สช.ชี้ 15 วันรู้ผลตรวจสอบข้อเท็จจริงน้องพอตเตอร์เสียชีวิตในรถรับ-ส่ง ลั่น ร.ร.ปัดความรับผิดชอบไม่ได้
วันนี้ (16 พ.ค.) นายบัญฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยภายหลังตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงจากส่วนกลาง เพื่อตรวจสอบกรณีการเสียชีวิตของ ด.ช.สุริยการ พากัน หรือน้องพอตเตอร์ ว่า เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สช.ได้สั่งการให้คณะกรรมการเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเก็บข้อมูลพยานแวดล้อมตามลำดับเหตการณ์ เพื่อดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เช่น รถกระบะคันดังกล่าว เป็นรถโรงเรียนที่มีการรับ-ส่งนักเรียนคนอื่นด้วยหรือไม่ ถ้าพบว่ารับเด็กคนอื่นมาด้วย กระบะคันนี้ก็เข้าข่ายเป็นรถโรงเรียนรับ-ส่งนักเรียน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ.2536 และแม้ว่าไม่ใช่รถของโรงเรียนโดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นพาหนะที่โรงเรียนเลือกนำมาใช้ หรือคุณสมบัติของผู้ได้รับอนุญาตขับขี่เพื่อให้บริการนั้น โรงเรียนได้พิจารณาให้ไปตามระเบียบฯ กำหนดไว้หรือไม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในระเบียบฯ ดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติพนักงานขับรถไว้อย่างชัดเจน อาทิ พนักงานขับรถต้องมีใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 ปี มีความชำนาญ รอบคอบ รู้เส้นทางที่ใช้รับส่งนักเรียนเป็นอย่างดี ฯลฯ ขณะเดียวกัน ยังกำหนดหน้าที่ด้วยว่าต้องตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี และพร้อมที่จะใช้การได้ตลอดเวลา ไม่ขับรถในขณะมึนเมา และหากมีเหตุการณ์หรือกรณีฉุกเฉินใด ๆ เกิดขึ้นต้องรายงานเรื่องดังกล่าวต่อโรงเรียนทราบทันที ที่สำคัญมากที่สุด คือ สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลนักเรียนนั้น จะต้องตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่รับส่งแต่ละเที่ยวให้ถูกต้อง ครบถ้วนตรงตามรายชื่อนักเรียน และต้องทำบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ใช้บริการ โดยจะต้องส่งนักเรียนทุกคนให้กับครูประจำชั้นและผู้ปกครองโดยตรง
นายบัญฑิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีของน้องพอตเตอร์ที่เสียชีวิต แม้ว่าโรงเรียนอุทุมพรวิทยา จะชี้แจงว่ายังไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียน แต่คงไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ โดยเฉพาะหากคณะกรรมการได้ข้อมูลที่ชี้ชัดว่านอกจากน้องพอตเตอร์แล้ว ยังมีนักเรียนคนอื่นๆ นั่งมากับรถกระบะคันดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สช.ไม่ได้กล่าวโทษโรงเรียนเสียทีเดียว เพราะหากข้อมูลชี้ชัดไปอีกทางว่าเด็กยังไม่เคยมีสถานะเป็นนักเรียนของโรงเรียนเลย ตลอดจนรถกระบะคันดังกล่าวไม่เคยรับ-ส่งนักเรียนเลย ระเบียบฉบับนี้คงไม่สามารถครอบคลุมได้ ซึ่ง สช.เชื่อมั่นว่าเรื่องนี้คงใช้เวลาตัดสินได้ช้าสุดไม่เกิน 15 วัน
“ถามว่าหากผลการตัดสินชี้ชัดว่าเป็นความผิดของครูและโรงเรียน จะมียาแรงไปถึงผู้บริหารหรือผู้ขอใบอนุญาตหรือไม่ เวลานี้ผมยังไม่อยากสมมติไปก่อน แต่ถ้าพบว่าผิดจริงคงต้องดำเนินการไปตามระเบียบ เพราะเป็นระเบียบเป็นข้อสั่งการที่ สช.สั่งไปยังโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศให้ปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติก็ถือว่าขัดขืนคำสั่ง ที่สำคัญ สช.ส่งหนังสือย้ำไปแล้ว 2 ฉบับ ฉบับแรกวันที่ 5 เม.ย.หลังจากเกิดเหตุการณ์ ด.ญ.มนัสนันท์ ทองภู่ หรือน้องเอย และฉบับล่าสุดลงวันที่ 9 พ.ค.โดยแนบแนวทางส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถรับ-ส่งนักเรียนเข้าไปด้วย เพราะเราไม่ได้ห่วงแค่การทิ้งเด็กไว้ในรถอย่างเดียว เราห่วงเรื่องอุบัติเหตุระหว่างเดินทางด้วย"เลขาธิการ กช.กล่าวและว่า ทั้งนี้ การฝึกเด็กให้ช่วยเหลือตัวเองหากติดอยู่ในรถเช่น การเปิดประตู การบีบแตร หรือให้มีเซ็นเซอร์ในรถนั้น เป็นการเสริมเข้าไปเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งจริงๆ แล้วระเบียบฯ ที่มีอยู่หากปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด คงไม่มีทางเกิดปัญหาลักษณะดังกล่าวขึ้นได้
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัทร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของ สพฐ.จะรวบรวมข้อมูล สภาพการรับส่งนักเรียนในชั้นอนุบาล และชั้นประถมต้น ว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไข รวมถึงจะกำชับไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ให้กวดขันดูแล ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำอีก
วันนี้ (16 พ.ค.) นายบัญฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยภายหลังตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงจากส่วนกลาง เพื่อตรวจสอบกรณีการเสียชีวิตของ ด.ช.สุริยการ พากัน หรือน้องพอตเตอร์ ว่า เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สช.ได้สั่งการให้คณะกรรมการเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเก็บข้อมูลพยานแวดล้อมตามลำดับเหตการณ์ เพื่อดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เช่น รถกระบะคันดังกล่าว เป็นรถโรงเรียนที่มีการรับ-ส่งนักเรียนคนอื่นด้วยหรือไม่ ถ้าพบว่ารับเด็กคนอื่นมาด้วย กระบะคันนี้ก็เข้าข่ายเป็นรถโรงเรียนรับ-ส่งนักเรียน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน พ.ศ.2536 และแม้ว่าไม่ใช่รถของโรงเรียนโดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นพาหนะที่โรงเรียนเลือกนำมาใช้ หรือคุณสมบัติของผู้ได้รับอนุญาตขับขี่เพื่อให้บริการนั้น โรงเรียนได้พิจารณาให้ไปตามระเบียบฯ กำหนดไว้หรือไม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในระเบียบฯ ดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติพนักงานขับรถไว้อย่างชัดเจน อาทิ พนักงานขับรถต้องมีใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 ปี มีความชำนาญ รอบคอบ รู้เส้นทางที่ใช้รับส่งนักเรียนเป็นอย่างดี ฯลฯ ขณะเดียวกัน ยังกำหนดหน้าที่ด้วยว่าต้องตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี และพร้อมที่จะใช้การได้ตลอดเวลา ไม่ขับรถในขณะมึนเมา และหากมีเหตุการณ์หรือกรณีฉุกเฉินใด ๆ เกิดขึ้นต้องรายงานเรื่องดังกล่าวต่อโรงเรียนทราบทันที ที่สำคัญมากที่สุด คือ สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลนักเรียนนั้น จะต้องตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่รับส่งแต่ละเที่ยวให้ถูกต้อง ครบถ้วนตรงตามรายชื่อนักเรียน และต้องทำบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ใช้บริการ โดยจะต้องส่งนักเรียนทุกคนให้กับครูประจำชั้นและผู้ปกครองโดยตรง
นายบัญฑิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีของน้องพอตเตอร์ที่เสียชีวิต แม้ว่าโรงเรียนอุทุมพรวิทยา จะชี้แจงว่ายังไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียน แต่คงไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ โดยเฉพาะหากคณะกรรมการได้ข้อมูลที่ชี้ชัดว่านอกจากน้องพอตเตอร์แล้ว ยังมีนักเรียนคนอื่นๆ นั่งมากับรถกระบะคันดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สช.ไม่ได้กล่าวโทษโรงเรียนเสียทีเดียว เพราะหากข้อมูลชี้ชัดไปอีกทางว่าเด็กยังไม่เคยมีสถานะเป็นนักเรียนของโรงเรียนเลย ตลอดจนรถกระบะคันดังกล่าวไม่เคยรับ-ส่งนักเรียนเลย ระเบียบฉบับนี้คงไม่สามารถครอบคลุมได้ ซึ่ง สช.เชื่อมั่นว่าเรื่องนี้คงใช้เวลาตัดสินได้ช้าสุดไม่เกิน 15 วัน
“ถามว่าหากผลการตัดสินชี้ชัดว่าเป็นความผิดของครูและโรงเรียน จะมียาแรงไปถึงผู้บริหารหรือผู้ขอใบอนุญาตหรือไม่ เวลานี้ผมยังไม่อยากสมมติไปก่อน แต่ถ้าพบว่าผิดจริงคงต้องดำเนินการไปตามระเบียบ เพราะเป็นระเบียบเป็นข้อสั่งการที่ สช.สั่งไปยังโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศให้ปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติก็ถือว่าขัดขืนคำสั่ง ที่สำคัญ สช.ส่งหนังสือย้ำไปแล้ว 2 ฉบับ ฉบับแรกวันที่ 5 เม.ย.หลังจากเกิดเหตุการณ์ ด.ญ.มนัสนันท์ ทองภู่ หรือน้องเอย และฉบับล่าสุดลงวันที่ 9 พ.ค.โดยแนบแนวทางส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถรับ-ส่งนักเรียนเข้าไปด้วย เพราะเราไม่ได้ห่วงแค่การทิ้งเด็กไว้ในรถอย่างเดียว เราห่วงเรื่องอุบัติเหตุระหว่างเดินทางด้วย"เลขาธิการ กช.กล่าวและว่า ทั้งนี้ การฝึกเด็กให้ช่วยเหลือตัวเองหากติดอยู่ในรถเช่น การเปิดประตู การบีบแตร หรือให้มีเซ็นเซอร์ในรถนั้น เป็นการเสริมเข้าไปเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งจริงๆ แล้วระเบียบฯ ที่มีอยู่หากปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด คงไม่มีทางเกิดปัญหาลักษณะดังกล่าวขึ้นได้
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัทร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ในส่วนของ สพฐ.จะรวบรวมข้อมูล สภาพการรับส่งนักเรียนในชั้นอนุบาล และชั้นประถมต้น ว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไข รวมถึงจะกำชับไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ให้กวดขันดูแล ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำอีก