กลุ่มเพื่อนมหิดล ออกแถลงการณ์หนุนแพทย์ชนบทและเครือข่ายผู้ป่วยชุมนุมหน้าบ้านนายกฯปู ชี้เป็นการสื่อสารไปยังผู้มีความรับผิดชอบ เล็งจัดตั้งกองทุนสนับสนุน จี้รัฐบาลสร้างนโยบายสุขภาพ เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์และการเข้าถึงของคนชนบทมากกว่าเชิงพาณิชย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (28 พ.ค.) กลุ่มเพื่อนมหิดล ซึ่งเป็นองค์กรภาคีความร่วมมือของบุคลากรในแวดวงวิชาชีพสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และการพัฒนา โดยเป็นอดีตนักศึกษา ม.มหิดล ได้ออกแถลงการกลุ่มเพื่อนมหิดล ฉบับที่ 1 “ไขปมวิกฤตสาธารณสุขไทย กรณีนโยบาย P4P” มีใจความโดยย่อว่า นโยบายจ่ายค่าตอบแทนแบบตามผลการปฏิบัติงาน (P4P : Pay for Performance) ของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ก่อให้เกิดกระแสคัดค้านอย่างกว้างขวาง จนอาจส่งผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น แม้หลายประเทศจะได้ใช้ระบบที่เรียกว่า “เบี้ยขยัน” P4P และพบว่าได้ผลดีตามที่ได้มีการศึกษาโดยสถาบันวิชาการด้านสาธารณสุข แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ผลดีกับประเทศไทย ซึ่งยังคงมีปัญหาและข้อจำกัดในการเข้าถึงการบริการสุขภาพอยู่มาก
กลุ่มเพื่อนมหิดล จึงมีความเห็นร่วมกันดังนี้ 1.เห็นด้วยและสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมแพทย์ชนบท ในการปฏิเสธระบบ P4P เนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้แทนระบบเหมาจ่ายได้ เพราะไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และทำให้เกิดอาการสมองไหลจากชนบทเข้าสู่เมือง เข้าสู่โรงพยาบาลเอกชน สนองต่อนโยบาย Medical Hub ของรัฐบาล ที่สำคัญ P4P เป็นการบันทึกกิจกรรมเก็บสะสมแต้ม ทำให้มีเวลาบริการผู้ป่วยน้อยลง และอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคลากร เกี่ยงกันไม่ทำงานที่ไม่ได้แต้ม เกิดผลลบต่อ “ทีมสุขภาพ” ที่สำคัญยิ่งสำหรับโรงพยาบาลชุมชน
2.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างนโยบายด้านสุขภาพที่ให้เกิดความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับอย่างเสมอภาค และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์และการเข้าถึงได้ง่ายของประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท มากกว่าเพื่อประโยชน์ของการบริการสุขภาพในเชิงพาณิชย์
3.นอกจากกลุ่มเพื่อนมหิดล จะสนับสนุนการแสดงออกและปฏิบัติการทางสังคมโดยสันติวิธี ของชมรมแพทย์ชนบท กลุ่มสหวิชาชีพด้านสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วย และเครือข่ายภาคีความร่วมมือด้านสุขภาพ ที่ต้องการสื่อสารข้อมูลและ ความคิดเห็นไปยังผู้มีส่วนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือประชาชนเจ้าของประเทศ อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแล้ว กลุ่มเพื่อนมหิดลยังจะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (28 พ.ค.) กลุ่มเพื่อนมหิดล ซึ่งเป็นองค์กรภาคีความร่วมมือของบุคลากรในแวดวงวิชาชีพสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และการพัฒนา โดยเป็นอดีตนักศึกษา ม.มหิดล ได้ออกแถลงการกลุ่มเพื่อนมหิดล ฉบับที่ 1 “ไขปมวิกฤตสาธารณสุขไทย กรณีนโยบาย P4P” มีใจความโดยย่อว่า นโยบายจ่ายค่าตอบแทนแบบตามผลการปฏิบัติงาน (P4P : Pay for Performance) ของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ก่อให้เกิดกระแสคัดค้านอย่างกว้างขวาง จนอาจส่งผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น แม้หลายประเทศจะได้ใช้ระบบที่เรียกว่า “เบี้ยขยัน” P4P และพบว่าได้ผลดีตามที่ได้มีการศึกษาโดยสถาบันวิชาการด้านสาธารณสุข แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ผลดีกับประเทศไทย ซึ่งยังคงมีปัญหาและข้อจำกัดในการเข้าถึงการบริการสุขภาพอยู่มาก
กลุ่มเพื่อนมหิดล จึงมีความเห็นร่วมกันดังนี้ 1.เห็นด้วยและสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมแพทย์ชนบท ในการปฏิเสธระบบ P4P เนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้แทนระบบเหมาจ่ายได้ เพราะไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และทำให้เกิดอาการสมองไหลจากชนบทเข้าสู่เมือง เข้าสู่โรงพยาบาลเอกชน สนองต่อนโยบาย Medical Hub ของรัฐบาล ที่สำคัญ P4P เป็นการบันทึกกิจกรรมเก็บสะสมแต้ม ทำให้มีเวลาบริการผู้ป่วยน้อยลง และอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคลากร เกี่ยงกันไม่ทำงานที่ไม่ได้แต้ม เกิดผลลบต่อ “ทีมสุขภาพ” ที่สำคัญยิ่งสำหรับโรงพยาบาลชุมชน
2.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างนโยบายด้านสุขภาพที่ให้เกิดความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับอย่างเสมอภาค และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์และการเข้าถึงได้ง่ายของประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท มากกว่าเพื่อประโยชน์ของการบริการสุขภาพในเชิงพาณิชย์
3.นอกจากกลุ่มเพื่อนมหิดล จะสนับสนุนการแสดงออกและปฏิบัติการทางสังคมโดยสันติวิธี ของชมรมแพทย์ชนบท กลุ่มสหวิชาชีพด้านสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วย และเครือข่ายภาคีความร่วมมือด้านสุขภาพ ที่ต้องการสื่อสารข้อมูลและ ความคิดเห็นไปยังผู้มีส่วนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือประชาชนเจ้าของประเทศ อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแล้ว กลุ่มเพื่อนมหิดลยังจะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการนี้ด้วย