่ยวกับข้อมูลด้านสถิติ ผลงานวิจัย หรือข้อมูลต่างๆ ทางด้านการศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน สามารถเลือกใช้ข้อมูลด้านสถิติ อ่านงานวิจัย โดยไม่ต้องมาขอข้อมูลจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ แถมยังจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำมาวางแผน กำหนดกรอบนโยบายอันนำไปสู่การพัฒนาตนเองและประเทศ เช่น ข้อมูลการมีงานทำ ผู้ใช้สามารถรู้ได้ทันทีสาขาด้านไหนที่จบออกมาแล้วมีงานทำ ไม่มีงานทำ หรือนำข้อมูลสถิติต่างๆ มาใช้ในหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ มากำหนดกรอบนโยบายของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น
วันนี้ (24 มิ.ย.) โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานเปิดงาน เรื่อง “การพัฒนาการศึกษาด้านนวัตกรรม การบูรณาการศึกษา และความสามารถทางภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน” ในงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2556 (International Conference 2013) เรื่อง “การศึกษาเพื่ออนาคตของประเทศไทย” ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2556 จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ซึ่งมี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ, น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และนายเลอ เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมการประชุม
นายพงศ์เทพ กล่าวตอนหนึ่งว่า เรื่องการพัฒนาการศึกษา นวัตกรรม และภาษาอังกฤษ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการศึกษาถือเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อจัดเตรียมคนไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ดังนั้น ต้องคิดกันว่าจะเตรียมคนไทยอย่างไร เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น จะผลิตคนอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาที่ต้องเตรียมดำเนินการในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม เวลานี้การผลิตบัณฑิตยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยดูได้จากเมื่อบัณฑิตเข้าทำงานในบริษัทต่างๆ พบว่าต้องใช้เวลาเป็นปีถึงจะสามารถเรียนรู้การทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ ดังนั้น ต้องดึงภาคเอกชนและภาคธุรกิจเข้ามาร่วมกับภาคการศึกษาในการผลิตบัณฑิต เช่นเดียวกับประเทศในยุโรป เพราะเมื่อจบการศึกษาแล้วจะทำให้บัณฑิตมีประสทิธิภาพในการทำงานมากขึ้น
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวยังได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสถิติและตัวชี้วัดการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การศึกษาชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้ดีขึ้น โดยความร่วมมือนี้จะทำให้มีข้อมูลสำคัญด้านการศึกษา เพื่อจัดทำตัวชี้วัดด้านการศึกษาพร้อมการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในครั้งโอกาสนี้ได้มีพิธีเปิดตัวนวัตกรรมทางการศึกษาสมัยใหม่ ผ่านApple Application (App.Store) และเว็บเบส (Wed dase) โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบบริหารจัดการและสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยทางการศึกษา จำนวน 3 Application คือ 1.Stat-ED(Education Statistics) โปรแกรมสถิติการศึกษา 2.Re-ED(Education Research) ผลงานวิจัยทางการศึกษา และEva-ED (Evaluation Evaluation)การประเมินผลการศึกษา
โดย น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า แอปพลิเคชัน ดังกล่าวจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้ผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่ต้องการใช้งานเกี่ยวกับข้อมูลด้านสถิติ ผลงานวิจัย หรือข้อมูลต่างๆ ทางด้านการศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน สามารถเลือกใช้ข้อมูลด้านสถิติ อ่านงานวิจัย โดยไม่ต้องมาขอข้อมูลจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ แถมยังจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำมาวางแผน กำหนดกรอบนโยบายอันนำไปสู่การพัฒนาตนเองและประเทศ เช่น ข้อมูลการมีงานทำ ผู้ใช้สามารถรู้ได้ทันทีสาขาด้านไหนที่จบออกมาแล้วมีงานทำ ไม่มีงานทำ หรือนำข้อมูลสถิติต่างๆ มาใช้ในหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ มากำหนดกรอบนโยบายของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น