คกก.สอบวินัยร้ายแรงเตรียมเชิญ “ชินภัทร” ให้ปากคำ 31 พ.ค.นี้ครั้งแรก พร้อมประสานขอเอกสารหลักฐานจาก “พนิตา” เพิ่มเติม “อภิชาติ” มั่นใจสรุปผลได้ภายใน 60 วัน
วันนี้ (28 พ.ค.) เมื่อเวลา 16.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรก ว่า เนื่องจากเป็นประชุมนัดแรก และยังไม่ครบองค์ประชุม เพราะกรรมการบางท่านติดภารกิจ โดยที่ประชุมได้กำหนดกรอบการดำเนินการประชุมเพื่อสอบสวนเรื่องดังกล่าวไว้ทุกบ่ายวันอังคาร และจะดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะเชิญ นายชินภัทร มาชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าวในวันที่ 31 พฤษภาคม ครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มอบหมายให้นายกำพล วันทา นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯ ไปประสานขอหลักฐาน และเอกสารการสอบปากคำ เพิ่มเติมจากคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีทุจริตการสอบครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นเหตุพิเศษ ว 12 ที่มีนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. เป็นประธาน เพื่อนำมาใช้ประกอบการสอบสวนต่อไป
ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ชุดนางพนิตา ได้ส่งข้อมูลบันทึกการสอบปากคำบางส่วนมาให้ตนแล้ว และจากการดูข้อมูล ทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการสอบสวนจะสามารถดำเนินการได้เร็ว มีแนวทางที่ชัดเจน อีกทั้งยังได้มีการสอบสวนพยานไปหลายปากแล้ว ซึ่งจากนี้คณะกรรมการฯ ชุดของตนจะเรียกผู้ที่ถูกสอบสวนไปแล้ว มายืนยันการให้ปากคำ และสอบเพิ่มเติมบางคนเท่านั้น ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณาเอกสารหลักฐานที่รับมาจากคณะกรรมการฯ ชุดนางพนิตา ประกอบ และตนมั่นใจว่าจะสามารถสรุปผลการสอบสวนได้เสร็จภายใน 60 วันแน่นอน
“ผมขอทำความเข้าใจว่า การสอบสวนวินัยร้ายแรงครั้งนี้เป็นคำสั่งสอบนายชินภัทร ตามความผิด ในมาตรา 82 และ 85 แห่ง พ.ร.บระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายร้ายแรง แต่กรรมการชุดผมไม่ได้มีหน้าที่หาว่าใครเป็นคนทุจริต แต่ถ้าสอบไปแล้วเจอประเด็นใดเพิ่มเติม กรรมการสามารถรายงานไปยังรัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อมีคำสั่งเพิ่มเติมต่อไปได้ ส่วนอีก 3 คนที่เหลือ คือ นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล สพฐ. และอดีตผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. และนายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. และอดีตผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการสอบข้อเท็จจริง ของนางพนิตา อยู่ ถ้าสรุปว่าพบมูลการทำความผิดแล้ว ก็อาจจะส่งมาให้คณะกรรมการฯ ชุดของผมสอบต่อ หรือตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาพิจารณาต่อก็ได้”นายอภิชาติ กล่าวและว่า สำหรับลำดับโทษของการสอบสวนวินัยร้ายแรงครั้งนี้ สามารถลงโทษได้ตั้งแต่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ให้ออก และปลดออกจากราชการ ส่วนจะถูกลงโทษระดับไหนขึ้นอยู่กับว่า การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการร้ายแรงแค่ไหน ซึ่งไม่ได้พิจารณาในแง่ของเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความเสียหาย ความเชื่อมั่นต่อระบบราชการด้วย
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ได้เซ็นรับทราบคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงตนเองแล้ว แต่ยังไม่ได้เตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงกรรมการสอบวินัย เพราะในคำสั่งไม่ได้ระบุประเด็นชัดเจน คงต้องขอให้กรรมการฯ แจ้งประเด็นมาก่อนจึงจะสามารถเตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงได้ อย่างไรก็ตาม ตนกำลังหารือกับผู้รู้อยู่ว่า โดยปกติแล้ว การสอบวินัยร้ายแรงต้องมีขั้นตอน รายละเอียดอย่างไร เปรียบเทียบกับกรณีของคนอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ ในคำสั่งกำหนดให้สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งก็คงต้องขึ้นอยู่กับการปรึกษาผู้เกี่ยวข้องก่อนว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
วันนี้ (28 พ.ค.) เมื่อเวลา 16.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ นัดแรก ว่า เนื่องจากเป็นประชุมนัดแรก และยังไม่ครบองค์ประชุม เพราะกรรมการบางท่านติดภารกิจ โดยที่ประชุมได้กำหนดกรอบการดำเนินการประชุมเพื่อสอบสวนเรื่องดังกล่าวไว้ทุกบ่ายวันอังคาร และจะดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะเชิญ นายชินภัทร มาชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าวในวันที่ 31 พฤษภาคม ครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มอบหมายให้นายกำพล วันทา นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนฯ ไปประสานขอหลักฐาน และเอกสารการสอบปากคำ เพิ่มเติมจากคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีทุจริตการสอบครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นเหตุพิเศษ ว 12 ที่มีนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. เป็นประธาน เพื่อนำมาใช้ประกอบการสอบสวนต่อไป
ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ชุดนางพนิตา ได้ส่งข้อมูลบันทึกการสอบปากคำบางส่วนมาให้ตนแล้ว และจากการดูข้อมูล ทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการสอบสวนจะสามารถดำเนินการได้เร็ว มีแนวทางที่ชัดเจน อีกทั้งยังได้มีการสอบสวนพยานไปหลายปากแล้ว ซึ่งจากนี้คณะกรรมการฯ ชุดของตนจะเรียกผู้ที่ถูกสอบสวนไปแล้ว มายืนยันการให้ปากคำ และสอบเพิ่มเติมบางคนเท่านั้น ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณาเอกสารหลักฐานที่รับมาจากคณะกรรมการฯ ชุดนางพนิตา ประกอบ และตนมั่นใจว่าจะสามารถสรุปผลการสอบสวนได้เสร็จภายใน 60 วันแน่นอน
“ผมขอทำความเข้าใจว่า การสอบสวนวินัยร้ายแรงครั้งนี้เป็นคำสั่งสอบนายชินภัทร ตามความผิด ในมาตรา 82 และ 85 แห่ง พ.ร.บระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายร้ายแรง แต่กรรมการชุดผมไม่ได้มีหน้าที่หาว่าใครเป็นคนทุจริต แต่ถ้าสอบไปแล้วเจอประเด็นใดเพิ่มเติม กรรมการสามารถรายงานไปยังรัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อมีคำสั่งเพิ่มเติมต่อไปได้ ส่วนอีก 3 คนที่เหลือ คือ นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล สพฐ. และอดีตผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ. และนายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. และอดีตผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการสอบข้อเท็จจริง ของนางพนิตา อยู่ ถ้าสรุปว่าพบมูลการทำความผิดแล้ว ก็อาจจะส่งมาให้คณะกรรมการฯ ชุดของผมสอบต่อ หรือตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาพิจารณาต่อก็ได้”นายอภิชาติ กล่าวและว่า สำหรับลำดับโทษของการสอบสวนวินัยร้ายแรงครั้งนี้ สามารถลงโทษได้ตั้งแต่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ให้ออก และปลดออกจากราชการ ส่วนจะถูกลงโทษระดับไหนขึ้นอยู่กับว่า การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการร้ายแรงแค่ไหน ซึ่งไม่ได้พิจารณาในแง่ของเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความเสียหาย ความเชื่อมั่นต่อระบบราชการด้วย
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ได้เซ็นรับทราบคำสั่งตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงตนเองแล้ว แต่ยังไม่ได้เตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงกรรมการสอบวินัย เพราะในคำสั่งไม่ได้ระบุประเด็นชัดเจน คงต้องขอให้กรรมการฯ แจ้งประเด็นมาก่อนจึงจะสามารถเตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงได้ อย่างไรก็ตาม ตนกำลังหารือกับผู้รู้อยู่ว่า โดยปกติแล้ว การสอบวินัยร้ายแรงต้องมีขั้นตอน รายละเอียดอย่างไร เปรียบเทียบกับกรณีของคนอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ ในคำสั่งกำหนดให้สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งก็คงต้องขึ้นอยู่กับการปรึกษาผู้เกี่ยวข้องก่อนว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป