“ชินภัทร” ชี้เลื่อนเปิด-ปิดเทอมอาเซียน เป็น 10 มิ.ย.เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมจากการประชาพิจารณ์ ระบุหากปรับออกไป 1-2 ด.ต้องปรับทั้งระบบ เพราะยังมีการทดสอบอื่นๆ ที่มีการล็อกตารางเวลาเรียบร้อยแล้ว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมการปรับเวลาเปิด-ปิดภาคเรียนของสถานศึกษาในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลับไปทบทวนรายละเอียดการเปิด-ปิดภาคเรียนของโรงเรียนระดับการศึกษาพื้นฐาน พร้อมเสนอทำประชาพิจารณ์อีกครั้ง หลังจาก สพฐ.กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 10 มิ.ย. ขณะที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนดให้มหาวิทยาลัยสมาชิก เปิด-ปิดภาคเรียนตามปฏิทินอาเซียน คือระหว่างกลางเดือน ส.ค.-ก.ย.ส่งผลให้ช่วงเวลาการเปิดภาคเรียนของการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษาห่างกันถึง 2 เดือน ว่า ที่ผ่านมานั้น สพฐ.ได้ทำประชาพิจารณ์ไปรอบหนึ่งแล้ว ก่อนได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 10 มิ.ย.ส่วนการจะให้พิจารณาทำประชาพิจารณ์รอบใหม่หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับมอบหมาย จึงยังไม่ทราบว่าจะให้พิจารณาใหม่เพิ่มเติมในด้านใด
ส่วนประเด็นที่จะให้ สพฐ.ศึกษาข้อมูลการเปิด-ปิดภาคเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนั้น เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า เรื่องนี้ สพฐ.ได้ศึกษาข้อมูลพร้อมกับเสนอไปตั้งแต่รอบแรกแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจาก รมว.ศธ.ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย จึงมีแนวคิดในรอบแรกคือไม่อยากให้การเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนกระทบกับนักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนวิถีชีวิตมากเกินไป ที่สำคัญคือโรงเรียนในชาติสมาชิกก็เปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกันอยู่แล้ว อย่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไนดารุสซาลาม จะเปิดเรียนตั้งแต่เดือน ม.ค.จนถึงเดือน พ.ย.นอกนั้นจะเปิดเรียนตั้งแต่เดือน พ.ค.ไปจนถึงเดือน ต.ค.
“จริงๆ แล้วจะปรับอย่างไรก็อยู่ในวิสัยที่ทำ เพียงแต่การเตรียมการจะต่างกัน ถ้าเลื่อนออกไปไม่มากก็คงไม่ต้องปรับอะไรมาก แต่ถ้าสมมติว่าเลื่อนออกไป 1-2 เดือน ก็คงต้องปรับระบบอื่นๆ ด้วย อย่างในเรื่องตารางการสอบก็คงต้องมานั่งไล่กันใหม่เลย เพราะระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ (O-Net) การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (NT) การทดสอบวัดความถนัด (GAT) และการทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) เหล่านี้มีตารางล็อกอยู่ แต่หากมีคำสั่งซึ่งถือเป็นนโยบายให้ทำประชาพิจารณ์ใหม่ สพฐ.ก็จะเร่งดำเนินการทันที เพราะตอนนี้ สพฐ.ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ทุกโรงเรียนเลื่อนไปเปิดภาคเรียนในวันที่ 10 มิ.ย.” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมการปรับเวลาเปิด-ปิดภาคเรียนของสถานศึกษาในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลับไปทบทวนรายละเอียดการเปิด-ปิดภาคเรียนของโรงเรียนระดับการศึกษาพื้นฐาน พร้อมเสนอทำประชาพิจารณ์อีกครั้ง หลังจาก สพฐ.กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 10 มิ.ย. ขณะที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนดให้มหาวิทยาลัยสมาชิก เปิด-ปิดภาคเรียนตามปฏิทินอาเซียน คือระหว่างกลางเดือน ส.ค.-ก.ย.ส่งผลให้ช่วงเวลาการเปิดภาคเรียนของการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษาห่างกันถึง 2 เดือน ว่า ที่ผ่านมานั้น สพฐ.ได้ทำประชาพิจารณ์ไปรอบหนึ่งแล้ว ก่อนได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือวันที่ 10 มิ.ย.ส่วนการจะให้พิจารณาทำประชาพิจารณ์รอบใหม่หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับมอบหมาย จึงยังไม่ทราบว่าจะให้พิจารณาใหม่เพิ่มเติมในด้านใด
ส่วนประเด็นที่จะให้ สพฐ.ศึกษาข้อมูลการเปิด-ปิดภาคเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนั้น เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า เรื่องนี้ สพฐ.ได้ศึกษาข้อมูลพร้อมกับเสนอไปตั้งแต่รอบแรกแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจาก รมว.ศธ.ได้รับฟังข้อคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย จึงมีแนวคิดในรอบแรกคือไม่อยากให้การเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนกระทบกับนักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนวิถีชีวิตมากเกินไป ที่สำคัญคือโรงเรียนในชาติสมาชิกก็เปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกันอยู่แล้ว อย่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไนดารุสซาลาม จะเปิดเรียนตั้งแต่เดือน ม.ค.จนถึงเดือน พ.ย.นอกนั้นจะเปิดเรียนตั้งแต่เดือน พ.ค.ไปจนถึงเดือน ต.ค.
“จริงๆ แล้วจะปรับอย่างไรก็อยู่ในวิสัยที่ทำ เพียงแต่การเตรียมการจะต่างกัน ถ้าเลื่อนออกไปไม่มากก็คงไม่ต้องปรับอะไรมาก แต่ถ้าสมมติว่าเลื่อนออกไป 1-2 เดือน ก็คงต้องปรับระบบอื่นๆ ด้วย อย่างในเรื่องตารางการสอบก็คงต้องมานั่งไล่กันใหม่เลย เพราะระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ (O-Net) การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (NT) การทดสอบวัดความถนัด (GAT) และการทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) เหล่านี้มีตารางล็อกอยู่ แต่หากมีคำสั่งซึ่งถือเป็นนโยบายให้ทำประชาพิจารณ์ใหม่ สพฐ.ก็จะเร่งดำเนินการทันที เพราะตอนนี้ สพฐ.ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ทุกโรงเรียนเลื่อนไปเปิดภาคเรียนในวันที่ 10 มิ.ย.” นายชินภัทร กล่าว