ศิริราชหนุน สธ.จ่าย P4P ชี้จำเป็นต้องทำเพื่อดึงบุคลากรไว้ เผยศิริราชก็ใช้ระบบนี้ โดยพิจารณาตามระดับความยากง่ายของงาน จี้ผู้บริหารและบุคลากรต้องคุยกันอย่างมีเหตุผล ลดขัดแย้ง ขอให้นึกถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เชื่อทุกฝ่ายหวังดีต่อวงการสาธารณสุข
วันนี้ (18 เม.ย.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์กรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่และการจ่ายตามแบบภาระงาน (P4P : Pay for Performance) ซึ่งมีกลุ่มแพทย์ชนบทออกมาคัดค้านในเรื่องนี้ ว่า โดยภาพรวมการจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P มีการนำมาใช้ทั่วไปทุกองค์กร อย่าง รพ.ศิริราชเองก็มี เพราะเห็นว่าฐานเงินเดือนข้าราชการทั่วไปต่ำกว่าเอกชนมาก ทำให้มีช่องว่างสูง การจะดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ให้กับอยู่องค์กรจึงเป็นเรื่องลำบาก อย่างไรก็ตาม รพ.ศิริราชไม่ได้ผลักดันให้คนทำงานด้วยเงิน แต่เน้นเรื่องใจที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมเป็นหลัก บุคลากรศิริราชทุกคนจึงอยู่เพราะใจรัก และได้ทำประโยชน์ต่อสังคม เพียงแต่บุคลากรเหล่านี้ก็ต้องอยู่ได้ด้วยเช่นกัน รพ.ศิริราชจึงมีค่าตอบแทนเพิ่มจากเงินเดือนปกติให้แก่บุคลากรทุกระดับ โดยใช้เงินรายได้ของ รพ.ศิริราชเอง
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า สำหรับการจ่ายแบบ P4P ของ รพ.ศิริราช จะพิจารณาภาระงานตามความยากง่ายในแต่ละระดับ เช่น พยาบาลที่ประจำห้องไอ.ซี.ยู.ที่ต้องดูแลคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง ก็จะได้ค่าตอบแทนสูงกว่าพยาบาลทั่วไป รองลงมาเป็นพยาบาลห้องผ่าตัด อย่างพยาบาลประจำตามหอผู้ป่วยก็จะแบ่งเป็นเกรดตามการดูแลผู้ป่วยที่อาการหนักมากหรือน้อย ถือเป็น P4P ที่ รพ.ศิริราชทำอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร โดยพิจารณาจากภาระงาน ความหนักเบา ความจำเป็น
“การจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P ที่ สธ.กำลังดำเนินการ คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญที่จะต้องให้ แต่จะปรับรูปแบบอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารชุดปัจจุบันอาจมองว่าข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ได้มีการปรับมานาน อย่างเรื่องพื้นที่ทุรกันดาร โรงพยาบาลชุมชนบางแห่งอาจกันดารมาก แต่ปัจจุบันเป็นเมืองมีความเจริญมากขึ้น เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่จึงต้องปรับให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ค่าตอบแทนเลยลดลง ตรงนี้เข้าใจว่ายาก เพราะคนเคยได้รับและทำงานหนักอยู่แล้วจึงรู้สึกไม่พอใจ” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้จะต้องมีการพูดคุยกันทั้งสองฝ่ายถึงเหตุผลในการปรับ ซึ่งความจริงแล้ว สธ.ไม่ได้ตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทิ้ง แค่ปรับลดลงบางส่วน ทั้งผู้บริหารและบุคลากรควรจะมีการพูดคุยกันด้วยเหตุผลและข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เพราะเรื่องนี้คงไม่สามารถตัดสินได้ว่าขาวหรือดำ ถูกหรือผิด แต่อยู่ที่บริบทว่าจะเอาปัจจัยใดเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งน่าจะยืดหยุ่นต่อรองกันได้หรือพบกันครึ่งทาง เช่น บางแห่งอาจมีการปรับลดมากเกินไปก็มาหาตัวเลขกันใหม่ เป็นต้น โดยต้องมองถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นหลัก เชื่อว่าทุกฝ่ายก็มีเจตนาดีที่จะทำให้วงการสาธารณสุขมีความยั่งยืน
วันนี้ (18 เม.ย.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์กรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่และการจ่ายตามแบบภาระงาน (P4P : Pay for Performance) ซึ่งมีกลุ่มแพทย์ชนบทออกมาคัดค้านในเรื่องนี้ ว่า โดยภาพรวมการจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P มีการนำมาใช้ทั่วไปทุกองค์กร อย่าง รพ.ศิริราชเองก็มี เพราะเห็นว่าฐานเงินเดือนข้าราชการทั่วไปต่ำกว่าเอกชนมาก ทำให้มีช่องว่างสูง การจะดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ให้กับอยู่องค์กรจึงเป็นเรื่องลำบาก อย่างไรก็ตาม รพ.ศิริราชไม่ได้ผลักดันให้คนทำงานด้วยเงิน แต่เน้นเรื่องใจที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมเป็นหลัก บุคลากรศิริราชทุกคนจึงอยู่เพราะใจรัก และได้ทำประโยชน์ต่อสังคม เพียงแต่บุคลากรเหล่านี้ก็ต้องอยู่ได้ด้วยเช่นกัน รพ.ศิริราชจึงมีค่าตอบแทนเพิ่มจากเงินเดือนปกติให้แก่บุคลากรทุกระดับ โดยใช้เงินรายได้ของ รพ.ศิริราชเอง
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า สำหรับการจ่ายแบบ P4P ของ รพ.ศิริราช จะพิจารณาภาระงานตามความยากง่ายในแต่ละระดับ เช่น พยาบาลที่ประจำห้องไอ.ซี.ยู.ที่ต้องดูแลคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง ก็จะได้ค่าตอบแทนสูงกว่าพยาบาลทั่วไป รองลงมาเป็นพยาบาลห้องผ่าตัด อย่างพยาบาลประจำตามหอผู้ป่วยก็จะแบ่งเป็นเกรดตามการดูแลผู้ป่วยที่อาการหนักมากหรือน้อย ถือเป็น P4P ที่ รพ.ศิริราชทำอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร โดยพิจารณาจากภาระงาน ความหนักเบา ความจำเป็น
“การจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P ที่ สธ.กำลังดำเนินการ คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญที่จะต้องให้ แต่จะปรับรูปแบบอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารชุดปัจจุบันอาจมองว่าข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ได้มีการปรับมานาน อย่างเรื่องพื้นที่ทุรกันดาร โรงพยาบาลชุมชนบางแห่งอาจกันดารมาก แต่ปัจจุบันเป็นเมืองมีความเจริญมากขึ้น เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่จึงต้องปรับให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ค่าตอบแทนเลยลดลง ตรงนี้เข้าใจว่ายาก เพราะคนเคยได้รับและทำงานหนักอยู่แล้วจึงรู้สึกไม่พอใจ” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้จะต้องมีการพูดคุยกันทั้งสองฝ่ายถึงเหตุผลในการปรับ ซึ่งความจริงแล้ว สธ.ไม่ได้ตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายทิ้ง แค่ปรับลดลงบางส่วน ทั้งผู้บริหารและบุคลากรควรจะมีการพูดคุยกันด้วยเหตุผลและข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เพราะเรื่องนี้คงไม่สามารถตัดสินได้ว่าขาวหรือดำ ถูกหรือผิด แต่อยู่ที่บริบทว่าจะเอาปัจจัยใดเป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งน่าจะยืดหยุ่นต่อรองกันได้หรือพบกันครึ่งทาง เช่น บางแห่งอาจมีการปรับลดมากเกินไปก็มาหาตัวเลขกันใหม่ เป็นต้น โดยต้องมองถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นหลัก เชื่อว่าทุกฝ่ายก็มีเจตนาดีที่จะทำให้วงการสาธารณสุขมีความยั่งยืน