สสส.เตรียมจัดมหกรรมสร้างเสริมสุขภาพใหญ่ครบรอบ 12 ปี ฟุ้งต่างชาติยกย่องเป็นองค์กรต้นแบบ จน 20 กว่าประเทศแห่มาเรียนรู้ รับมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองเป็นระยะๆ แต่พร้อมต่อสู้เพื่อประโยชน์ของประเทศ เชื่อทำงานดี ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีการพัฒนาองค์กรตลอดเวลา ช่วยรอดพ้นการแทรกแซงได้
วันนี้ (23 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานกรรมการ สสส. คนที่ 2 กล่าวระหว่างแถลงข่าวงาน “สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ : 1 ทศวรรษ สสส. สร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมไทย” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28-29 พ.ค.นี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เนื่องในโอกาสการดำเนินงานของ สสส. ครบรอบ 12 ปี ว่า แม้ สสส.จะเป็นองค์กรที่มีขนาดเล็กคือ มีจำนวนพนักงานเพียง 100 กว่าคน แต่สามารถบริหารงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเพราะ สสส.ไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง โดย 12 ปีที่ผ่านมา สสส.ได้ทำงานร่วมกับ “ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ” ทั้งจากภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 10,942 ภาคี เกิดโครงการสร้างสุขภาพถึง 12,365 โครงการ ซึ่งแต่ละงานก็สัมฤทธิ์ผลน่าพึงพอใจ
“ที่ผ่านมา สสส.ได้สร้างวัฒนธรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงครอบคลุมทั้งประเทศและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุ ทั้งการรับน้องปลอดเหล้า ประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า วัดปลอดเหล้า สถานที่ราชการปลอดเหล้า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ รวมไปถึงการลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่และสงกรานต์ ซึ่งเดิมทีมีแนวโน้มเสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จากการดำเนินงานของ สสส.ปีที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 300 กว่ารายเท่านั้น” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า จากการทำงานทั้งหมด สสส.จำเป็นต้องทบทวน และสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมา สสส.ก็ได้รับการประเมินการดำเนินงานในโอกาสครบรอบ 5 ปี และ 10 ปี จากคณะผู้ประเมินประกอบด้วย องค์การอนามัยโลก (WHIO) ธนาคารโลก และออสเตรเลีย ซึ่งประเมินว่า สสส.เป็นองค์กรต้นแบบด้านนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และ WHO เองก็ขอให้ สสส.ไทยเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยตั้ง สสส.ของประเทศอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีต่างประเทศมาศึกษาการดำเนินงานของ สสส. มากกว่า 20 ประเทศ อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย ภูฏาน และลาว เป็นต้น
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า การจัดงานสานงาน เสริมพลังฯ ในครั้งนี้ จะมีการรวบรวมภาคีเครือข่ายครั้งใหญ่ในรอบ 12 ปีการทำงานของ สสส. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ร่วมวิเคราะห์การดำเนินงานในอีก 10 ปีข้างหน้า เสนอให้แก่คณะกรรมการ สสส. ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป และรวบรวมนวัตกรรมสุขภาพไว้เป็นหมวดหมู่ ให้คนทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งจะมีตัวแทนจากภาคีเครือข่ายมาร่วมกว่า 3,000 คน ในรอบ 12 ปี ของการทํางาน ถือเป็นการร่ วมขับเคลื่อนงาน กําหนดทิศทางอนาคตร่วมกัน และบูรณาการเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ โดยหวังว่า จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน ทําให้ ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการร่วมกันกําหนดและผลักดันทิศทางและยุทธศาสตร์ ในอนาคตของ สสส. และ ขยายผลจากนวัตกรรมสู่ปฏิบติการ เพื่อทําให้ งานสร้างเสริมสุขภาพดําเนินไปอย่างยั่งยืน
ทพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ช่วงเช้าของวันที่ 28 พ.ค.ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ” การแสดงทรรศนะของนักวิชาการสาธารณสุขทั้งไทย และต่างชาติ และในวันที่ 29 พ.ค.มีการปาฐกถาพิเศษจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี หัวข้อ “สุขภาพในทศวรรษต่อไป” นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายห้องย่อยรวมกว่า 22 ห้อง และมีลานกิจกรรมหรือ Market Place ที่จะมีกิจกรรมสร้างสรรค์จากทุกภาคีเครือข่ายมาร่วมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า การดำเนินงานของ สสส.ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร และจะมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า สสส.จะคงอยู่เป็นองค์กรอิสระไปได้อีกนาน ถ้ายังมีการดำเนินการที่ดี เป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชน โดยจะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.มีการพัฒนาตนเอง ตรวจสอบการดำเนินงานของตนอย่างสม่ำเสมอ 2.ฟังเสียงสะท้อนการดำเนินงานจากผู้ที่หวังดีต่อองค์กร ซึ่งที่ผ่านมา สสส.ก็ได้รับการตรวจสอบระบบการเงินจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และต้องสรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานต่อ ครม. สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเป็นประจำทุกปี และ 3.ต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้าถึง ก็จะทำให้องค์กรมีความมั่นคงและปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือผู้เสียผลประโยชน์จากการดำเนินงานของ สสส.ได้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า สสส.ก็มีการแทรกแซงเช่นกัน ก็มีการต่อสู้กันมาเป็นระยะๆ เหมือนอย่าง สปสช.ที่มีการแทรกแซงอย่างรุนแรง ก็ต้องต่อสู้กันเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
“อยากให้ประชาชนถือว่า สสส.เป็นหน่วยงานภาคประชาชน เพราะหน่วยงานภาครัฐอื่น รัฐจะเป็นผู้ใช้เงินในการดำเนินการต่างๆ แต่ สสส. ชาวบ้านสามารถทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ในการทำงานได้ เพื่อประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านอย่างแท้จริง ประชาชนก็จะรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ สสส.” นพ.วิชัย กล่าว
ทพ.กฤษดา กล่าวด้วยว่า สสส.จะยังคงอยู่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับระบบและความโปร่งใส ซึ่งจากการวิจัยการดำเนินงานของ สสส.ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ความอิสระเป็นหัวใจและปัจจัยเหนึ่งที่ทำให้การทำงานของ สสส.ประสบความสำเร็จ แม้แต่องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลกและ WHO ก็ยืนยันเช่นนี้ ซึ่งสุดท้ายประชาชนเห็นประโยชน์ขององค์กรนี้มากแค่ไหน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อประชาชน ก็ต้องปกป้อง
วันนี้ (23 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานกรรมการ สสส. คนที่ 2 กล่าวระหว่างแถลงข่าวงาน “สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ : 1 ทศวรรษ สสส. สร้างเสริมสุขภาพสู่สังคมไทย” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28-29 พ.ค.นี้ ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เนื่องในโอกาสการดำเนินงานของ สสส. ครบรอบ 12 ปี ว่า แม้ สสส.จะเป็นองค์กรที่มีขนาดเล็กคือ มีจำนวนพนักงานเพียง 100 กว่าคน แต่สามารถบริหารงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเพราะ สสส.ไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง โดย 12 ปีที่ผ่านมา สสส.ได้ทำงานร่วมกับ “ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ” ทั้งจากภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 10,942 ภาคี เกิดโครงการสร้างสุขภาพถึง 12,365 โครงการ ซึ่งแต่ละงานก็สัมฤทธิ์ผลน่าพึงพอใจ
“ที่ผ่านมา สสส.ได้สร้างวัฒนธรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงครอบคลุมทั้งประเทศและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุ ทั้งการรับน้องปลอดเหล้า ประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า วัดปลอดเหล้า สถานที่ราชการปลอดเหล้า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ รวมไปถึงการลดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่และสงกรานต์ ซึ่งเดิมทีมีแนวโน้มเสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จากการดำเนินงานของ สสส.ปีที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 300 กว่ารายเท่านั้น” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า จากการทำงานทั้งหมด สสส.จำเป็นต้องทบทวน และสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมา สสส.ก็ได้รับการประเมินการดำเนินงานในโอกาสครบรอบ 5 ปี และ 10 ปี จากคณะผู้ประเมินประกอบด้วย องค์การอนามัยโลก (WHIO) ธนาคารโลก และออสเตรเลีย ซึ่งประเมินว่า สสส.เป็นองค์กรต้นแบบด้านนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และ WHO เองก็ขอให้ สสส.ไทยเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยตั้ง สสส.ของประเทศอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีต่างประเทศมาศึกษาการดำเนินงานของ สสส. มากกว่า 20 ประเทศ อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย ภูฏาน และลาว เป็นต้น
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า การจัดงานสานงาน เสริมพลังฯ ในครั้งนี้ จะมีการรวบรวมภาคีเครือข่ายครั้งใหญ่ในรอบ 12 ปีการทำงานของ สสส. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ร่วมวิเคราะห์การดำเนินงานในอีก 10 ปีข้างหน้า เสนอให้แก่คณะกรรมการ สสส. ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป และรวบรวมนวัตกรรมสุขภาพไว้เป็นหมวดหมู่ ให้คนทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งจะมีตัวแทนจากภาคีเครือข่ายมาร่วมกว่า 3,000 คน ในรอบ 12 ปี ของการทํางาน ถือเป็นการร่ วมขับเคลื่อนงาน กําหนดทิศทางอนาคตร่วมกัน และบูรณาการเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆ โดยหวังว่า จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน ทําให้ ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการร่วมกันกําหนดและผลักดันทิศทางและยุทธศาสตร์ ในอนาคตของ สสส. และ ขยายผลจากนวัตกรรมสู่ปฏิบติการ เพื่อทําให้ งานสร้างเสริมสุขภาพดําเนินไปอย่างยั่งยืน
ทพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ช่วงเช้าของวันที่ 28 พ.ค.ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ” การแสดงทรรศนะของนักวิชาการสาธารณสุขทั้งไทย และต่างชาติ และในวันที่ 29 พ.ค.มีการปาฐกถาพิเศษจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี หัวข้อ “สุขภาพในทศวรรษต่อไป” นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายห้องย่อยรวมกว่า 22 ห้อง และมีลานกิจกรรมหรือ Market Place ที่จะมีกิจกรรมสร้างสรรค์จากทุกภาคีเครือข่ายมาร่วมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า การดำเนินงานของ สสส.ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร และจะมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า สสส.จะคงอยู่เป็นองค์กรอิสระไปได้อีกนาน ถ้ายังมีการดำเนินการที่ดี เป็นประโยชน์ต่อชาติและประชาชน โดยจะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.มีการพัฒนาตนเอง ตรวจสอบการดำเนินงานของตนอย่างสม่ำเสมอ 2.ฟังเสียงสะท้อนการดำเนินงานจากผู้ที่หวังดีต่อองค์กร ซึ่งที่ผ่านมา สสส.ก็ได้รับการตรวจสอบระบบการเงินจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และต้องสรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานต่อ ครม. สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเป็นประจำทุกปี และ 3.ต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้าถึง ก็จะทำให้องค์กรมีความมั่นคงและปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือผู้เสียผลประโยชน์จากการดำเนินงานของ สสส.ได้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า สสส.ก็มีการแทรกแซงเช่นกัน ก็มีการต่อสู้กันมาเป็นระยะๆ เหมือนอย่าง สปสช.ที่มีการแทรกแซงอย่างรุนแรง ก็ต้องต่อสู้กันเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
“อยากให้ประชาชนถือว่า สสส.เป็นหน่วยงานภาคประชาชน เพราะหน่วยงานภาครัฐอื่น รัฐจะเป็นผู้ใช้เงินในการดำเนินการต่างๆ แต่ สสส. ชาวบ้านสามารถทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนจาก สสส.ในการทำงานได้ เพื่อประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านอย่างแท้จริง ประชาชนก็จะรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ สสส.” นพ.วิชัย กล่าว
ทพ.กฤษดา กล่าวด้วยว่า สสส.จะยังคงอยู่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับระบบและความโปร่งใส ซึ่งจากการวิจัยการดำเนินงานของ สสส.ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ความอิสระเป็นหัวใจและปัจจัยเหนึ่งที่ทำให้การทำงานของ สสส.ประสบความสำเร็จ แม้แต่องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลกและ WHO ก็ยืนยันเช่นนี้ ซึ่งสุดท้ายประชาชนเห็นประโยชน์ขององค์กรนี้มากแค่ไหน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อประชาชน ก็ต้องปกป้อง