ผลทดสอบอุณหภูมิรถขณะตากแดดพบดีดตัวขึ้น 16 องศา จาก 26 องศา กลายเป็น 42 องศา ใน 2 ชั่วโมง แพทย์ระบุหากเด็กจะติดอยู่ในรถที่อุณหภูมิระดับนี้จะตายทันทีใน 2 ชั่วโมง เหตุสมองบวมกดทับศูนย์การหายใจ เสนอ ศธ.เข้มคนขับรถและครูเช็กลิสต์ทุกครั้ง อย่าหวังพึ่งการติดเซ็นเซอร์ในรถโรงเรียน ชี้ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา
วันนี้ (16 พ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนจัดการความปลอดภัยในเด็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก กล่าวระหว่างแถลงข่าวเรื่อง ไขทางออก “รถโรงเรียน : รถมรณะ” ภัยร้ายใกล้ตัว ว่า สถานการณ์เด็กเสียชีวิตจากการติดอยู่ภายในรถยนต์ปีนี้ พบแล้วถึง 3 ราย ได้แก่ กรณีตาลืมหลานไว้ในรถ กรณีน้องเอยและกรณีน้องพอตเตอร์ถูกลืมไว้ในรถโรงเรียน ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตไม่ใช่เพราะการขาดอากาศหายใจอย่างที่เข้าใจ เนื่องจากออกซิเจนในรถไม่ได้หมดแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะอุณหภูมิภายในรถสูงมาก จนเกินไปกว่าเด็กจะปรับตัวเพื่อกำจัดความร้อนในร่างกายได้ ส่งผลให้เซลล์ตาย เม็ดเลือดแตก เลือดเป็นกรด เกิดภาวะสมองบวมจนกดทับศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจและเสียชีวิตในที่สุด
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในวันนี้มีการทดลองนำรถตู้มาจอดไว้อยู่กลางแจ้งเพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิด้วย โดยอุณหภูมิภายในรถก่อนนำมาจอดกลางแจ้งอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 38 องศาฯ เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมงพบว่า อุณหภูมิภายในรถเพิ่มขึ้นเป็น 42.9 องศาฯ ขณะที่อุณหภูมิภายนอกเพิ่มเป็น 40 องศาฯ เท่ากับว่าอุณหภูมิภายในรถเพิ่มขึ้นถึง 16 องศาฯ ภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งอุณหภูมิในระดับนี้เด็กจะเสียชีวิตทันทีหากติดอยู่ในรถนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากพบเด็กติดอยู่ภายในรถให้รีบนำตัวเด็กออกมาปฐมพยาบาลทันที หากเด็กหยุดหายใจต้องรีบปั๊มหัวใจให้เด็กก่อน หากยังคงหายใจอยู่ให้รีบปลดเสื้อผ้าและเช็ดตัวคลายความร้อนให้แก่เด็ก
"อยากเสนอกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวมากขึ้น โดยโรงเรียนต้องฝึกอบรมคนขับรถ และครูประจำรถ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กขณะที่อยู่ในรถเป็นสำคัญ ต้องตรวจนับจำนวนเด็กขึ้น-ลงให้ถี่ถ้วน มีครูผู้ช่วยดูแลเด็กในรถเสมอ ไม่ใช่มีคนขับคนเดียว เมื่อเสร็จภาระก่อนล็อกประตู ฃต้องดูให้ทั่วรถ ตอนหน้า ตอนกลาง ตอนหลัง มีเด็กทิ้งไว้หรือไม่ ทำเป็นแบบแผนปฏิบัติงานจนเป็นนิสัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยอีก เพราะโรงเรียนไม่ได้มีหน้าที่เพียงให้การศึกษา และพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น แต่ต้องดูแลให้ได้รับความปลอดภัยในระหว่างเรียนด้วย” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่ ศธ.จะกำชับไปยังสถานศึกษาให้สอนวิธีการช่วยเหลือตนเองให้แก่เด็กหากติดอยู่ในรถ เช่น บีบแตร เป็นสิ่งที่ดี แต่โดยหลักการเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ต้องถือว่าเด็กยังทำไม่ได้ แม้เด็กอาจจะทำได้ก็อาจทำในเวลาไม่เหมาะสม เช่น การสอนเปิดประตู อาจเปิดในขณะรถแล่น แต่เวลาติดอยู่ข้างในรถอาจเอาแต่ร้องไม่เปิดเอง จึงต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลใกล้ชิดเสมอ โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ต้องอยู่ในระยะที่ผู้ใหญ่มองเห็นและคว้าถึง ส่วนเด็กอายุ 3-6 ปี ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็นและเข้าถึง ฉะนั้นจะต้องไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีคนเห็น และจะโทษพฤติกรรมเด็กไม่ได้ ส่วนการลดกระจกรถลงและนำรถไปจอดไว้ในที่ร่ม เด็กที่อยู่ภายในรถก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเหมือนกัน แต่ระยะเวลาที่เด็กจะมีชีวิตอยู่ภายในรถอาจจะนานขึ้นกว่า 2 ชั่วโมง เนื่องจากอุณหภูมิภายในรถจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
ผู้สื่อข่าวถามถึงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ที่เสนอให้ ศธ.แก้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ.2536 ให้รถโรงเรียนทุกคันติดเซ็นเซอร์นั้น รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า แม้จะมีการติดเซ็นเซอร์ภายในรถโรงเรียนแต่ก็คงไม่ปลอดภัยเท่ากับการให้ผู้มีหน้าที่ดูแลเด็กทำการเช็กลิสต์ว่าเด็กลงจากรถครบหมดแล้วหรือยัง ที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการทำหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นดีแค่ไหน หากมีการนำมาใช้ควบคู่กันไปก็นับว่าเป็นเรื่องดี แต่หากจะแก้ปัญหาด้วยการติดเซ็นเซอร์เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่ยุทธศาสตร์หลักในการแก้ปัญหา
วันนี้ (16 พ.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนจัดการความปลอดภัยในเด็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก กล่าวระหว่างแถลงข่าวเรื่อง ไขทางออก “รถโรงเรียน : รถมรณะ” ภัยร้ายใกล้ตัว ว่า สถานการณ์เด็กเสียชีวิตจากการติดอยู่ภายในรถยนต์ปีนี้ พบแล้วถึง 3 ราย ได้แก่ กรณีตาลืมหลานไว้ในรถ กรณีน้องเอยและกรณีน้องพอตเตอร์ถูกลืมไว้ในรถโรงเรียน ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตไม่ใช่เพราะการขาดอากาศหายใจอย่างที่เข้าใจ เนื่องจากออกซิเจนในรถไม่ได้หมดแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะอุณหภูมิภายในรถสูงมาก จนเกินไปกว่าเด็กจะปรับตัวเพื่อกำจัดความร้อนในร่างกายได้ ส่งผลให้เซลล์ตาย เม็ดเลือดแตก เลือดเป็นกรด เกิดภาวะสมองบวมจนกดทับศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจและเสียชีวิตในที่สุด
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในวันนี้มีการทดลองนำรถตู้มาจอดไว้อยู่กลางแจ้งเพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิด้วย โดยอุณหภูมิภายในรถก่อนนำมาจอดกลางแจ้งอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 38 องศาฯ เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมงพบว่า อุณหภูมิภายในรถเพิ่มขึ้นเป็น 42.9 องศาฯ ขณะที่อุณหภูมิภายนอกเพิ่มเป็น 40 องศาฯ เท่ากับว่าอุณหภูมิภายในรถเพิ่มขึ้นถึง 16 องศาฯ ภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งอุณหภูมิในระดับนี้เด็กจะเสียชีวิตทันทีหากติดอยู่ในรถนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ หากพบเด็กติดอยู่ภายในรถให้รีบนำตัวเด็กออกมาปฐมพยาบาลทันที หากเด็กหยุดหายใจต้องรีบปั๊มหัวใจให้เด็กก่อน หากยังคงหายใจอยู่ให้รีบปลดเสื้อผ้าและเช็ดตัวคลายความร้อนให้แก่เด็ก
"อยากเสนอกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวมากขึ้น โดยโรงเรียนต้องฝึกอบรมคนขับรถ และครูประจำรถ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กขณะที่อยู่ในรถเป็นสำคัญ ต้องตรวจนับจำนวนเด็กขึ้น-ลงให้ถี่ถ้วน มีครูผู้ช่วยดูแลเด็กในรถเสมอ ไม่ใช่มีคนขับคนเดียว เมื่อเสร็จภาระก่อนล็อกประตู ฃต้องดูให้ทั่วรถ ตอนหน้า ตอนกลาง ตอนหลัง มีเด็กทิ้งไว้หรือไม่ ทำเป็นแบบแผนปฏิบัติงานจนเป็นนิสัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยอีก เพราะโรงเรียนไม่ได้มีหน้าที่เพียงให้การศึกษา และพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น แต่ต้องดูแลให้ได้รับความปลอดภัยในระหว่างเรียนด้วย” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่ ศธ.จะกำชับไปยังสถานศึกษาให้สอนวิธีการช่วยเหลือตนเองให้แก่เด็กหากติดอยู่ในรถ เช่น บีบแตร เป็นสิ่งที่ดี แต่โดยหลักการเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ต้องถือว่าเด็กยังทำไม่ได้ แม้เด็กอาจจะทำได้ก็อาจทำในเวลาไม่เหมาะสม เช่น การสอนเปิดประตู อาจเปิดในขณะรถแล่น แต่เวลาติดอยู่ข้างในรถอาจเอาแต่ร้องไม่เปิดเอง จึงต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลใกล้ชิดเสมอ โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ต้องอยู่ในระยะที่ผู้ใหญ่มองเห็นและคว้าถึง ส่วนเด็กอายุ 3-6 ปี ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็นและเข้าถึง ฉะนั้นจะต้องไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีคนเห็น และจะโทษพฤติกรรมเด็กไม่ได้ ส่วนการลดกระจกรถลงและนำรถไปจอดไว้ในที่ร่ม เด็กที่อยู่ภายในรถก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเหมือนกัน แต่ระยะเวลาที่เด็กจะมีชีวิตอยู่ภายในรถอาจจะนานขึ้นกว่า 2 ชั่วโมง เนื่องจากอุณหภูมิภายในรถจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
ผู้สื่อข่าวถามถึงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ที่เสนอให้ ศธ.แก้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ.2536 ให้รถโรงเรียนทุกคันติดเซ็นเซอร์นั้น รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า แม้จะมีการติดเซ็นเซอร์ภายในรถโรงเรียนแต่ก็คงไม่ปลอดภัยเท่ากับการให้ผู้มีหน้าที่ดูแลเด็กทำการเช็กลิสต์ว่าเด็กลงจากรถครบหมดแล้วหรือยัง ที่สำคัญต้องดูด้วยว่าการทำหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นดีแค่ไหน หากมีการนำมาใช้ควบคู่กันไปก็นับว่าเป็นเรื่องดี แต่หากจะแก้ปัญหาด้วยการติดเซ็นเซอร์เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่ยุทธศาสตร์หลักในการแก้ปัญหา