“ศิริราช” คาด ปรับอัตราค่าบริการเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10% เชื่อไม่กระทบ ปชช.เหตุรัฐบาลเป็นฝ่ายสนับสนุนเงินทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ และมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ช่วยประหยัดไปอีกว่าหมื่นล้านบาท ชี้ รพ.เอกชน ไม่น่าเพิ่มค่าโรงหมอตาม เพราะราคายังห่างกันหลายขุม
วันนี้ (29 ม.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีโรงพยาบาลศิริราช เตรียมปรับอัตราค่าบริการ ว่า รพ.ศิริราช ไม่มีการปรับอัตราค่าบริการมานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งการปรับอัตราค่าบริการในครั้งนี้จะปรับตามต้นทุนที่เป็นจริง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะปรับเพิ่มขึ้นทั้งหมด ต้องดูตามแต่ละรายการไป หากรายการใดมีราคาต่ำมากก็ควรมีการปรับเพิ่ม เพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุน ที่สำคัญการปรับอัตราค่าบริการไม่ได้เป็นการปรับเพิ่มแบบปีต่อปี แต่จะต้องดูแนวโน้มเป็นระยะ 3-5 ปี และต้องเปรียบเทียบกับอัตราค่าบริการใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ด้วย เพื่อไม่ให้อัตราค่าบริการโดดหรือแพงมากไปกว่าสถานพยาบาลในสังกัดของ สธ. เพราะเราไม่ใช่องค์กรที่แสวงหากำไร
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า รพ.ศิริราช มีแนวคิดปรับอัตราค่าบริการมาประมาณ 1-2 ปีแล้ว ไม่ได้เป็นเพราะนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท หรือเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ของรัฐบาลแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่า มีผลกระทบต่อต้นทุนของโรงพยาบาลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม รพ.ศิริราช จะยังไม่ประกาศอัตราค่าบริการที่แน่ชัดในเร็วๆ นี้ เพราะต้องรอให้ สธ.มีการประกาศปรับอัตราค่าบริการเสียก่อน ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 5-6 เดือน กว่าจะผ่านกระบวนการพิจารณาต่างๆ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า ความเป็นไปได้ที่ รพ.เอกชน จะปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้น หลังจากที่สถานพยาบาลในสังกัด สธ.และโรงเรียนแพทย์มีการปรับเพิ่มขึ้นแล้วนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะช่องว่างของอัตราค่าบริการยังห่างกันอยู่พอสมควรประมาณร้อยละ 30 ซึ่งการเพิ่มอัตราค่าบริการนั้น อย่างของ รพ.ศิริราช โดยเฉลี่ยไม่น่าเพิ่มเกินร้อยละ 10 ซึ่งถือว่ายังห่างจาก รพ.เอกชน มากอยู่ดี ขณะที่ผลกระทบต่อประชาชนนั้นไม่อยากให้เกิดความตกใจจนเกินไป เพราะประชาชนไม่ได้เดือดร้อน เนื่องจากส่วนใหญ่จะอยู่ในสิทธิ 3 กองทุนสุขภาพอยู่แล้ว คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และ 30 บาทรักษาทุกโรค ถึงแม้จะมีการเรียกเก็บเงินแต่ละกองทุนเพิ่มจากการขึ้นค่าบริการ แต่ตรงนี้รัฐบาลเป็นผู้จ่ายเพิ่มให้อยู่แล้ว อย่างกรมบัญชีกลางก็ต้องกำหนดราคากลางให้เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น จึงไม่กระทบต่อประชาชนแต่อย่างใด
“เชื่อว่าไม่น่าจะมีการเรียกเก็บเงินแต่ละกองทุนเพิ่มขึ้น เพราะเราไม่ได้ตั้งราคาแพงจนเกินไป ที่สำคัญ รัฐบาลก็มีมาตรการอื่นๆ ในการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขอยู่ เช่น นโยบายการลดค่าใช้จ่ายด้านยา โดยให้หันมาใช้ยาชื่อสามัญภายในประเทศแทนต่างประเทศ ตรงนี้คาดว่าจะสามารถประหยัดงบประมาณไปได้ประมาณหมื่นล้าน เพราะขนาด รพ.ศิริราช แห่งเดียว ยังสามารถประหยัดไปได้ถึง 900-1,000 ล้านบาท การปรับอัตราค่าบริการจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรมากนัก เพียงแต่ประชาชนอาจตื่นตระหนกไปก่อน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงสินค้าอย่างอื่นนั้นขึ้นราคาแพงไปหลายเท่าตัวแล้ว” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
วันนี้ (29 ม.ค.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีโรงพยาบาลศิริราช เตรียมปรับอัตราค่าบริการ ว่า รพ.ศิริราช ไม่มีการปรับอัตราค่าบริการมานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งการปรับอัตราค่าบริการในครั้งนี้จะปรับตามต้นทุนที่เป็นจริง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะปรับเพิ่มขึ้นทั้งหมด ต้องดูตามแต่ละรายการไป หากรายการใดมีราคาต่ำมากก็ควรมีการปรับเพิ่ม เพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุน ที่สำคัญการปรับอัตราค่าบริการไม่ได้เป็นการปรับเพิ่มแบบปีต่อปี แต่จะต้องดูแนวโน้มเป็นระยะ 3-5 ปี และต้องเปรียบเทียบกับอัตราค่าบริการใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ด้วย เพื่อไม่ให้อัตราค่าบริการโดดหรือแพงมากไปกว่าสถานพยาบาลในสังกัดของ สธ. เพราะเราไม่ใช่องค์กรที่แสวงหากำไร
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า รพ.ศิริราช มีแนวคิดปรับอัตราค่าบริการมาประมาณ 1-2 ปีแล้ว ไม่ได้เป็นเพราะนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท หรือเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ของรัฐบาลแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่า มีผลกระทบต่อต้นทุนของโรงพยาบาลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม รพ.ศิริราช จะยังไม่ประกาศอัตราค่าบริการที่แน่ชัดในเร็วๆ นี้ เพราะต้องรอให้ สธ.มีการประกาศปรับอัตราค่าบริการเสียก่อน ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 5-6 เดือน กว่าจะผ่านกระบวนการพิจารณาต่างๆ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวด้วยว่า ความเป็นไปได้ที่ รพ.เอกชน จะปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้น หลังจากที่สถานพยาบาลในสังกัด สธ.และโรงเรียนแพทย์มีการปรับเพิ่มขึ้นแล้วนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะช่องว่างของอัตราค่าบริการยังห่างกันอยู่พอสมควรประมาณร้อยละ 30 ซึ่งการเพิ่มอัตราค่าบริการนั้น อย่างของ รพ.ศิริราช โดยเฉลี่ยไม่น่าเพิ่มเกินร้อยละ 10 ซึ่งถือว่ายังห่างจาก รพ.เอกชน มากอยู่ดี ขณะที่ผลกระทบต่อประชาชนนั้นไม่อยากให้เกิดความตกใจจนเกินไป เพราะประชาชนไม่ได้เดือดร้อน เนื่องจากส่วนใหญ่จะอยู่ในสิทธิ 3 กองทุนสุขภาพอยู่แล้ว คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และ 30 บาทรักษาทุกโรค ถึงแม้จะมีการเรียกเก็บเงินแต่ละกองทุนเพิ่มจากการขึ้นค่าบริการ แต่ตรงนี้รัฐบาลเป็นผู้จ่ายเพิ่มให้อยู่แล้ว อย่างกรมบัญชีกลางก็ต้องกำหนดราคากลางให้เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น จึงไม่กระทบต่อประชาชนแต่อย่างใด
“เชื่อว่าไม่น่าจะมีการเรียกเก็บเงินแต่ละกองทุนเพิ่มขึ้น เพราะเราไม่ได้ตั้งราคาแพงจนเกินไป ที่สำคัญ รัฐบาลก็มีมาตรการอื่นๆ ในการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขอยู่ เช่น นโยบายการลดค่าใช้จ่ายด้านยา โดยให้หันมาใช้ยาชื่อสามัญภายในประเทศแทนต่างประเทศ ตรงนี้คาดว่าจะสามารถประหยัดงบประมาณไปได้ประมาณหมื่นล้าน เพราะขนาด รพ.ศิริราช แห่งเดียว ยังสามารถประหยัดไปได้ถึง 900-1,000 ล้านบาท การปรับอัตราค่าบริการจึงไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรมากนัก เพียงแต่ประชาชนอาจตื่นตระหนกไปก่อน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงสินค้าอย่างอื่นนั้นขึ้นราคาแพงไปหลายเท่าตัวแล้ว” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว