รณรงค์ 25 ปี ไม่สูบบุหรี่ ลดสิงห์อมควันได้ 5.7 ล้านคน ยอดขายบุหรี่ลดกว่า 100 ล้านซอง/ปี ช่วยรัฐเก็บภาษียาสูบเพิ่มขึ้น พบปี 55 พุ่ง 59,914 ล้านบาท สสส.เดินหน้าหนุนภาคีสกัดนักสูบหน้าใหม่ พร้อมเปิดนิทรรศการ “รักไร้ควัน” ชูมุมมองใหม่ เลิกสูบบุหรี่เพื่อคนที่เรารักและรักเรา
วันนี้ (23 พ.ค.) ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการบุหรี่ “รักไร้ควัน” (Be loved, Not smoke) ว่า ผลจากการขับเคลื่อนงานรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในสังคมไทยกว่า 25 ปี ปรากฏผลสำเร็จอย่างชัดเจนและน่าพอใจ โดยปี พ.ศ.2534 มีผู้สูบบุหรี่ 12.26 ล้านคน จากประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป 38.3 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 32 ส่วนปี พ.ศ.2554 มีผู้สูบบุหรี่ 11.5 ล้านคน จากประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป 53.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.4 เมื่อคิดเป็นจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงกว่าที่ควรจะเป็นเท่ากับ 5.7 ล้านคน จำนวนผู้สูบบุหรี่ เมื่อแบ่งเป็น เพศชายจาก ร้อยละ 59.3 ในปี พ.ศ.2534 ลดเหลือร้อยละ 40.7 ในปี พ.ศ.2554 ส่วนเพศหญิง จากร้อยละ 4.9 ลดเหลือร้อยละ 2.1โดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 25.47 ในปี พ.ศ.2544 เหลือร้อยละ 21.4 ในปี พ.ศ.2554 สอดคล้องกับอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านลดลง โดยในปี พ.ศ.2550 คนไทยที่สูบบุหรี่สูบในบ้านร้อยละ 58 ลดลงจากที่เคยสูบในบ้านร้อยละ 85 ในปี พ.ศ.2544 นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองจากการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะจากการออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ 100% ด้วย
ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า ในปี พ.ศ.2552 มีคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้วราว 6.3 ล้านคน ซึ่งหากคำนวณตามสถิติที่พบว่าคนที่สูบบุหรี่ต่อไปโดยไม่หยุด 1 ใน 3 ถึงครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนเวลาจากการสูบบุหรี่ จะคิดเป็นจำนวนคนไทยที่รอดพ้นจากการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ได้ถึง 2.1 ถึง 3.15 ล้านคน ด้านนโยบายการขึ้นภาษียาสูบตามการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพ ทำให้ช่วงปี 2535-2555 มีการขึ้นภาษีบุหรี่ซิกาแรต 10 ครั้ง เฉลี่ยมีการขึ้นภาษีทุก 2 ปี ทำให้รัฐบาลเก็บภาษียาสูบได้เพิ่มขึ้นจาก 15,438 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2536 เป็น 59,914 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2555 สะท้อนให้เห็นว่า มาตรการทางภาษีเป็นมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ได้ผลเป็นอย่างดี แต่ต้องทำควบคู่กับการให้ความรู้ และรณรงค์ทางสังคมด้วย ในส่วนของจำนวนบุหรี่ที่สูบในช่วง ปีพ.ศ.2533-2555 มียอดจำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตคงที่อยู่ที่เฉลี่ยราวปีละ 2 พันล้านซองโดยยอดจำหน่าย พ.ศ.2533-2536 เท่ากับ 2,000 ล้านซองต่อปี เปรียบเทียบยอดจำหน่าย พ.ศ.2537-2544 เท่ากับ 2,100 ล้านซองต่อปีและภายหลังการจัดตั้ง สสส.ระหว่าง พ.ศ.2545-2555 เท่ากับ1,933 ล้านซองต่อปี
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าวว่า สสส.มุ่งเน้นการสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่ายด้านควบคุมยาสูบ ทั้งด้านวิชาการ การขับเคลื่อนสังคม และการพัฒนานโยบายสาธารณะให้เชื่อมโยงและสนับสนุนการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการคลัง เพื่อสนับสนุนมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบในหลายมาตรการพร้อมกัน เช่น ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ มาตรการด้านภาษี ควบคุมการโฆษณา คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และการช่วยเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ ได้ร่วมผลักดันแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ....ให้ทันสมัย เท่าทันกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ โดยเฉพาะการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ (อายุ 15-24 ปี) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา สสส.ได้สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ และการพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อช่วยเลิกบุหรี่อีกด้วย
ทพ.กฤษดา กล่าวต่อว่า การจัดนิทรรศการบุหรี่ “รักไร้ควัน” เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และครอบครัว เพื่อปกป้องเยาวชนไทยให้ห่างไกลจากบุหรี่ และช่วยคนที่ติดบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ได้ โดยเป็นนิทรรศการหมุนเวียนที่บอกเล่าพิษภัยของบุหรี่ โดยมอง “บุหรี่” กับ “ความรัก” เป็นเรื่องเดียวกัน มองด้วยความเข้าใจและพร้อมอยู่เคียงข้าง ซึ่งนิทรรศการประกอบด้วย 3 โซนหลัก ได้แก่ 1.จริงหรือ? ที่ว่าเท่ห์! 2.คุณค่า คุณฆ่า และ3.เพราะคุณเป็นที่รัก โดยจัดแสดงนิทรรศการตั้งแต่ 28 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม 2556 ณ โซนนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 2 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดการเข้าชมนิทรรศการได้ที่ exhibition.thc@thaihealth.or.th หรือ โทร.083-098 1805-6 / 02-343-1500 ต่อ 2
วันนี้ (23 พ.ค.) ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการบุหรี่ “รักไร้ควัน” (Be loved, Not smoke) ว่า ผลจากการขับเคลื่อนงานรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในสังคมไทยกว่า 25 ปี ปรากฏผลสำเร็จอย่างชัดเจนและน่าพอใจ โดยปี พ.ศ.2534 มีผู้สูบบุหรี่ 12.26 ล้านคน จากประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป 38.3 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 32 ส่วนปี พ.ศ.2554 มีผู้สูบบุหรี่ 11.5 ล้านคน จากประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป 53.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.4 เมื่อคิดเป็นจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงกว่าที่ควรจะเป็นเท่ากับ 5.7 ล้านคน จำนวนผู้สูบบุหรี่ เมื่อแบ่งเป็น เพศชายจาก ร้อยละ 59.3 ในปี พ.ศ.2534 ลดเหลือร้อยละ 40.7 ในปี พ.ศ.2554 ส่วนเพศหญิง จากร้อยละ 4.9 ลดเหลือร้อยละ 2.1โดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 25.47 ในปี พ.ศ.2544 เหลือร้อยละ 21.4 ในปี พ.ศ.2554 สอดคล้องกับอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านลดลง โดยในปี พ.ศ.2550 คนไทยที่สูบบุหรี่สูบในบ้านร้อยละ 58 ลดลงจากที่เคยสูบในบ้านร้อยละ 85 ในปี พ.ศ.2544 นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองจากการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะจากการออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ 100% ด้วย
ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า ในปี พ.ศ.2552 มีคนไทยที่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้วราว 6.3 ล้านคน ซึ่งหากคำนวณตามสถิติที่พบว่าคนที่สูบบุหรี่ต่อไปโดยไม่หยุด 1 ใน 3 ถึงครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตก่อนเวลาจากการสูบบุหรี่ จะคิดเป็นจำนวนคนไทยที่รอดพ้นจากการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ได้ถึง 2.1 ถึง 3.15 ล้านคน ด้านนโยบายการขึ้นภาษียาสูบตามการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพ ทำให้ช่วงปี 2535-2555 มีการขึ้นภาษีบุหรี่ซิกาแรต 10 ครั้ง เฉลี่ยมีการขึ้นภาษีทุก 2 ปี ทำให้รัฐบาลเก็บภาษียาสูบได้เพิ่มขึ้นจาก 15,438 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2536 เป็น 59,914 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2555 สะท้อนให้เห็นว่า มาตรการทางภาษีเป็นมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ได้ผลเป็นอย่างดี แต่ต้องทำควบคู่กับการให้ความรู้ และรณรงค์ทางสังคมด้วย ในส่วนของจำนวนบุหรี่ที่สูบในช่วง ปีพ.ศ.2533-2555 มียอดจำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตคงที่อยู่ที่เฉลี่ยราวปีละ 2 พันล้านซองโดยยอดจำหน่าย พ.ศ.2533-2536 เท่ากับ 2,000 ล้านซองต่อปี เปรียบเทียบยอดจำหน่าย พ.ศ.2537-2544 เท่ากับ 2,100 ล้านซองต่อปีและภายหลังการจัดตั้ง สสส.ระหว่าง พ.ศ.2545-2555 เท่ากับ1,933 ล้านซองต่อปี
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าวว่า สสส.มุ่งเน้นการสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่ายด้านควบคุมยาสูบ ทั้งด้านวิชาการ การขับเคลื่อนสังคม และการพัฒนานโยบายสาธารณะให้เชื่อมโยงและสนับสนุนการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการคลัง เพื่อสนับสนุนมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบในหลายมาตรการพร้อมกัน เช่น ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ มาตรการด้านภาษี ควบคุมการโฆษณา คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และการช่วยเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ ได้ร่วมผลักดันแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ....ให้ทันสมัย เท่าทันกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ โดยเฉพาะการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ (อายุ 15-24 ปี) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา สสส.ได้สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ และการพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อช่วยเลิกบุหรี่อีกด้วย
ทพ.กฤษดา กล่าวต่อว่า การจัดนิทรรศการบุหรี่ “รักไร้ควัน” เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และครอบครัว เพื่อปกป้องเยาวชนไทยให้ห่างไกลจากบุหรี่ และช่วยคนที่ติดบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ได้ โดยเป็นนิทรรศการหมุนเวียนที่บอกเล่าพิษภัยของบุหรี่ โดยมอง “บุหรี่” กับ “ความรัก” เป็นเรื่องเดียวกัน มองด้วยความเข้าใจและพร้อมอยู่เคียงข้าง ซึ่งนิทรรศการประกอบด้วย 3 โซนหลัก ได้แก่ 1.จริงหรือ? ที่ว่าเท่ห์! 2.คุณค่า คุณฆ่า และ3.เพราะคุณเป็นที่รัก โดยจัดแสดงนิทรรศการตั้งแต่ 28 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม 2556 ณ โซนนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 2 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดการเข้าชมนิทรรศการได้ที่ exhibition.thc@thaihealth.or.th หรือ โทร.083-098 1805-6 / 02-343-1500 ต่อ 2