สพฐ.เตรียมเปิดซองทีโออาร์ จัดซื้อแท็บเล็ตเดือน มิ.ย.นี้ เผยหลังทำสัญญาต้องส่งล็อตแรก 25% ภายใน 35 วัน พร้อมเตรียมแผนงบจัดอบรมครู ป.2 สอนโดยใช้แท็บเล็ตเล็งปรับวิธีการใช้หลักจิตวิทยาให้ครูได้เรียนรู้ร่วมกับเด็ก เหตุเงินไม่พอรอหาเกลี่ยงบจากส่วนอื่นๆ ก็จะจัดอบรมตามกระบวนการ
นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างขอบเขตงาน หรือ ทีโออาร์ (Terma of Reference : TOR) ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แทบเล็ต) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการสรุปครั้งสุดท้ายของร่างทีโออาร์จัดซื้อเครื่องแทบเล็ต ป.1 และ ม.1 จำนวนกว่า 1.6 ล้านเครื่อง หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำร่างทีโออาร์ ไปเปิดประชาพิจารณ์ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ได้ทำประชาพิจารณ์ไปแล้วได้มีบริษัทที่เกี่ยวข้องเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของตัวเครื่องแท็บเล็ต แต่คณะกรรมการฯเห็นว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ จึงยื่นตามร่างทีโออาร์เดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างทีโออาร์ได้ข้อสรุปแล้ว ช่วงเวลาต่อจากนี้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค.ถึงต้นเดือน มิ.ย.ก็จะช่วงเป็นของการดำเนินการเพื่อเตรียมการอีออกชัน โดยเบื้องต้นกำหนดให้วันที่ 17 มิ.ย.บริษัทต่างๆ ต้องยื่นซองประมูลเข้ามาและประกาศผู้ผ่านการประมูลในวันที่ 19 มิ.ย.และเมื่อคณะกรรมการตรวจสอบความครบของเอกสารแล้วก็เสนอหัวหน้าส่วนราชการอนุมัติจัดซื้อและเสนอต่อนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นผู้อนุมัติ ก็จะส่งเรื่องให้กับทาง สพฐ.ในฐานะผู้ว่าจ้างให้เรียกบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกมาทำสัญญาจัดซื้อเครื่องแทบเล็ต อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเซ็นสัญญาแล้วบริษัทที่ได้รับการประมูลก็จะต้องจัดส่งเครื่องแท็บเล็ต 4 ล็อตภายหลังการทำสัญญา 90 วัน โดยล็อตแรก ต้องจัดส่งไม่น้อยกว่า 25% หรือหลังจากทำสัญญา 35 วัน
“ในการประมูลจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตขึ้นอยู่ว่า แต่ละบริษัทได้มีข้อเสนอตามที่ทีโออาร์กำหนดหรือไม่ และงบประมาณที่เสนอมาต้องต่ำที่สุด ซึ่งไม่ได้มีการกำหนด หรือผูกขาดการประมูลกับบริษัทใด เนื่องจากการจัดซื้อแบ่งออกเป็น 4 โซน บริษัทหนึ่งอาจจะยื่นประมูลทั้ง 4 โซนก็ได้ หรือจะยืนประมูลแค่โซนใดโซนหนึ่ง ซึ่งการประมูลครั้งนี้ทำตามระเบียบของราชการทุกขั้นตอน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้” นายเอนก กล่าว
นายเอนก กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.กำลังเตรียมจัดทำแผนอบรมครูผู้สอนชั้น ป.2 ในการสอนโดยใช้แท็บเล็ตให้เร็วที่สุด เพราะเดิมมีการอบรมครูเฉพาะชั้น ป.1 เท่านั้น แต่ขณะนี้เด็กชั้น ป.1 เลื่อนชั้นไปอยู่ชั้น ป.2 แล้วแต่ครูประจำชั้น ป.2 ก็เป็นครูคนใหม่ยังไม่คุ้นเคยกับเด็กและไม่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องแท็บเล็ต เพราะยังไม่ได้ผ่านการอบรม แต่ขณะนี้ติดขัดในเรื่องของงบประมาณ เนื่องจากในรอบที่ผ่านมาในการอบรมครูชั้น ป.1 มีการใช้งบประมาณสูงถึง 170 ล้านบาท ในการอบรมวิทยากรขั้นเทพ 50 คน วิทยากรแกนนำ 100 คน และครู 50,000 คน แต่ขณะนี้ สพฐ.มีงบในการดำเนินงานเพียง 108 ล้านบาท ซึ่งกำลังดูว่าจะไปเกลี่ยงบประมาณจากส่วนใดมาได้บ้าง ทั้งนี้ต้องดูงบประมาณที่จะต้องใช้ในการอบรมครูชั้น ม.1 ด้วย
“ที่ผ่านมาเงินงบประมาณในส่วนที่จะนำมาใช้ในการอบรมครู สำนักงบประมาณไม่ได้ตั้งไว้ ส่วนงบของสำนักงานพัฒนาบุคลากรครูก็มีการอบรมหลายเรื่องอยู่แล้ว หากจะนำงบส่วนนั้นมาก็อาจจะกระทบกับงานส่วนอื่นได้ส่วนทางแก้ปัญหาเบื้องต้น ครูชั้น ป.2 อาจจะต้องปรับวิธีการเรียนรู้ โดยใช้จิตวิทยามากขึ้นในการเรียนรู้จากเด็ก เช่น ครูอาจจะบอกให้เด็กๆช่วยกันสอนครู เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้รวมกัน การเรียนรู้เกิดจากเด็กทำให้ครูดู แต่หากมีงบประมาณก็จะต้องมีก็จะต้องมีการอบรมตามกระบวนการ” นายเอนก กล่าวและว่า ส่วนการบรรจุเนื้อหาชั้น ป.2 ได้ทำหนังสือสั่งการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ให้แจ้งโรงเรียนในสังกัดในลบโปรแกรมเนื้อหาของชั้น ป.1 ออกก่อน เพราะหน่วยความจำเครื่องแท็บเล็ต ป.1 เดิมมีเพียง 8 กิกะไบต์ แต่เนื้อหา ป.1 ลงไปแล้ว 6 กิ๊ก จึงมีไม่เพียงพอ เมื่อลบเนื้อหาเก่าแล้วจึงลงโปรแกรมเนื้อหาของชั้น ป. 2 ใหม่ได้ทันที โดยสามารถโหลดเนื้อหาได้ทางเซิร์ฟเวอร์ของกระทรวงศึกษา ซึ่งมีเนื้อหา ป.2 จำนวน 354 เรื่อง แบ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ จำนวน 348 เรื่อง และ E-Book จำนวน 6 เรื่อง มีความจุรวม 5 กิกะไบต์
นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างขอบเขตงาน หรือ ทีโออาร์ (Terma of Reference : TOR) ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แทบเล็ต) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการสรุปครั้งสุดท้ายของร่างทีโออาร์จัดซื้อเครื่องแทบเล็ต ป.1 และ ม.1 จำนวนกว่า 1.6 ล้านเครื่อง หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้นำร่างทีโออาร์ ไปเปิดประชาพิจารณ์ในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ได้ทำประชาพิจารณ์ไปแล้วได้มีบริษัทที่เกี่ยวข้องเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของตัวเครื่องแท็บเล็ต แต่คณะกรรมการฯเห็นว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ จึงยื่นตามร่างทีโออาร์เดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างทีโออาร์ได้ข้อสรุปแล้ว ช่วงเวลาต่อจากนี้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค.ถึงต้นเดือน มิ.ย.ก็จะช่วงเป็นของการดำเนินการเพื่อเตรียมการอีออกชัน โดยเบื้องต้นกำหนดให้วันที่ 17 มิ.ย.บริษัทต่างๆ ต้องยื่นซองประมูลเข้ามาและประกาศผู้ผ่านการประมูลในวันที่ 19 มิ.ย.และเมื่อคณะกรรมการตรวจสอบความครบของเอกสารแล้วก็เสนอหัวหน้าส่วนราชการอนุมัติจัดซื้อและเสนอต่อนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นผู้อนุมัติ ก็จะส่งเรื่องให้กับทาง สพฐ.ในฐานะผู้ว่าจ้างให้เรียกบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกมาทำสัญญาจัดซื้อเครื่องแทบเล็ต อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเซ็นสัญญาแล้วบริษัทที่ได้รับการประมูลก็จะต้องจัดส่งเครื่องแท็บเล็ต 4 ล็อตภายหลังการทำสัญญา 90 วัน โดยล็อตแรก ต้องจัดส่งไม่น้อยกว่า 25% หรือหลังจากทำสัญญา 35 วัน
“ในการประมูลจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตขึ้นอยู่ว่า แต่ละบริษัทได้มีข้อเสนอตามที่ทีโออาร์กำหนดหรือไม่ และงบประมาณที่เสนอมาต้องต่ำที่สุด ซึ่งไม่ได้มีการกำหนด หรือผูกขาดการประมูลกับบริษัทใด เนื่องจากการจัดซื้อแบ่งออกเป็น 4 โซน บริษัทหนึ่งอาจจะยื่นประมูลทั้ง 4 โซนก็ได้ หรือจะยืนประมูลแค่โซนใดโซนหนึ่ง ซึ่งการประมูลครั้งนี้ทำตามระเบียบของราชการทุกขั้นตอน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้” นายเอนก กล่าว
นายเอนก กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.กำลังเตรียมจัดทำแผนอบรมครูผู้สอนชั้น ป.2 ในการสอนโดยใช้แท็บเล็ตให้เร็วที่สุด เพราะเดิมมีการอบรมครูเฉพาะชั้น ป.1 เท่านั้น แต่ขณะนี้เด็กชั้น ป.1 เลื่อนชั้นไปอยู่ชั้น ป.2 แล้วแต่ครูประจำชั้น ป.2 ก็เป็นครูคนใหม่ยังไม่คุ้นเคยกับเด็กและไม่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องแท็บเล็ต เพราะยังไม่ได้ผ่านการอบรม แต่ขณะนี้ติดขัดในเรื่องของงบประมาณ เนื่องจากในรอบที่ผ่านมาในการอบรมครูชั้น ป.1 มีการใช้งบประมาณสูงถึง 170 ล้านบาท ในการอบรมวิทยากรขั้นเทพ 50 คน วิทยากรแกนนำ 100 คน และครู 50,000 คน แต่ขณะนี้ สพฐ.มีงบในการดำเนินงานเพียง 108 ล้านบาท ซึ่งกำลังดูว่าจะไปเกลี่ยงบประมาณจากส่วนใดมาได้บ้าง ทั้งนี้ต้องดูงบประมาณที่จะต้องใช้ในการอบรมครูชั้น ม.1 ด้วย
“ที่ผ่านมาเงินงบประมาณในส่วนที่จะนำมาใช้ในการอบรมครู สำนักงบประมาณไม่ได้ตั้งไว้ ส่วนงบของสำนักงานพัฒนาบุคลากรครูก็มีการอบรมหลายเรื่องอยู่แล้ว หากจะนำงบส่วนนั้นมาก็อาจจะกระทบกับงานส่วนอื่นได้ส่วนทางแก้ปัญหาเบื้องต้น ครูชั้น ป.2 อาจจะต้องปรับวิธีการเรียนรู้ โดยใช้จิตวิทยามากขึ้นในการเรียนรู้จากเด็ก เช่น ครูอาจจะบอกให้เด็กๆช่วยกันสอนครู เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้รวมกัน การเรียนรู้เกิดจากเด็กทำให้ครูดู แต่หากมีงบประมาณก็จะต้องมีก็จะต้องมีการอบรมตามกระบวนการ” นายเอนก กล่าวและว่า ส่วนการบรรจุเนื้อหาชั้น ป.2 ได้ทำหนังสือสั่งการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ ให้แจ้งโรงเรียนในสังกัดในลบโปรแกรมเนื้อหาของชั้น ป.1 ออกก่อน เพราะหน่วยความจำเครื่องแท็บเล็ต ป.1 เดิมมีเพียง 8 กิกะไบต์ แต่เนื้อหา ป.1 ลงไปแล้ว 6 กิ๊ก จึงมีไม่เพียงพอ เมื่อลบเนื้อหาเก่าแล้วจึงลงโปรแกรมเนื้อหาของชั้น ป. 2 ใหม่ได้ทันที โดยสามารถโหลดเนื้อหาได้ทางเซิร์ฟเวอร์ของกระทรวงศึกษา ซึ่งมีเนื้อหา ป.2 จำนวน 354 เรื่อง แบ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ จำนวน 348 เรื่อง และ E-Book จำนวน 6 เรื่อง มีความจุรวม 5 กิกะไบต์