แพทย์เผยอายุมากขึ้น จิบชา กาแฟ ช็อกโกแลตบ่อย เพิ่มปัจจัยเสี่ยงกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง พบกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อต้นเหตุสำคัญของโรค ระบุไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ออกนอกบ้านไม่ได้ ต้องใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา แนะฝึกขมิบลดการหย่อนคล้อย ช่วยกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น
วันนี้ (14 พ.ค.) เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ห้องประชุมเติม บุนนาค ผศ.นพ.พิชัย ลีระศิริ หัวหน้าหน่วยขับถ่ายปัสสาวะผิกปกติและกระบังลมหย่อนในสตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างการอบรมโครงการ “เสริมสร้างความรู้โรคขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติและกระบังลมหย่อนในสตรี” ว่า อาการปัสสาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยมี 2 ลักษณะ คือ ปวดปัสสาวะกลั้นไม่ได้ ต้องเข้าห้องน้ำทันที และกลุ่มปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการหย่อนของช่องคลอด 2.เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น 3.พฤติกรรมส่วนตัว อาทิ อาหารการกิน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ความอ้วน การอยู่ในอุณหภูมิห้องแอร์ที่เย็นจัด อาการท้องผูกเรื้อรัง ไอจาม แบกของหนัก คลอดลูกมาก เป็นต้น
“ส่วนสาเหตุสำคัญของโรคนี้ที่พบบ่อยคือ กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ อาจเป็นเพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย ทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย และการที่อายุเพิ่มขึ้นร่างกายก็จะเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้สภาพภายในช่องคลอดเปลี่ยน จนนำไปสู่การติดเชื้อที่ง่ายขึ้น รวมไปถึงอาการกระบังลมหย่อนก็เป็นสาเหตุของโรคนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังเกิดจากขาดฮอร์โมน หรือเคยได้รับการผ่าตัดในอดีต หรือเกิดจากมะเร็ง แต่เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย สำหรับอาการปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนว่าบ่อยแค่ไหนถึงเป็นการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งโดยปกติหากเป็นเวลากลางวันควรปัสสาวะประมาณ 7 ครั้ง และตอนกลางคืนเมื่อหลับแล้วควรตื่นขึ้นมาปัสสาวะไม่เกิน 1 ครั้ง” ผศ.นพ.พิชัย กล่าว
ผศ.นพ.พิชัย กล่าวอีกว่า อุบัติการณ์ของโรคนี้ถือว่าเยอะมาก โดยจะพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยครึ่งหนึ่งของสตรีจะมีอาการปัสสาวะกลั้นไม่ได้ หรือปัสสาวะเล็ดอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต คือบางรายที่เป็นมากๆ จะไม่สามารถออกนอกบ้านได้ ต้องใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา ไม่สามารถทำงานได้ และไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เพราะจะไปกระตุ้นอาการปวดปัสสาวะขึ้นมา ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมาพบแพทย์ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของคนที่อายุเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากชาวตะวันตกที่มีความตระหนักในเรื่องนี้ดีกว่า
ผศ.นพ.พิชัย กล่าวด้วยว่า ในการรักษาโรคดังกล่าวจะรักษาตามสาเหตุที่เป็น เช่น เกิดจากภาวะการติดเชื้อก็ฆ่าเชื้อ หากเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพก็ให้ลดปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ วิธีที่สามารถช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ก็คือการขมิบบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงมากขึ้น หากสามารถทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้นาน 3-6 เดือน ผู้ป่วยจะสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นเกือบเทียบเท่าคนปกติคือประมาณ 3 ชั่วโมง และป้องกันไม่ให้ช่องคลอดหย่อนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การกลั้นปัสสาวะไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของการปัสสาวะผิดปกติ เพราะคนปกติสามารถกลั้นฉี่ได้นาน 3-4 ชั่วโมง แต่หากนานกว่านั้นเกินกว่า 6-7 ชั่วโมง ในบางรายอาจเกิดอาการปัสสาวะคลั่งได้
“นอกจากการฝึกขมิบและรักษาตามอาการแล้ว ยังสามารถใช้ยาหรือการผ่าตัดรักษาได้ด้วย เช่น ใช้ยาลดการบีบตัวก็จะช่วยให้เก็บปัสสาวะได้นานขึ้น สามารถกลั้นปัสสาวะได้ทันจนกว่าจะเข้าห้องน้ำ ส่วนอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอจามสามารถใช้การผ่าตัดช่วยได้ด้วยวิธีการใช้เทปสังเคราะห์” ผศ.นพ.พิชัย กล่าว
วันนี้ (14 พ.ค.) เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ห้องประชุมเติม บุนนาค ผศ.นพ.พิชัย ลีระศิริ หัวหน้าหน่วยขับถ่ายปัสสาวะผิกปกติและกระบังลมหย่อนในสตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างการอบรมโครงการ “เสริมสร้างความรู้โรคขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติและกระบังลมหย่อนในสตรี” ว่า อาการปัสสาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยมี 2 ลักษณะ คือ ปวดปัสสาวะกลั้นไม่ได้ ต้องเข้าห้องน้ำทันที และกลุ่มปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการหย่อนของช่องคลอด 2.เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็น 3.พฤติกรรมส่วนตัว อาทิ อาหารการกิน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ความอ้วน การอยู่ในอุณหภูมิห้องแอร์ที่เย็นจัด อาการท้องผูกเรื้อรัง ไอจาม แบกของหนัก คลอดลูกมาก เป็นต้น
“ส่วนสาเหตุสำคัญของโรคนี้ที่พบบ่อยคือ กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ อาจเป็นเพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย ทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย และการที่อายุเพิ่มขึ้นร่างกายก็จะเสื่อมสภาพตามวัย ทำให้สภาพภายในช่องคลอดเปลี่ยน จนนำไปสู่การติดเชื้อที่ง่ายขึ้น รวมไปถึงอาการกระบังลมหย่อนก็เป็นสาเหตุของโรคนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังเกิดจากขาดฮอร์โมน หรือเคยได้รับการผ่าตัดในอดีต หรือเกิดจากมะเร็ง แต่เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย สำหรับอาการปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนว่าบ่อยแค่ไหนถึงเป็นการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งโดยปกติหากเป็นเวลากลางวันควรปัสสาวะประมาณ 7 ครั้ง และตอนกลางคืนเมื่อหลับแล้วควรตื่นขึ้นมาปัสสาวะไม่เกิน 1 ครั้ง” ผศ.นพ.พิชัย กล่าว
ผศ.นพ.พิชัย กล่าวอีกว่า อุบัติการณ์ของโรคนี้ถือว่าเยอะมาก โดยจะพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยครึ่งหนึ่งของสตรีจะมีอาการปัสสาวะกลั้นไม่ได้ หรือปัสสาวะเล็ดอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต คือบางรายที่เป็นมากๆ จะไม่สามารถออกนอกบ้านได้ ต้องใส่ผ้าอ้อมตลอดเวลา ไม่สามารถทำงานได้ และไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เพราะจะไปกระตุ้นอาการปวดปัสสาวะขึ้นมา ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมาพบแพทย์ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของคนที่อายุเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากชาวตะวันตกที่มีความตระหนักในเรื่องนี้ดีกว่า
ผศ.นพ.พิชัย กล่าวด้วยว่า ในการรักษาโรคดังกล่าวจะรักษาตามสาเหตุที่เป็น เช่น เกิดจากภาวะการติดเชื้อก็ฆ่าเชื้อ หากเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพก็ให้ลดปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ วิธีที่สามารถช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ก็คือการขมิบบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงมากขึ้น หากสามารถทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้นาน 3-6 เดือน ผู้ป่วยจะสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นเกือบเทียบเท่าคนปกติคือประมาณ 3 ชั่วโมง และป้องกันไม่ให้ช่องคลอดหย่อนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การกลั้นปัสสาวะไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของการปัสสาวะผิดปกติ เพราะคนปกติสามารถกลั้นฉี่ได้นาน 3-4 ชั่วโมง แต่หากนานกว่านั้นเกินกว่า 6-7 ชั่วโมง ในบางรายอาจเกิดอาการปัสสาวะคลั่งได้
“นอกจากการฝึกขมิบและรักษาตามอาการแล้ว ยังสามารถใช้ยาหรือการผ่าตัดรักษาได้ด้วย เช่น ใช้ยาลดการบีบตัวก็จะช่วยให้เก็บปัสสาวะได้นานขึ้น สามารถกลั้นปัสสาวะได้ทันจนกว่าจะเข้าห้องน้ำ ส่วนอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอจามสามารถใช้การผ่าตัดช่วยได้ด้วยวิธีการใช้เทปสังเคราะห์” ผศ.นพ.พิชัย กล่าว