“หมอวิทิต” เปิดใจชี้แจงทุกประเด็น อภ. ทั้งพาราฯ โรงงานวัคซีน ลั่นทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่แน่ใจจะถูกปลดหรือไม่ หากเหตุผลไม่เพียงพอก็จะดำเนินการตามสิทธิที่มี เผยให้เวลา 7 วัน เคาะราคายกระดับโรงงานวัคซีนหวัดใหญ่ หากช้าจะยกเลิกทันที ระบุงบหนุนกิจกรรมภาครัฐ อภ.ทำตามที่ สตง.แนะนำ ไม่รู้ว่าใครจะเอาเงินไปทำอะไร เพราะไม่ใช่หน้าที่
วันนี้ (15 พ.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แถลงข่าวเปิดใจต่อสื่อมวลชนในทุกกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น ว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้ อภ.เกิดวิกฤตศรัทธา ซึ่งส่งผลกระทบมากทั้งตัว อภ.เองและผลิตภัณฑ์ ส่วนในเรื่องรายได้ต้องไปวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ ทั้งนี้ สำหรับข้อสงสัยต่างๆ ตนเคยได้ชี้แจงเหตุผลหลายครั้งแล้ว ทั้งเรื่องวัตถุดิบยาพาราเซตามอล หรือเรื่องการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกล่าช้า ซึ่งเป็นการชี้แจงด้วยข้อมูลเดียวกับการชี้แจงกับดีเอสไอ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถึงแนวทางแก้ปัญหาวัตถุดิบ ซึ่งให้คืนทั้งหมด โดยจะดำเนินการคืนภายในวันที่ 26 พ.ค.นี้ ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้จะจบตั้งแต่คืนวัตถุดิบ แต่ไม่รู้ว่าใครเซ็ตเกมนี้ เพราะจนบัดนี้ก็ยังไม่จบสิ้น
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นเพราะต้องมีการปรับแบบโรงงานจากระดับ 2 เป็น 2 บวก เพื่อให้ผลิตได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย ซึ่งเชื้อเป็นสามารถผลิตได้มากกว่าเชื้อตาย 30-100 เท่าเป็นการรองรับภาวะการระบาด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ที่การต่อรองราคาปรับแบบ หากบริษัทไม่ตอบกลับมาภายใน 7 วันนับจากนี้ก็จะยกเลิกบริษัทดังกล่าว เพราะล่าช้ามาก ส่วนเรื่องความล่าช้าก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีได้ยกเลิกบริษัทที่ทำเรื่องเครื่องความเย็นแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบเรียกค่าปรับ ขณะเดียวกันจะมีการทำทีโออาร์ใหม่ เพื่อให้โรงงานเดินหน้าต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีมีกระแสข่าวบอร์ด อภ.เตรียมปลดออกจากตำแหน่ง นพ.วิทิต กล่าวว่า ที่ทราบคือ บอร์ด อภ.จะประชุมในเร็วๆนี้ ซึ่งผลกระทบจริงๆ เกิดตั้งแต่ยาพาราฯ อยู่แล้ว ทำให้ อภ.เสียหาย ตนรู้สึกไม่สบายใจที่องค์กรต้องถูกกระทบขนาดนี้ ไม่เกี่ยวกับว่าตนจะอยู่หรือจะไป เพราะแม้ไม่ปลด อีก 2 ปีตนก็หมดสัญญาจ้าง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบอร์ด อภ.ก็แนะนำว่าให้แถลงข่าวให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง ซึ่งสุดท้ายก็มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งก็ยินดี เพราะทุกอย่างทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เมื่อถามว่า หากถูกปลดออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลไม่สนองนโยบาย จะดำเนินการอย่างไร นพ.วิทิต กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะถูกปลดหรือไม่ และหากปลดจะปลดด้วยเหตุผลอะไร หากไม่สนองนโยบายก็ต้องบอกว่าไม่สนองเรื่องไหน หากเป็นยาพาราฯ ก็ทำตามนโยบายหมด ตนทุ่มเททำงานให้ อภ.เกิน 10 ชั่วโมง หรือหากจะปลดเพราะดีเอสไอชี้มูล หรือ ป.ป.ช. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนยังบริสุทธิ์อยู่ ส่วนอำนาจการเลิกจ้างก็เป็นอำนาจของบอร์ด อภ.
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากถูกปลดโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะดำเนินการอย่างไร นพ.วิทิต กล่าวว่า ขอดูรายละเอียด เหตุผลก่อนว่าหากถูกปลดจริง มีเหตุผลอะไร แต่คงต้องดำเนินการตามสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
นพ.วิทิต กล่าวว่า สำหรับกรณีที่กลุ่มแพทย์ชนบทเปิดเผยว่าจะมีการนำงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ อภ.จะจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ที่สั่งซื้อยาและชำระเงินสดใน 60 วัน จำนวน 75 ล้าน จากเดิมที่ อภ.จะส่งให้ สปสช.จัดซื้อยาเพื่อกระจายให้แก่สถานพยาบาล แต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ท้วงติงให้ส่งงบประมาณดังกล่าวให้หน่วยบริการปลายทางโดยตรง ซึ่ง สปสช.ได้ส่งหนังสือให้ส่งงบประมาณดังกล่าวให้หน่วยงานต้นสังกัดคือ กระทรวงสาธารณสุขนั้น เรื่องดังกล่าว อภ.เพียงแต่ทำหน้าที่ตามที่ สตง.แนะนำ และไม่ทราบว่าใครจะนำเงินก้อนนั้นไปทำอะไร เพราะไม่มีหน้าที่จัดการ โดยงบประมาณดังกล่าว สตง.สามารถตรวจสอบกับหน่วยงานที่รับงบประมาณไปได้ และไม่ขอวิเคราะห์ว่าเป็นการโยกย้ายเงินไปเข้ากระเป๋าใครอย่างไร
วันนี้ (15 พ.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แถลงข่าวเปิดใจต่อสื่อมวลชนในทุกกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น ว่า ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้ อภ.เกิดวิกฤตศรัทธา ซึ่งส่งผลกระทบมากทั้งตัว อภ.เองและผลิตภัณฑ์ ส่วนในเรื่องรายได้ต้องไปวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ ทั้งนี้ สำหรับข้อสงสัยต่างๆ ตนเคยได้ชี้แจงเหตุผลหลายครั้งแล้ว ทั้งเรื่องวัตถุดิบยาพาราเซตามอล หรือเรื่องการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกล่าช้า ซึ่งเป็นการชี้แจงด้วยข้อมูลเดียวกับการชี้แจงกับดีเอสไอ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถึงแนวทางแก้ปัญหาวัตถุดิบ ซึ่งให้คืนทั้งหมด โดยจะดำเนินการคืนภายในวันที่ 26 พ.ค.นี้ ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้จะจบตั้งแต่คืนวัตถุดิบ แต่ไม่รู้ว่าใครเซ็ตเกมนี้ เพราะจนบัดนี้ก็ยังไม่จบสิ้น
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นเพราะต้องมีการปรับแบบโรงงานจากระดับ 2 เป็น 2 บวก เพื่อให้ผลิตได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย ซึ่งเชื้อเป็นสามารถผลิตได้มากกว่าเชื้อตาย 30-100 เท่าเป็นการรองรับภาวะการระบาด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ที่การต่อรองราคาปรับแบบ หากบริษัทไม่ตอบกลับมาภายใน 7 วันนับจากนี้ก็จะยกเลิกบริษัทดังกล่าว เพราะล่าช้ามาก ส่วนเรื่องความล่าช้าก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีได้ยกเลิกบริษัทที่ทำเรื่องเครื่องความเย็นแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบเรียกค่าปรับ ขณะเดียวกันจะมีการทำทีโออาร์ใหม่ เพื่อให้โรงงานเดินหน้าต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีมีกระแสข่าวบอร์ด อภ.เตรียมปลดออกจากตำแหน่ง นพ.วิทิต กล่าวว่า ที่ทราบคือ บอร์ด อภ.จะประชุมในเร็วๆนี้ ซึ่งผลกระทบจริงๆ เกิดตั้งแต่ยาพาราฯ อยู่แล้ว ทำให้ อภ.เสียหาย ตนรู้สึกไม่สบายใจที่องค์กรต้องถูกกระทบขนาดนี้ ไม่เกี่ยวกับว่าตนจะอยู่หรือจะไป เพราะแม้ไม่ปลด อีก 2 ปีตนก็หมดสัญญาจ้าง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบอร์ด อภ.ก็แนะนำว่าให้แถลงข่าวให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง ซึ่งสุดท้ายก็มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งก็ยินดี เพราะทุกอย่างทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เมื่อถามว่า หากถูกปลดออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลไม่สนองนโยบาย จะดำเนินการอย่างไร นพ.วิทิต กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะถูกปลดหรือไม่ และหากปลดจะปลดด้วยเหตุผลอะไร หากไม่สนองนโยบายก็ต้องบอกว่าไม่สนองเรื่องไหน หากเป็นยาพาราฯ ก็ทำตามนโยบายหมด ตนทุ่มเททำงานให้ อภ.เกิน 10 ชั่วโมง หรือหากจะปลดเพราะดีเอสไอชี้มูล หรือ ป.ป.ช. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนยังบริสุทธิ์อยู่ ส่วนอำนาจการเลิกจ้างก็เป็นอำนาจของบอร์ด อภ.
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากถูกปลดโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะดำเนินการอย่างไร นพ.วิทิต กล่าวว่า ขอดูรายละเอียด เหตุผลก่อนว่าหากถูกปลดจริง มีเหตุผลอะไร แต่คงต้องดำเนินการตามสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
นพ.วิทิต กล่าวว่า สำหรับกรณีที่กลุ่มแพทย์ชนบทเปิดเผยว่าจะมีการนำงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ อภ.จะจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ที่สั่งซื้อยาและชำระเงินสดใน 60 วัน จำนวน 75 ล้าน จากเดิมที่ อภ.จะส่งให้ สปสช.จัดซื้อยาเพื่อกระจายให้แก่สถานพยาบาล แต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ท้วงติงให้ส่งงบประมาณดังกล่าวให้หน่วยบริการปลายทางโดยตรง ซึ่ง สปสช.ได้ส่งหนังสือให้ส่งงบประมาณดังกล่าวให้หน่วยงานต้นสังกัดคือ กระทรวงสาธารณสุขนั้น เรื่องดังกล่าว อภ.เพียงแต่ทำหน้าที่ตามที่ สตง.แนะนำ และไม่ทราบว่าใครจะนำเงินก้อนนั้นไปทำอะไร เพราะไม่มีหน้าที่จัดการ โดยงบประมาณดังกล่าว สตง.สามารถตรวจสอบกับหน่วยงานที่รับงบประมาณไปได้ และไม่ขอวิเคราะห์ว่าเป็นการโยกย้ายเงินไปเข้ากระเป๋าใครอย่างไร